ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: ตลาดหุ้นแย่สุดของโลก
คอลัมน์ วันศุกร์ที่ 09 พฤษภาคม 2557
ผู้เข้าชม : 9 คน
เมื่อวานนี้ ตลาดหุ้นไทยร่วงแรงเพราะอาการขวัญผวาของนักลงทุนว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้นในการเมือง (ซึ่งเป็นการอ่านสัญญาณผิดพลาดอย่างยิ่ง) กลับปรากฏว่า มีตลาดหุ้นที่ร่วงแรงกว่าตลาดหุ้นไทย นั่นคือตลาดหุ้นเวียดนามที่โฮจิมินห์ ซิตี้
ตลาดหุ้นดังกล่าว สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้จัดอันดับว่าเป็นตลาดที่มีผลตอบแทนของตลาดเลวร้ายที่สุดในโลกของปีนี้เลยทีเดียว
นับตั้งแต่กลางเดือนเมษายนเป็นต้นมา ดัชนี VNI ของตลาดโฮจิมินห์ ซิตี้ ร่วงจากระดับ 600 จุด มาอยู่ที่ระดับ 527 จุดเมื่อปิดตลาดวานนี้ คิดเป็นการร่วงลง 12% เลยทีเดียว โดยเฉพาะในสัปดาห์ล่าสุดนี้ มีการเทขายของนักลงทุนรายย่อยแบบกระหน่ำ ด้วยเหตุผลเพราะว่า ต้องขายเอาเงินไปใช้หนี้ธนาคารของรัฐที่กำลังเร่งรัดทวงหนี้สินตามนโยบายรัฐบาล
ที่ผ่านมา นักลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามที่เป็น “ขาใหญ่” มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนราคาหุ้นในตลาด มักจะใช้เส้นสายสัมพันธ์ที่มีกับบรรดาผู้บริหารธนาคารทั้งระดับสูงและระดับสาขา เพื่อเอาเงินไปเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังผลให้ราคาหุ้นหวือหวาอย่างมาก จนถึงขั้นเกิดภาวะฟองสบู่หลายระลอกในหลายปีมานี้
ปีที่ผ่านมา เวียดนามซึ่งเผชิญหน้ากับภาวะเงินเฟ้อรุนแรงในปีก่อน หันมาใช้นโยบายเข้มงวดทางการเงิน กำหนดมาตรการคุมเข้มคุณภาพของการปล่อยสินเชื่อ นับตั้งแต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และจำกัดวงเงินปล่อยสินเชื่อ ทำให้เศรษฐกิจซบเซาอย่างรุนแรง แต่ตลาดหุ้นก็ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ระดับหนึ่ง เพราะยังไม่ได้มีการควบคุมเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อเอามาซื้อขายหุ้น ทำให้ตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ จนถึงต้นเดือนเมษายน ปรากฏว่าดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามพุ่งขึ้นมากถึง 17% ดีที่สุดในเอเชีย ก่อนที่จะถึงช่วงเวลาพลิกผัน
เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง เกิดจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามเลวร้ายลงไปต่อเนื่อง เพราะไตรมาสแรก พลาดเป้าที่คาดจะโต 5.4% ไปแล้ว ได้แค่ 4.96% (ใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อ 4.39%) เพราะสาเหตุสำคัญคือ ธนาคารพาณิชย์ของรัฐยังคงไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาหนี้เน่าที่เรื้อรังและซุกหมกในระบบบัญชีได้
ถึงแม้ว่าธนาคารกลางของประเทศจะพยายามลดอัตราดอกเบี้ยลง อันเป็นแนวทางที่สวนจากปีก่อนที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรง แต่ตราบใดที่ปัญหาหมักหมมในธนาคารพาณิชย์ยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็ยากที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้มาก เพราะธนาคารไม่สามารถปล่อยสินเชื่อเพิ่มได้
ข้อเสนอของธนาคารกลางที่จะขายหนี้เน่าที่มีอยู่ในมือของธนาคารพาณิชย์เพื่อให้คนมาซื้อไปบริหาร เป็นหนึ่งในทางเลือก แต่ก่อนจะทำเช่นนั้นได้ จะต้องหาทางทวงหนี้ที่น่าสงสัยคืนเสียก่อน
ปฏิบัติการทวงหนี้ที่เอามาซื้อขายหุ้นจึงเกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อนักลงทุนในตลาดโดยตรง
ไม่เพียงเท่านั้น ความขัดแย้งจากการกระทบกระทั่งทางทะเลของเรือจีนกับเวียดนามล่าสุด ก็ยังส่งผลจิตวิทยาสำคัญที่ทำให้ธนาคารรีบเร่งรัดหนี้สินคืนมากยิ่งขึ้น ทำให้การเทขายครั้งใหญ่ของนักลงทุนในทุกราคาเกิดขึ้นเป็นกระแสหลักครอบงำตลาด
สำหรับนักลงทุนต่างชาติและสถาบัน การเทขายระลอกใหญ่ของนักลงทุนส่วนบุคคลไม่ว่าจะขาใหญ่หรือขาเล็ก ล้วนแล้วแต่เป็นโอกาสสำหรับการซื้อหุ้นราคาถูกทั้งสิ้น เป็นเกมวัดใจอีกครั้ง ซึ่งเป็นภาวะปกติ
ถือเป็นช่วงของการเรียนรู้เศรษฐกิจทุนนิยมในอีกแง่มุมหนึ่งสำหรับนักลงทุนและผู้มีเงินออมเวียดนาม
คอลัมน์ วันศุกร์ที่ 09 พฤษภาคม 2557
ผู้เข้าชม : 9 คน
เมื่อวานนี้ ตลาดหุ้นไทยร่วงแรงเพราะอาการขวัญผวาของนักลงทุนว่าจะเกิดความรุนแรงขึ้นในการเมือง (ซึ่งเป็นการอ่านสัญญาณผิดพลาดอย่างยิ่ง) กลับปรากฏว่า มีตลาดหุ้นที่ร่วงแรงกว่าตลาดหุ้นไทย นั่นคือตลาดหุ้นเวียดนามที่โฮจิมินห์ ซิตี้
ตลาดหุ้นดังกล่าว สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้จัดอันดับว่าเป็นตลาดที่มีผลตอบแทนของตลาดเลวร้ายที่สุดในโลกของปีนี้เลยทีเดียว
นับตั้งแต่กลางเดือนเมษายนเป็นต้นมา ดัชนี VNI ของตลาดโฮจิมินห์ ซิตี้ ร่วงจากระดับ 600 จุด มาอยู่ที่ระดับ 527 จุดเมื่อปิดตลาดวานนี้ คิดเป็นการร่วงลง 12% เลยทีเดียว โดยเฉพาะในสัปดาห์ล่าสุดนี้ มีการเทขายของนักลงทุนรายย่อยแบบกระหน่ำ ด้วยเหตุผลเพราะว่า ต้องขายเอาเงินไปใช้หนี้ธนาคารของรัฐที่กำลังเร่งรัดทวงหนี้สินตามนโยบายรัฐบาล
ที่ผ่านมา นักลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามที่เป็น “ขาใหญ่” มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนราคาหุ้นในตลาด มักจะใช้เส้นสายสัมพันธ์ที่มีกับบรรดาผู้บริหารธนาคารทั้งระดับสูงและระดับสาขา เพื่อเอาเงินไปเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังผลให้ราคาหุ้นหวือหวาอย่างมาก จนถึงขั้นเกิดภาวะฟองสบู่หลายระลอกในหลายปีมานี้
ปีที่ผ่านมา เวียดนามซึ่งเผชิญหน้ากับภาวะเงินเฟ้อรุนแรงในปีก่อน หันมาใช้นโยบายเข้มงวดทางการเงิน กำหนดมาตรการคุมเข้มคุณภาพของการปล่อยสินเชื่อ นับตั้งแต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และจำกัดวงเงินปล่อยสินเชื่อ ทำให้เศรษฐกิจซบเซาอย่างรุนแรง แต่ตลาดหุ้นก็ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ระดับหนึ่ง เพราะยังไม่ได้มีการควบคุมเข้มงวดกับการปล่อยสินเชื่อเอามาซื้อขายหุ้น ทำให้ตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ จนถึงต้นเดือนเมษายน ปรากฏว่าดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามพุ่งขึ้นมากถึง 17% ดีที่สุดในเอเชีย ก่อนที่จะถึงช่วงเวลาพลิกผัน
เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลง เกิดจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามเลวร้ายลงไปต่อเนื่อง เพราะไตรมาสแรก พลาดเป้าที่คาดจะโต 5.4% ไปแล้ว ได้แค่ 4.96% (ใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อ 4.39%) เพราะสาเหตุสำคัญคือ ธนาคารพาณิชย์ของรัฐยังคงไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาหนี้เน่าที่เรื้อรังและซุกหมกในระบบบัญชีได้
ถึงแม้ว่าธนาคารกลางของประเทศจะพยายามลดอัตราดอกเบี้ยลง อันเป็นแนวทางที่สวนจากปีก่อนที่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรง แต่ตราบใดที่ปัญหาหมักหมมในธนาคารพาณิชย์ยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็ยากที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าได้มาก เพราะธนาคารไม่สามารถปล่อยสินเชื่อเพิ่มได้
ข้อเสนอของธนาคารกลางที่จะขายหนี้เน่าที่มีอยู่ในมือของธนาคารพาณิชย์เพื่อให้คนมาซื้อไปบริหาร เป็นหนึ่งในทางเลือก แต่ก่อนจะทำเช่นนั้นได้ จะต้องหาทางทวงหนี้ที่น่าสงสัยคืนเสียก่อน
ปฏิบัติการทวงหนี้ที่เอามาซื้อขายหุ้นจึงเกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อนักลงทุนในตลาดโดยตรง
ไม่เพียงเท่านั้น ความขัดแย้งจากการกระทบกระทั่งทางทะเลของเรือจีนกับเวียดนามล่าสุด ก็ยังส่งผลจิตวิทยาสำคัญที่ทำให้ธนาคารรีบเร่งรัดหนี้สินคืนมากยิ่งขึ้น ทำให้การเทขายครั้งใหญ่ของนักลงทุนในทุกราคาเกิดขึ้นเป็นกระแสหลักครอบงำตลาด
สำหรับนักลงทุนต่างชาติและสถาบัน การเทขายระลอกใหญ่ของนักลงทุนส่วนบุคคลไม่ว่าจะขาใหญ่หรือขาเล็ก ล้วนแล้วแต่เป็นโอกาสสำหรับการซื้อหุ้นราคาถูกทั้งสิ้น เป็นเกมวัดใจอีกครั้ง ซึ่งเป็นภาวะปกติ
ถือเป็นช่วงของการเรียนรู้เศรษฐกิจทุนนิยมในอีกแง่มุมหนึ่งสำหรับนักลงทุนและผู้มีเงินออมเวียดนาม
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น