วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บินไทยเผชิญศึกหนักสู่วิกฤติ นักวิเคราะห์ฟันธงปีนี้ขาดทุนหนัก-แนะปฏิรูปองค์กรลดขาดทุน

บินไทยเผชิญศึกหนักสู่วิกฤติ นักวิเคราะห์ฟันธงปีนี้ขาดทุนหนัก-แนะปฏิรูปองค์กรลดขาดทุน

แกะรอยงบการเงินการบินไทย พบเริ่มเข้าสู่วิกฤติ เหตุผลการดำเนินงานขาดทุน จากปัญหาการเมืองแทรกแซง-องค์กรขัดแย้งหนักเผยมาร์เก็ตแคปที่เคยแตะแสนล้านบาท สิ้นปี 2556 เหลือเพียง 3 หมื่นล้าน ส่งผลขาดทุนกว่า1.2 หมื่นล้าน นักวิเคราะห์ประเมินปี 2557 ขาดทุนหนักกว่าปีที่ผ่านมา แนะปฏิรูปองค์กรลดขาดทุน ต้องลดต้นทุนพนักงาน-น้ำมัน

บริษัท การบินไทย (THAI) เป็นหนึ่งใน “เป้าหมาย” ที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีแผนจะปรับโครงสร้าง ตามแผนปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ที่ผ่านมา การบินไทย มีผลการดำเนินงานที่ย่ำแย่ ฐานะทางการเงินอ่อนแอ แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเกิดจากสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้ประเมินรัฐวิสาหกิจในรายงานข้อมูลสำคัญของรัฐวิสาหกิจไทย ฉบับที่ 1/2557 โดยระบุว่าผลการดำเนินการอยู่ระดับ "วิกฤติ" และเสนอแนะว่าควรควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น แต่ต้องไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการให้บริการบนเครื่องบินและความปลอดภัยด้านการบิน รวมทั้งควรบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขณะที่การประเมินเมื่อไตรมาส 3 ปี 2556 การประเมินอยู่ในระดับ "มีปัญหาบางเรื่อง" โดยมีข้อเสนอแนะว่าแม้จะมีการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงในด้านความผันผวนด้านอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมัน แต่ควรมีมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและไม่เกี่ยวกับธุรกิจหลักให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ควรเร่งปรับปรุงระบบการจำหน่ายตั๋วโดยสารเครื่องบินผ่านช่องทางต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ internet เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้โดยสารและเป็นการลดต้นทุนการจำหน่ายตั๋วโดยสาร โดยเฉพาะการขายตั๋วโดยสารผ่านเอเย่นต์

ทั้งนี้ การประเมินรัฐวิสาหกิจของ สคร. แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ไม่มีปัญหา มีปัญหาบางเรื่อง ระมัดระวัง และ วิกฤติ ซึ่งจะเห็นว่าผลประเมินการบินไทยลดลงอย่างรวดเร็ว

แต่ต้องยอมรับว่าสาเหตุที่สำคัญอีกส่วนหนึ่ง เกิดการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง และฝ่ายบริหาร จนทำให้ประสิทธิภาพในการทำธุรกิจค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน

หากย้อนดูฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทการบินไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในแต่ละรัฐบาลนับตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ 1 จนมาถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ การบินไทยมีทั้งช่วงรุ่งโรจน์ และตกต่ำรุนแรง จากกำไร ในระดับหมื่นล้านบาท จนขาดทุนสูงสุดกว่า 2 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 2551

รัฐบาลทักษิณ(2544-2549) ผลการดำเนินงานของการบินไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว จากระดับ 4.7 พันล้านบาท ปรับขึ้นอยู่ระดับมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท ถึง 3 ปีติดต่อกัน (2545-2547) ขณะที่หนี้สินต่อทุน (ดีอี) ลดลงจากระดับ 12.79 เท่าในปี 2544 มาอยู่ระดับ 2.92 ก่อนที่กำไรจะปรับลดลงมาอยู่ในระดับ 4.8 พันล้านบาทอีกครั้งในปี 2548 เพราะว่าเป็นปีที่มีการชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รัฐบาลขิงแก่ (2549-2551) ปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เกิดรัฐประหาร ระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางไปต่างประเทศ มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในปีนั้นผลการดำเนินงานของการบินไทยฟื้นตัว มีกำไรเพิ่มขึ้น 89% จาก 4.8 พันล้านบาท เพิ่มเป็น 9.2 พันล้านบาท อัตราหนี้สินต่อทุนอยู่ในระดับเดิม คือ 2.92 เท่า

ขาดทุนหนัก ปี 2551 กว่า 2 หมื่นล้าน

โดยปี 2550 ผลการดำเนินงานของ การบินไทย กลับเข้าสู่ช่วงย่ำแย่อีกครั้ง มีกำไรเพียง 1.83 พันล้านบาท ลดลงถึง 80% เพราะว่าเริ่มมีปัญหาการชุมนุมประท้วงภายในประเทศอีกครั้ง โดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาชุมนุมประท้วงต่อต้านการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ตามสถานที่ต่างๆ และเป็นจุดเริ่มต้นของ “เสื้อแดง”

รัฐบาลพรรคพลังประชาชน ปี (2551) หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และพรรคพลังประชาชน หรือ เพื่อไทยเดิม ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง โดยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนถูกถอดจากตำแหน่งในปีเดียวกัน จากนั้นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นมารับตำแหน่งแทน ปีนั้นนอกจากจะมีความวุ่นวายจากสถานการณ์การเมืองภายในประเทศแล้ว ยังเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐครั้งใหญ่

มาร์เก็ตแคปหายไปกว่า 5 หมื่นล้าน

กลุ่มพันธมิตรฯ หรือ ม็อบเสื้อเหลือง ปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งกระทบต่อธุรกิจการบินทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นปีที่เกิดวิกฤติเศษฐกิจในสหรัฐครั้งใหญ่ หรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ กระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้การบินไทยขาดทุนอย่างหนัก ถึง 2.13 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับราคาหุ้นที่ร่วงแรง ส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) หายไปกว่า 5 หมื่นล้านบาท จากระดับ 6.66 หมื่นล้านบาท ลดลงเหลือ 1.31 หมื่นล้านบาท

รัฐบาลอภิสิทธิ์ (2551-2554) หลังจากการบินไทยขาดทุนอย่างหนัก ในปีต่อมา (2552) ผลการดำเนินงานเริ่มฟื้นตัว กลับมามีกำไรได้ในระดับ 7.43 พันล้านบาท ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนขั้วการเมือง จากรัฐบาลพรรคพลังประชาชน เป็นรัฐบาลประชาธิปัตย์ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี

"ปิยสวัสดิ์" พลิกฟื้นกลับมาทำกำไร

ขณะเดียวกัน ก็มีการเปลี่ยนกรรมการผู้อำนวยการ หรือ ดีดีการบินไทย เป็น “ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์” โดยมี “อำพน กิตติอำพน “นั่งเป็นประธานบอร์ด

ในระหว่างที่รับตำแหน่ง “ปิยสวัสดิ์” ปรับโครงสร้างการบริหารงานภายในของการบินไทยอย่างหนัก เน้นการลดต้นทุน บริหารเชื้อเพลิง จนสามารถทำให้การบินไทยกลับมามีกำไรในระดับ 1 หมื่นล้านบาทได้อีกครั้งในปี 2553 โดยมีกำไรสุทธิ 1.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ราคาหุ้นการบินไทยก็พุ่งกระฉูด ดันมาร์เก็ตแคปให้ขึ้นมาแตะระดับแสนล้านบาทเป็นครั้งแรก

ขาดทุนเช่นเคย ปี 2556 กว่า 1.2 หมื่นล้าน

รัฐบาลยิ่งลักษณ์ (2554-2557) หลังการเลือกตั้งครั้งใหม่ พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างนั้นก็เริ่มมีกระแสกดดันการทำงานของ “ปิยสวัสดิ์” จนในที่สุดบอร์ดการบินไทยก็มีมติเลิกจ้าง “ปิยสวัสดิ์” โดยให้เหตุผลว่า ไม่สามารถสื่อสารกับบอร์ดได้ เพราะมีความเห็นไม่ตรงกันเรื่องการจัดหาเครื่องบินลำใหม่

ขณะที่ผลการดำเนินงานในปี 2554 การบินไทยขาดทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท แม้ผลการดำเนินงานจะพลิกฟื้นมามีกำไรได้ในปีต่อมา แต่ในปี 2556 ก็ยังขาดทุนสุทธิถึง 1.2 หมื่นล้านบาท สวนทางกับธุรกิจสายการบินอื่นๆ ที่มีผลการดำเนินงานเป็นบวก ส่งผลให้ราคาหุ้นร่วงแรง มาร์เก็ตแคปที่เคยแตะ 1 แสนล้านบาท ล่าสุด ณ สิ้นปี 2556 เหลือเพียง 3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น

นักวิเคราะห์ฟันธงปีนี้ขาดทุนหนัก

สำหรับทิศทางหลังจากนี้ไป “เบญจพล สุทธิวนิช” นักวิเคราะห์กลุ่มสายการบิน บล.เคเคเทรด มองว่า ปี 2557 การบินไทยมีแนวโน้มที่จะขาดทุนมากกว่าปีที่ผ่านมา เพราะต้องเจอศึก 2 ด้าน ทั้งปัญหาภายในองค์กร ฐานะทางการเงินที่อ่อนแอสะสมมาในอดีต โครงสร้างของธุรกิจที่มีจำนวนเครื่องบินเพิ่มขึ้น แต่จำนวนผู้โดยสารกลับลดลง

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาจากสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่เอื้ออำนวย ทั้งจากปัญหาความขัดแย้งการเมืองในประเทศ การประกาศกฎอัยการศึกที่ยังไม่ได้ยกเลิก ทำให้นักท่องเที่ยวบางส่วนยังไม่กล้าเดินทางมาไทย ขณะเดียวกันการแข่งขันในธุรกิจสายการบินระหว่างประเทศ มีแนวโน้มแข่งขันกันมากขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขันทางด้านราคา จากจำนวนเครื่องบินที่เข้ามาในตลาดมากขึ้น

แนะปฏิรูปองค์กรลดขาดทุน

“การบินไทยมีต้นทุนสูงมาก เมื่อเทียบกับสายการบินอื่นๆ ด้วยฐานะทางการเงินที่อ่อนแอ หนี้สินสูง ขณะที่เงินสดมีน้อยมาก ทำให้แข่งขันกับสายการบินอื่นลำบาก ช่วงที่เกิดสงครามราคาแบบนี้ ส่วนการชะลอแผนการซื้อเครื่องบินใหม่ในอนาคตออกไปก่อน อาจจะทำให้ความกังวลเรื่องหนี้ลดลงบ้าง แต่การบินไทยก็จำเป็นที่ต้องมีการปฏิรูปองค์กร”

ส่วนนโยบายของ คสช. ที่จะปรับลด และยกเลิกสิทธิประโยชน์ของผู้บริหารนั้น ส่งผลดีด้านจิตวิทยาต่อราคาหุ้นของการบินไทยระยะสั้น เพราะเกิดความคาดหวังว่าจะมีการปรับลดต้นทุนให้กับองค์กรได้ แต่จะยังไม่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อผลประกอบการ เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้สิทธิประโยชน์ด้านบัตรโดยสารที่ให้กับกรรมการบริษัท คิดเป็น 3-4% ของค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน ขณะที่ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน คิดเป็น 14% ของค่าใช้จ่ายรวม

ระบุต้องลดต้นทุนพนักงาน-น้ำมัน

แม้ว่าต้นทุนด้านพนักงานเป็นต้นทุนที่สูงมาก แต่ก็เป็นส่วนที่ปรับได้ลำบาก การบินไทยต้องบริหารให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่านี้ คือ ต้นทุนด้านน้ำมัน สามารถบริหารให้เกิดประสิทธิภาพได้ แม้จะอยู่ในช่วงที่ราคาน้ำมันแพง มีตัวอย่างให้เห็นในช่วงที่ “ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์” เข้ามาบริหาร

นอกจากการลดต้นทุนแล้ว การบินไทยยังต้องมีแผนการเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาฐานะทางการเงินที่อ่อนแอ หากปล่อยให้ฐา

posted from Bloggeroid

Good Morning News 24 มิถุนายน 2557

Good Morning News 24 มิถุนายน 2557
Good Morning News จาก กองทุนบัวหลวง
24 มิถุนายน 2557




General News
--------------

• ดัชนีการจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและบริ การของฝรั่งเศสเดือนมิ.ย. ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 48.0 จุด โดยเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน จาก 49.3 จุดในเดือนพ.ค. ส่งสัญญาณว่า เศรษฐกิจยูโรโซนกำลังชะลอตัว หลังจากฟื้นตัวดีขึ้นมาก่อนหน้านี้

• FED สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมภาคการผลิตทั่วประเทศของสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.21 ในเดือนพ.ค. จากระดับ -0.23 ในเดือน เม.ย. บ่งชี้ถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ผ่านมา ขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับทรงตัว

• เจพีมอร์แกน เพิ่มคาดการณ์อัตราการขยายตัวของ GDP จีนใน Q2 เป็น 7.2% จากเดิม6.8% ในขณะที่ ธนาคารบาร์เคลย์ส เพิ่มเป็น 7.4% จากเดิม 7.2% ซึ่งเป็นผลจากกิจกรรมภาคการผลิตของจีนขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน

• ฮารุฮิโกะ คูโรดะ ผู้ว่าการ ธ.กลางญี่ปุ่น (BOJ) เผยว่า เศรษฐกิจของประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะรักษาแรงหนุนต่อไปได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับภาคการส่งออก และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป โดยในอีก 3 ปีข้างหน้า ทิศทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่เหนือกว่าโดยรวม จากความต้องการภายในประเทศที่แข็งแกร่ง

• ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของฮ่องกงเดือนพ.ค. ทรงตัวที่ 3.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากราคาเครื่องดื่มแอลกฮอลล์และยาสูบ ค่าไฟฟ้า แก๊ส น้ำ ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้า คงทนปรับตัวลดลง

• ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสิงคโปร์ในเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 56 เป็นผลจากต้นทุนค่าขนส่งทางบกของภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น

• ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่ คสช.เข้ามาบริหารประเทศ ทำให้ภาพรวมการลงทุนขยายตัวอย่างเห็น ได้ชัด โด มีจำนวนโรงงานประกอบกิจการใหม่ 377 แห่ง เพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 5 เดือนแรก 19.53% และมีการจ้างงาน 15,962 คน เพิ่มขึ้น 125% บ่งชี้ว่าการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเริ่มกลับมาและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

• ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า การที่ ก.ต่างประเทศ สหรัฐฯ ประกาศอันดับการค้ามนุษย์ในประเทศไทยอยู่ในระดับต่ำที่สุดนั้นมีผลเชิงลบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และอาจทำให้การเติบโตล่าช้าลงโดยภาครัฐอยู่ระหว่างการชี้แจง เพื่อให้สหรัฐเข้าใจว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับบางอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ใช่ทุกภาคอุตสาหกรรม

• สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) มั่นใจว่าสหรัฐและยุโรปจะไม่คว่ำบาตรสินค้าอาหารทะเลส่งออกของไทย เพราะสถานการณ์ไม่ได้รุนแรงอย่างที่เข้าใจ ประกอบกับนักลงทุนภาคการผลิตของไทยมีนักลงทุนจากสหรัฐและยุโรปรวมอยู่ด้วย การคว่ำบาตรไทยก็จะกระทบนักลงทุนของสหรัฐและยุโรปด้วย

• ธ.ออมสิน เตรียมเสนอคณะกรรมการบริหารภายในให้พิจารณามาตรการบรรเทาผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวและสถานการณ์ชุมนุมทางการเมือง ให้กลุ่มลูกค้าที่เป็นข้าราชการครู ทหาร และตำรวจ ที่ลูกหนี้มีปัญหายอดค้างชำระไม่เกิน 90 วัน โดยจะเพิ่มกลุ่มเป้าหมายเป็น 50,000 ราย ซึ่งเป็นมาตรการที่จะพักเงินต้นให้เป็นระยะเวลา 6 เดือน

• บมจ. รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT เปิดเผยว่า บริษัทจะปรับขึ้นอัตราค่าโดยสาร จากอัตราปัจจุบันที่ราคา 16-40 บาท เป็น 16-42 บาท โดยราคาเริ่มต้นแรกเข้าระบบยังอยู่ที่ 16 บาทเท่าเดิม ส่วนระยะอื่นๆ ปรับขึ้นระยะ 1-2 บาท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ต.ค.57 – 2 ก.ค.59

• คณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติให้ยกเว้นการเรียกเก็บเงินจากดีเซลเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิ ง จากเดิมที่จัดเก็บในอัตรา 0.81 บาท/ลิตร หรือปรับลดลงเหลืออัตรา 0.00 บาท/ลิตร เพื่อตรึงราคาขายปลีกดีเซล ณ สถานีบริการน้ำมันไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร โดยจำหน่ายอยู่ที่ราคา 29.85 บาท/ลิตร

posted from Bloggeroid

JASลุยซื้อหุ้นคืน25มิ.ย.นี้ งบQ2กำไรนิวไฮ918ล้าน ลุ้นราคาวิ่งทะยาน แนะซื้อเป้า 11.20 บาท

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: JASลุยซื้อหุ้นคืน25มิ.ย.นี้
งบQ2กำไรนิวไฮ918ล้าน
ลุ้นราคาวิ่งทะยาน แนะซื้อเป้า 11.20 บาท
ข่าวหน้าหนึ่ง วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน 2557
ผู้เข้าชม : 90 คน




"JAS" จุดพลุ 25 มิ.ย.นี้ เริ่มตะลุยซื้อหุ้นคืน โบรกฯชี้ช่วง 6 เดือนที่ซื้อหุ้นคืนราคาหุ้นวิ่งขึ้น กรณีอิงราคาซื้อเฉลี่ย 8.08 บาท คาดมีหุ้นซื้อคืน 124 ล้านหุ้น ดันกำไรต่อหุ้นเพิ่ม 2% ขณะงบ Q2/57 คาดกำไรทำนิวไฮ 918 ล้านบาท เชียร์ "ซื้อ" เป้า 11.20 บาท



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันพุธที่ 25 มิ.ย. 2557 นี้ บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS จะเริ่มซื้อหุ้นตามที่ได้ประกาศไว้ว่าจะซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 10% ของจำนวนหุ้นชำระแล้ว หรือไม่เกินจำนวน 713,739,437 หุ้น โดยมีวงเงินสูงสุดที่จะซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 1,000 ล้านบาท กำหนดระยะเวลา 6 เดือนนั้น นักวิเคราะห์ประเมินว่า ในช่วงที่มีการซื้อหุ้นคืนน่าจะทำให้ราคาหุ้นของ JAS มีการซื้อขายคึกคัก และราคาหุ้นน่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นด้วย

บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด ระบุว่า จากข้อมูล JAS มีการซื้อหุ้นคืนแล้ว 4 ครั้ง (2550-2554) พบว่าช่วงการซื้อหุ้นคืน 2 ครั้งหลัง (ปลายปี 2553 และปลายปี 2554-2555) ราคาหุ้น JAS ปรับขึ้นสูงกว่าราคาซื้อหุ้นคืนเฉลี่ยราว 5% ดังนั้นเชื่อว่าในช่วงซื้อหุ้นคืนครั้งนี้จะส่งผลบวกเชิงจิตวิทยาต่อราคาหุ้น JAS กรณีอิงสมมติฐานราคาซื้อหุ้นคืนเฉลี่ย 8.08 บาทต่อหุ้น คาดว่าจะมีจำนวนหุ้นซื้อคืนราว 124 ล้านหุ้น และเป็นบวกต่อกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 2% จากประมาณการปัจจุบัน

ขณะเดียวกัน คาดว่าธุรกิจปกติของ JAS ในช่วงไตรมาส 2/57 (ไม่รวมผลอัตราแลกเปลี่ยน) จะมีกำไร 918 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% จากไตรมาส 2/56 และเพิ่มขึ้น 8% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากรายได้เพิ่มขึ้นตามลูกค้า Broadband Internet โดยเฉลี่ย 2 หมื่นรายต่อเดือน และมีจำนวนลูกค้า 1.52 ล้านราย ณ สิ้นเดือนพ.ค. 2557

ดังนั้นคาดว่าในไตรมาส 2/57 ลูกค้ารวมเพิ่มขึ้น 19% จากไตรมาส 2/56 และเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสก่อนเป็น 1.54 ล้านราย เป็นลูกค้า FTTX จำนวน 2.6 หมื่นราย หรือมีสัดส่วนลูกค้า FTTX เพิ่มเป็น 1.7% จาก 1.4% ในไตรมาส 1/57 และคาดว่า ARPU ใกล้เคียงไตรมาส 1/57 ที่ 635 บาทต่อเดือน นอกจากนี้แม้บริษัทจะขยายโครงข่ายต่อเนื่องในต่างจังหวัดและมีค่าเสื่อมราคาสูงขึ้น แต่คาดว่าจะเห็นผลบวกจากการประหยัดต้นทุนต่อหน่วยจากฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น ทำให้มีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross margin) ที่ 60.6% และ EBITDA margin 53%

นอกจากนี้ ปัจจุบันร่างชี้ชวนฯ IFF ของ JAS อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาของก.ล.ต. มองว่า JAS ไม่เสียโอกาสจากความล่าช้าในการออก IFF ครั้งนี้ เนื่องจากความไม่สงบทางการเมืองช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา และการเข้ายึดอำนาจของ คสช.เมื่อ 22 พ.ค. 57 ที่ผ่านมา อาจกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศและเป็นอุปสรรคต่อการเสนอขายกองทุนฯ

ประกอบกับ JAS มีฐานะการเงินที่ดีอยู่แล้ว เห็นได้จากผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/57 มีอัตราหนี้สินสุทธิต่อทุน (Net D/E) เพียง 0.04 เท่า มีเงินสด 3,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% จากปี 2556 และกำไรสะสม 7,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากปี 2556 ทำให้ไม่มีความเสี่ยงการเงินและสภาพคล่อง ดังนั้น แนะนำ “ซื้อ” มูลค่าเหมาะสม 11.20 บาท

ก่อนหน้านี้นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JAS เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 57 ที่ผ่านมา ได้พิจารณาอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืน โดยมีจำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนไม่เกิน 10% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด 7,137,394,378 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นจำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนไม่เกิน 713,739,437 หุ้น โดยมีวงเงินสูงสุดที่จะซื้อหุ้นคืนไม่เกิน 1,000 ล้านบาท และการซื้อหุ้นคืนจะซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งบริษัทจะซื้อหุ้นคืนภายในระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย. 57

ทั้งนี้ การซื้อหุ้นคืนจะไม่กระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทแต่อย่างใด เนื่องจากบริษัทมีเงินกู้และดอกเบี้ยที่จะถึงกำหนดชำระในช่วง 6 เดือน หรือตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ธ.ค. 57 ประมาณ 47.68 ล้านบาท ขณะที่บริษัทมีเงินสดคงเหลือปัจจุบันประมาณ 400 ล้านบาท และกลุ่มบริษัทมีเงินสดคงเหลือประมาณ 2,810 ล้านบาท ดังนั้นหากประเมินจากเงินสดคงเหลือ ณ ปัจจุบัน ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของกระแสเงินสดรับจากบริษัทย่อย (ในรูปเงินปันผล) บริษัทยังคงมีสภาพคล่องเพียงพอในการชำระหนี้ที่จะถึงกำหนดดังกล่าว

สำหรับเหตุผลในการซื้อหุ้นคืนนั้น เพื่อเป็นการบริหารสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่ออัตราผลตอบแทนให้แก่ส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) รวมถึงการเพิ่มอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) อีกทั้งเป็นการส่งสัญญาณแก่ผู้ลงทุนถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท

ขณะที่ผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นภายหลังการซื้อหุ้นคืน จะทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สูงขึ้นหากมีการจ่ายเงินปันผล เนื่องจากหุ้นที่ซื้อคืนจะไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผล รวมทั้ง ROE และ EPS จะเพิ่มสูงขึ้น ส่วนผลกระทบต่อบริษัทภายหลังการซื้อหุ้นคืน ส่งผลให้เงินสดของบริษัทและส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง อย่างไรก็ตามบริษัทเชื่อมั่นว่าการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับสถานะการเงินของบริษัท ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท

posted from Bloggeroid

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การรวบรวมข้อมูลความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในช่วงไตรมาส 1 ปี 57

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: ราคาหุ้นรายตัวไตรมาสแรก ปี 2557

รายงานพิเศษ วันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2557
ผู้เข้าชม : 857 คน
ผลพวงจากปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อ ผสมโรงกับตัวเลขเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้หนังสือพิมพ์ “ข่าวหุ้นธุรกิจ” ทำการรวบรวมข้อมูลความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นในช่วงไตรมาส 1 ปี 57 เพื่อเปรียบเทียบราคาหุ้นว่าหุ้นตัวไหนปรับตัวขึ้นโดดเด่น และหุ้นตัวไหนปรับตัวลงแรงอย่างไม่คาดคิด เพราะในสถานการณ์ที่มีความผันผวนตลอดเวลา ข้อมูลตัวเลขจะเป็นเครื่องมือนำทางให้แก่นักลงทุนได้ดีที่สุด

ถึงกระนั้นต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า หุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงบางตัวเกิดจากการเข้ามาเล่นเก็งกำไรเกินความเหมาะสม ซึ่งเป็นผลมาจากนักลงทุนรายย่อยหันมาลงทุนในหุ้นขนาดเล็กแทนหุ้นขนาดใหญ่ เพื่อลดความเสี่ยงจากแรงเทขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศและต่างประเทศ

ผลดังกล่าวทำให้หุ้นมากหน้าหลายตาเข้ามาติดอยู่ในโผหุ้นขึ้นแรงหุ้นลงแรงเป็นจำนวนมาก และการเรียงลำดับในครั้งนี้ไม่ได้นำเอาผลประกอบการของบริษัทเป็นที่ตั้ง ดังนั้นข้อมูลที่ปรากฏจึงเป็นการเทียบเคียงด้านเดียวเท่านั้น ไม่ได้บ่งชี้ว่า ราคาหุ้นแพงเกินพื้นฐาน หรือถูกกว่าพื้นฐาน แต่เป็นการหยิบยกความเคลื่อนไหวของหุ้นมาอธิบายให้นักลงทุนทราบเท่านั้น

สำหรับหุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงสุด 3 อันดับแรกของ SET พบว่า มีการเปลี่ยนแปลงเกิน 70% คือ 1) บริษัท แมกซ์ เมทัล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MAX โดยวันที่ 27 ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ 0.15 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค. 57 ราคาหุ้นอยู่ที่ 0.35 บาท เปลี่ยนแปลง 0.20 บาท หรือ เปลี่ยนแปลง 133.33% น่าจะเป็นผลมาจากความเชื่อที่ว่า บริษัทกำลังจะเทิร์นอะราวด์ หลังตัวเลขขาดทุนน้อยลง

ส่วนอันดับ 2) บริษัท สหมิตรถังแก๊ส จำกัด (มหาชน) หรือ SMPC โดยวันที่ 27 ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ 20.20 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค. 57 ราคาหุ้นอยู่ที่ 38 บาท เปลี่ยนแปลง 17.80 บาท หรือ เปลี่ยนแปลง 88.12% โดยหลังจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้พ้นเหตุอาจถูกเพิกถอน และเปิดให้ซื้อขายตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. 56 ก็มีนักลงทุนเข้ามาไล่ซื้อหุ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบกับกำไรปี 56 เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้นักลงทุนเข้าไปไล่ซื้อหุ้นกันคึกคัก

ขณะที่อันดับ 3) บริษัท แอสเซท ไบร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ ABC โดยวันที่ 27 ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ 3.20 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค.57 ราคาหุ้นอยู่ที่ 5.50 บาท เปลี่ยนแปลง 2.30 บาท หรือ เปลี่ยนแปลง 71.88% มีการพูดถึงสาเหตุที่ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรงนั้น น่าจะมาจากผู้ถือหุ้นใหญ่โยนหุ้นกันเอง เพราะหุ้นส่วนใหญ่อยู่ในมือเจ้าของ นักลงทุนรายย่อยไม่มีสิทธิ์ได้เป็นเจ้าของ

ส่วนหุ้นที่ปรับตัวลงแรงสุด 3 อันดับแรกของ SET พบว่า ติดลบสูงกว่า 30% คือ 1) บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AEC โดยวันที่ 27 ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ 10.80 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค. 57 ราคาหุ้นอยู่ที่ 1.49 บาท ลบไป 9.31 บาท หรือลงไป 86.20% คงมาจากผลประกอบการปี 56 ที่ออกมาขาดทุน ส่งผลให้นักลงทุนหมดความเชื่อมั่น จึงมีแรงเทขายหุ้นออกมาเรื่อยๆ

ส่วนอันดับ 2) บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ INSURE โดยวันที่ 27 ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ 68 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค. 57 ราคาหุ้นอยู่ที่ 44 บาท ลบไป 24 บาท หรือลงไป 35.29% 3) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มิลเลียนแนร์ หรือ MIPF โดยวันที่ 27ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ 18.70 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค. 57 ราคาหุ้นอยู่ที่ 12.80 บาท ลบไป 5.90 บาท หรือลงไป 31.55%

ในส่วนนี้มีประเด็นให้นักลงทุนขบคิดมากนิดหนึ่ง เพราะหุ้นที่เอ่ยถึงแต่ละตัวมีปริมาณหุ้นหมุนเวียนในตลาดฯน้อยมาก และบางตัวก็เป็นกองทุนอสังหาฯที่อายุงวดลงเรื่อยๆ ขณะที่อันดับถัดลงมามีทั้งหุ้นหลากหลายประเภทคละเคล้ากันไป

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาหุ้นขนาดเล็กอย่างกลุ่ม mai พบว่า หุ้น 3 อันดับแรกมีการเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 40% คือ 1) บริษัท ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ L&E โดยวันที่ 27 ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ 20.20 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค. 57 ราคาหุ้นอยู่ที่ 34.75 บาท เปลี่ยนแปลง 14.55 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 72.03% ล้วนเป็นผลมาจากผลประกอบการของบริษัทเติบโตแข็งแกร่ง

ส่วนอันดับ 2) บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ IRCP โดยวันที่ 27 ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ 6.50 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค. 57 ราคาหุ้นอยู่ที่ 9.60 บาท เปลี่ยนแปลง 3.10 บาท หรือ เปลี่ยนแปลง 47.69% ล้วนเป็นผลมาจากผลประกอบการที่เติบโตแข็งแกร่ง 3) บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ILINK โดยวันที่ 27 ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ 17.70 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค. 57 ราคาหุ้นอยู่ที่ 25.50 บาท เปลี่ยนแปลง 7.80 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 44.07% ล้วนเป็นผลมาจากผลประกอบการที่เติบโตแข็งแกร่ง

ตรงนี้เป็นการย้ำว่า หุ้นที่ปรับตัวขึ้นแรงของตลาด mai อิงกับผลประกอบการเป็นหลัก

ส่วนหุ้นที่ปรับตัวลงมากสุดใน mai 3 อันดับแรกพบว่า ปรับตัวลงเกินกว่า 15% คือ 1) บริษัท ไฮโดรเท็ค จำกัด (มหาชน) หรือ HYDRO โดยวันที่ 27 ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 4.02 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค. 57 ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 2.64 บาท ลดลงไป 1.38 บาท หรือ เปลี่ยนแปลง 34.33% เป็นไปตามผลประกอบการปี 56 ที่มีผลขาดทุนเกิดขึ้น

ส่วนอันดับ 2) บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) หรือ SLC โดยวันที่ 27 ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 0.83 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค. 57 ราคาหุ้นอยู่ที่ 0.55 บาท ลบไป 0.28 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 33.73% ได้รับผลกระทบจากผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องเช่นกัน 3) บริษัท โอเชี่ยน คอมเมิรช จำกัด (มหาชน) หรือ OCEAN โดยวันที่ 27 ธ.ค. 56 ราคาหุ้นอยู่ที่ระดับ 1.08 บาท ขณะที่วันที่ 31 มี.ค. 57 ราคาหุ้นอยู่ที่ 0.88 บาท ลบไป 0.20 บาท หรือเปลี่ยนแปลง 18.52% ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมากๆ เพราะผลประกอบการปีนี้พลิกกลับมามีกำไร แต่ราคาหุ้นกลับปรับตัวลงเรื่อยๆ

เหล่านี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่นักลงทุนต้องทำการสแกนอีกชั้นหนึ่ง เพื่อหาข้อสรุปที่ลึกลงไปอีกชั้นหนึ่งว่า การขึ้นลงของหุ้นสมเหตุสมผลแค่ไหน โดยมีสัดส่วนทางการเงิน แผนธุรกิจ และความสามารถในการทำกำไรของบริษัทเป็นเกณฑ์ชี้วัด นอกเหนือจากราคาหุ้นที่แปรปรวนไปมา

posted from Bloggeroid