วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

บริษัทซัพพลายเออร์แอปเปิ้ลดิ่งทั่วเอเชีย

หุ้นร่วงก่อนรู้ผลประชุมธนาคารกลาง

2016-04-28 
 บริษัทซัพพลายเออร์แอปเปิ้ลดิ่งทั่วเอเชีย
ซีเอ็นบีซี ตลาดหุ้นเอเชียปิดลดลงเมื่อวานนี้ โดยมีการซื้อขายอย่างระมัดระวังก่อนที่จะมีการตัดสินใจจากธนาคารกลางสหรัฐ ธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางนิวซีแลนด์ ขณะเดียวกันหุ้นซัพพลายเออร์แอปเปิ้ลในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวลงหลังจากที่ผลกำไรไตรมาสสองของแอปเปิ้ลต่ำกว่าคาด
ดัชนีเอเอสเอ็กซ์ 200 ดีดตัวขึ้นกว่า 1% ในช่วงเช้าแต่ปิดลดลง 32.94 จุด หรือ 0.63% ปิดที่ 5,187.70 จุด โดยมีหุ้นกลุ่มการเงินและพลังงานเป็นตัวฉุด โดยเฉพาะหุ้นธนาคารใหญ่ที่เรียกว่าบิ๊กโฟร์มีแรงเทขายอย่างรุนแรง
ในญี่ปุ่น ดัชนีนิกเกอิ ปิดลดลง 62.79 จุด หรือ 0.36% ปิดที่ 17,290.49 จุด ในขณะที่ดัชนีคอสปิ เกาหลีใต้ ปรับตัวลง4.23 จุด หรือ 0.21% ปิดที่ 2015.40 จุด ส่วนในฮ่องกง ดัชนีฮั่งเส็งปิดลดลง 0.21% หรือ 45.67 จุด ปิดที่ 21,361.60 จุด ขณะที่ดัชนีไทเอ็กซ์ไต้หวัน ปิดลดลง 18.52 จุด หรือ 0.22% ปิดที่ 8,563.05 จุด
ในตลาดจีน ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต ปิดลดลง 10.69 จุด หรือ 0.36% ปิดที่ 2,954 จุด และดัชนีเสิ่นเจิ้น คอมโพสิต ปรับตัวลง 5.47 จุด หรือ 0.29% ปิดที่ 1,876.51 จุด
นักวิเคราะห์ กล่าวว่า ตลาดส่วนใหญ่ไม่เคลื่อนไหว นักลงทุนรอผลการประชุมจากเฟดและบีโอเจ โดยการตัดสินใจของเฟดในสัปดาห์นี้น่าจะวางรากฐานให้กับชะตาของดอลลาร์ตลอดปี 2559
ในตลาดค้าเงิน เงินเยนซื้อขายกันที่ 111.13 เยนต่อดอลลาร์ จาก 110 เยนต่อดอลลาร์เมื่อวันอังคาร และจากที่อยู่ใกล้ระดับ 112 เยนเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
บอริส ชะลอสเบิร์ก กรรมการผู้จัดการฝ่ายอัตราแลกเปลี่ยนของบริษัทบีเค แอสเซ็น แมเนจเมนต์ กล่าวว่า หากเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ค่าเงินดอลลาร์ต่อเยนอาจพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 114 เยนต่อดอลลาร์อย่างรวดเร็ว
จอห์น เวล นักกลยุทธ์ของบริษัทนิกโก้ แอสเซ็ต แมเนจเมนต์ กล่าวว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นน่าจะเริ่มทำโครงการปฏิบัติการรีไฟแนนซ์ในระยะยาวเหมือนอย่างโครงการของธนาคารกลางยุโรปเพื่อต่อต้านความเจ็บปวดของดอกเบี้ยติดลบที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ และเพื่อกระตุ้นให้มีการปล่อยกู้เพิ่มอีก
เวลคาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นจะซื้ออีทีเอฟเพิ่มจนไปอยู่ในระดับที่จะเริ่มมีผลกระทบด้านนโยบายเงินแทนที่จะเป็นแค่สัญลักษณ์ที่แสดงความความต้องการของบีโอเจที่จะทำให้ชาวญี่ปุ่นอยากเสี่ยงมากขึ้น
หุ้นธนาคารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ปรับตัวลงเพราะการคาดการณ์เกี่ยวกับการตัดสินใจของบีโอเจ ขณะเดียวกันหุ้นบริษัทส่งออกญี่ปุ่นปรับตัวลงเนื่องจากเงินเยนค่อนข้างแข็งแกร่ง
หุ้นบริษัทซัพพลายเออร์แอปเปิ้ลในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวลงหลังจากที่ผลกำไรไตรมาสสองของแอปเปิ้ลต่ำกว่าคาดและแอบเปิ้ลยังชี้ว่า ผลกำไรและรายได้ในช่วงไตรมาสปัจจุบันจะต่ำกว่าคาด
บริษัท แคตเชอร์ เทคโนโลยี ในไต้หวันซึ่งผลิตเคสโลหะสำหรับไอโฟน ปรับตัวลง 2.54% ในช่วงเช้า ขณะที่ บริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ แมนูแฟกเจอริ่ง (ทีเอสเอ็มซี) ซึ่งผลิตชิพให้ไอโฟน ปรับตัวลง 0.95% บริษัทฮอนไฮ พรีซิชั่น อินดัสทรีย์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบไอโฟน ก็ปรับตัวลง 0.87%
ในญี่ปุ่น บริษัทแอลพ์ อีเล็กทริค บริษัททีดีเค คอร์ปอเรชั่น และไนเด็ค ส่วนใหญ่ปรับตัวลง ขณะที่ในเกาหลีใต้ บริษัทแอลจี ดิสเพลย์ ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์จอแอลซีดีรายใหญ่ของแอปเปิล ปรับตัวลง ถึง 3.09%
ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อวันอังคาร ดัชนีดาวโจนส์ ปรับตัวขึ้น 0.07% ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปิดเพิ่มขึ้น 0.19% และดัชนีแนสแดก ปรับตัวลง 0.15%

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2559

Traditional banks may be in trouble due to digital banking

Traditional banks may be in trouble due to digital banking

bii freq of bank visits10.23.15 1BI Intelligence
The BI Intelligence Content Marketing Team covers news & research we think you would find valuable.
More millennials are moving toward digital banking, and as a result, they're walking into their banks' traditional brick-and-mortar branches less often than ever before.
This generation accounts for the greatest share of the U.S. population at 26% and the employed population at 34%, so it's easy to see why their behaviors and preferences will have a profound effect on the future of the banking industry, particularly with regard to the way banks interact with their customers.
Third parties are expanding their role in providing services that consumers use to manage their money. And the more that role grows, the more it will disrupt the relationship between banks and their customers.
To paint a clearer picture of the future of the banking industry, John Heggestuen, managing research analyst at BI Intelligence, Business Insider's premium research service, surveyed 1,500 banked millennials (ages 18-34) on their banking behaviors and preferences — from their preferred banking devices, to what banking actions they perform on those devices, to how often they perform them.
All of that rigorous research led to an essential report entitled The Digital Disruption of Retail Banking that dives deep into the industry and details what its future will look like.
Here are some of the key takeaways from the report:
  • The bank branch will become obsolete. It will be some time before the final death rattle, but improving online channels, declining branch visits, and the rising cost per transaction at branches are collectively leading to branch closures.
  • Banks that don't act fast are going to lose relationships with customers. Consumers are increasingly opting for digital banking services provided by third-party tech firms. This is disrupting the relationships between banks and their customers, and banks are losing out on branding and cross-selling opportunities. For many banks, this will require further commoditization of their products and services.
  • The ATM will go the way of the phone booth. Relatively low operational costs compared to bank branches, paired with customers' preference for in-network ATMs, makes the ATM an attractive substitute for bank tellers. But as cash and check transactions decline, the ATM will become nonessential, ultimately facing the same fate as the physical branch.
  • The smartphone will become the foundational banking channel. As the primary computing device, the smartphone has the potential to know much more about banks' customers than human advisors do. The smartphone goes everywhere its user goes, has the ability to collect user data, and is already used for making purchases. Therefore, the banks that will endure will be those that offer banking services optimized for the smartphone.
In full, the report:
  • Analyzes how millennials use bank branches and why - even though there are a large share of millennials who still use branches, making significant investments in these channels isn’t a good move for banks.
  • Explains how mobile payments and mobile point-of-sale adoption by small retailers will make the ATM obsolete.
  • Describes how digital channels, particularly the smartphone, will become the foundation of the bank-customer relationship.
The Digital Disruption of Retail Banking is how you get the full story on the future of banking.
To get your copy of this invaluable guide, choose one of these options:
  1. Subscribe to an ALL-ACCESS Membership with BI Intelligence and gain immediate access to this report AND over 100 other expertly researched deep-dive reports, subscriptions to all of our daily newsletters, and much more. >> START A MEMBERSHIP
  2. Purchase the report and download it immediately from our research store. >> BUY THE REPORT
The choice is yours. But however you decide to acquire this report, you’ve given yourself a powerful advantage in your understanding of how the digital age will disrupt retail banking.

Instagram could be the key to a Facebook earnings beat

Instagram could be the key to a Facebook earnings beat

friends millennials selfieIsaac Brekken / Stringer / Getty Images
Instagram opened its ads API last summer, and advertisers have quickly jumped on board.
Ninety-eight of the top 100 advertisers on Facebook also advertised on Instagram in the fourth quarter. The photo-sharing app announced it reached 200,000 active advertisers on its platform in about six months.
Instagram will undoubtedly play a big role in Facebook's next stage of revenue and earnings growth. Every analyst seems to agree on that.
But are analysts underestimating how much of an impact the subsidiary could have on Facebook right now?

What happened last quarter?

Facebook posted a stellar fourth quarter, blowing away earnings expectations by 16%. Average ad revenue per user accelerated year over year, climbing 2 percentage points to 37%. Comparatively, average ad revenue per user dropped significantly in the first three quarters of the year.
That trend can't be completely attributed to Instagram's larger presence in fourth-quarter revenue. Facebook made several changes to its right-hand column ads on desktop that caused average ad prices to skyrocket while ad impressions declined. Those changes went into effect during the third quarter of 2014, so the comparables weren't exact until the fourth quarter. Additionally, Facebook faced foreign exchange rate headwinds starting in the fourth quarter last year, making the first three quarters tougher comps.
But ad impressions grew for the first time in nine quarters during the fourth quarter. During his comments on Facebook's earnings call, CFO Dave Wehner gave no indication that the big increase in ad impressions was attributable to Instagram, but that's likely a big factor. Instagram ads exploded in the fourth quarter, according to data from Brand Networks.
Unfortunately, there's no way of knowing exactly how big of an impact Instagram had on ad impressions, especially considering the fourth quarter was the company's first fair comparable in some time.

Will Instagram contribute to higher ad impressions again?

People walk in front of the Facebook logo at the new Facebook Innovation Hub during a preview media tour in Berlin, Germany, February 24, 2016.      REUTERS/Fabrizio Bensch Thomson ReutersPeople walk in front of the Facebook logo at the new Facebook Innovation Hub during a preview media tour in BerlinInnovation Hub during a preview media tour in Berlin.
Based on Facebook's record of user growth of 30 million to 50 million net new users per quarter, we can reasonably expect it to have closed out the first quarter with somewhere between 1.62 billion and 1.64 billion users. Let's say 1.63 billion users, which is 13% user growth year over year, just over the lowest growth Facebook posted in the past eight quarters. So this estimate is pretty conservative.
The analysts' consensus for Facebook's first-quarter revenue is $5.25 billion. About $5.07 billion of Facebook's revenue comes from advertising, or 96% to 97%. That gives us an average ad revenue per user of $3.11. That's 33% year-over-year growth.
During the first quarter of 2015, average ad revenue per user grew 29%. With a more accurate comparable -- same advertisement options, similar currency exchange rates -- investors should expect at least some bounce-back in ARPU growth due to steadily increasing ad prices and ad load. Ad prices climbed 21% last quarter and ad impressions increased 29%, outstripping user growth of 14%.
If the increase in Instagram ads helps provide the same kind of growth in total ad impressions in the first quarter -- 26% to 29% -- ad prices will need to grow 16.5% to 19% to help hit the average ad revenue per user estimates. Investors should expect some slowdown in ad price growth compared to the fourth quarter due to seasonality, so that estimate looks fair. And considering the strong uptake in Instagram ads, the ad impression growth range looks fair, too.
This is all to say analysts have done a good job pricing in Instagram's revenue potential for the first quarter, but if anything these estimates are likely to skew on the conservative side. Those calculations are done using an estimate of just 1.63 billion users.
My Foolish colleague Daniel Sparks estimates 1.639 billion users is more of the low end for analysts' expectations. That's another half a percentage point in user growth to help increase ad impressions on the flagship app. Additionally, ads on Instagram have shown to be priced higher than ads on Facebook, supporting continued increases in average ad prices as Instagram becomes a larger part of Facebook.
While Facebook is facing high expectations from analysts, Instagram may be the factor that enables it to beat the consensus and causes the stock price to power higher.
Read the original article on The Motley Fool. Copyright 2016. Follow The Motley Fool on Twitter.

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2559

กำไรลดลงฮวบฮาบแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นอย่างไหน หุ้นธนาคารก็หมดเสน่ห์ลงชั่วคราวอย่างน้อยก็จนกระทั่งถึงช่วงเวลาหมดงวดไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

หุ้นธนาคารพาณิชย์


ไม่ว่านายธนาคารพาณิชย์ไทยที่เร่งแข่งกันปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงกะทันหันสัปดาห์นี้จะใช้ถ้อยคำอธิบายที่สวยหรูแค่ไหน นักลงทุนที่ช่ำชองย่อมรู้ดีว่า ถึงเวลาของการขายหุ้นธนาคารออกจากมือแล้ว         
การลดดอกเบี้ยเงินกู้ในเดือนเมษายนของธนาคารพาณิชย์ไทยครั้งล่าสุดนี้ เป็นการย่ำรอยเดิมจากระยะเดียวกันของปีก่อนที่ธนาคารไทยพาณิชย์นำร่องลดดอกเบี้ยเช่นกัน แต่ด้วยบรรยากาศที่ต่างกัน
ปีที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายกะทันหัน 2 ครั้ง ก่อนที่ธนาคารพาณิชย์จะเดินตามแนวทางที่กำหนดมา แต่ครั้งนี้ ไม่ต้องรอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยส่งสัญญาณอะไรเลย ก็ตัดสินใจลดกันเองเสียแล้ว
ธนาคารไทยพาณิชย์ ตัดสินใจประกาศนำร่องก่อนเพื่อนอีกเช่นเคย โดยประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ลงมา 0.15 % ต่อปีเหลืออยู่ที่ระดับ 6.375% ต่อปี ในค่ำวันที่ 4 เมษายน จะมีผลตั้งแต่วันที่ เมษายนเป็นต้นไป
เพียงแค่ข้ามคืน ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารทหารไทยก็ประกาศตามมาติดๆ ไม่รั้งรอลดดอกเบี้ยเช่นเดียวกัน โดยรายแรก นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการธนาคารกสิกรไทย ออกมาประกาศเอง ว่าปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ลงมา 0.25% เหลือที่ระดับ 6.25% มีผลตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน
งานนี้ถึงมาช้าไปนิด แต่มาแรงแซงหน้าไปไกลกว่า 
ส่วนรายหลัง ก็ไม่ยอมให้หัวแถวทิ้งห่างหน้า ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 2 ชนิดลงเท่ากัน 0.25% โดยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) จากเดิม 7.025% มาอยู่ที่ 6.775% และลูกค้ารายบุคคล เอ็มอาร์อาร์ (MRR) จาก 8.025% เป็น 7.775% โดยมีผลตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน เป็นต้นไป
แน่นอนว่า ด้วยเหตุผลเพื่อให้ภาพลักษณ์อันสวยงาม ไม่ให้ถูกข้อครหาว่าหน้าโลหิต นายธนาคารที่บริหารธนาคารทั้ง 3 แห่ง อ้างเหตุผลทำนองเดียวกัน แต่มีรายละเอียดต่างกันไปตามจารีตแบบที่คาดเดาได้ล่วงหน้าว่าต้องพูดอย่างนี้แหละ ไม่เป็นอย่างอื่น
นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและรองประธานกรรมการบริหารธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่ามีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่กำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปผ่านมาตรการทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้กระตุ้นในหลายรูปแบบเป็นระยะๆ พร้อมแบ่งเบาภาระทางการเงินของลูกค้า
ในขณะที่นายบัณฑูร ระบุว่า ต้องการสนองตอบนโยบายภาครัฐในการช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการSME ซึ่งถือเป็นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญของประเทศโดยอ้างถึงรายงานของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ว่า SME เป็นกำลังขับเคลื่อน GDP ของประเทศประมาณ 40%
ส่วนนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ระบุว่า การลดดอกเบี้ยเงินกู้ ก็เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของธุรกิจเอสเอ็มอี จะช่วยให้ต้นทุนดอกเบี้ยของผู้ประกอบการ SME ลดลง ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ประกอบการ
ไม่มีนายธนาคารพาณิชย์คนไหนยอมเสียหน้ามาประกาศว่า ที่จำต้องลดดอกเบี้ยเงินกู้โดยที่แบงก์ชาติไม่ได้นำร่องส่งสัญญาณเหมือนเช่นเคยนั้น เกิดขึ้นเพราะมีคนขอกู้น้อยลง จนกระทั่งกำไรไตรมาสที่ผ่านมาของธนาคารลดลง เนื่องจากเงินฝากล้นธนาคารแล้ว...หรืออะไรทำนองนี้
ครั้งนี้ธนาคารพาณิชย์ที่ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ไม่ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงด้วย ทั้งที่ควรกระทำพร้อมกัน ซึ่งหากไม่ทำขึ้นมาจริงๆ (ไม่ใช่ปล่อยเวลาระยะหนึ่งแล้วลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงตามมาภายหลัง) มีหวังกำไรตกฮวบฮาบ
ดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากของธนาคารเป็นของคู่กัน  ธนาคารพาณิชย์ระดมเงินฝากของผู้มีเงินออม โดยจ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินฝากผ่านต้นทุน จากนั้นนำมาหาประโยชน์จากทั้งสินเชื่อเงินกู้ที่มีผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงกว่าดอกเบี้ย นอกเหนือจากรายได้บางส่วนจากค่าธรรมเนียมให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการเงินสารพัด
การขึ้นหรือลงของอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ ขึ้นกับ 2 ปัจจัยสำคัญคือ ปริมาณเงินในท้องตลาด และความต้องการเงินกู้ของลูกค้าในแต่ละช่วงของเศรษฐกิจ 
ในยามเศรษฐกิจขาขึ้น ความต้องการเงินกู้ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์จะพุ่งขึ้นสูง ผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นตาม โดยดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นก่อน และดอกเบี้ยเงินฝากก็จะควบคู่ไปเพราะธนาคารต้องการระดมเงินฝากเข้ามาปล่อยกู้มากขึ้นเพื่อสร้างกำไรเพิ่ม (สอดรับกับการที่ธนาคารกลางจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสกัดเงินเฟ้อเคียงคู่กันไปด้วย)
ในยามเศรษฐกิจขาลง หรือถดถอย ความต้องการเงินก็ของลูกค้าธนาคารจะตกต่ำ ผลักดันให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลง โดยเริ่มจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ตามด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อลดต้นทุนธนาคารลง หากลดดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียว กำไรธนาคารจะลดลงไปรุนแรง
ปรากฏการณ์เช่นนี้ ไม่ได้ใหม่ และไม่ใช่ “มือที่มองเห็น” อะไร แต่เป็นกลไกปกติของธนาคาร สิ่งที่คนถือหุ้นธนาคารหรือนักลงทุนทั่วไปควรจับตามองหลังจากนี้ไป จึงอยู่ที่ความสามารถทำกำไรของธนาคารหลังจากขึ้นหรือลดดอกเบี้ยไปแล้ว
การลดดอกเบี้ยครั้งล่าสุดนี้ อนุมานเบื้องต้นได้ว่า กำไรจะลดลงไปแน่ เพียงแต่จะลดไม่มากหากลดดอกเบี้ยทั้งเงินกู้และเงินฝาก แต่ถ้าลดดอกเบี้ยเงินกู้ขาเดียวก็อนุมานล่วงหน้าได้เลยว่า กำไรลดลงฮวบฮาบแน่นอน
ไม่ว่าจะเป็นอย่างไหน หุ้นธนาคารก็หมดเสน่ห์ลงชั่วคราวอย่างน้อยก็จนกระทั่งถึงช่วงเวลาหมดงวดไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

ข้อเสนอของ ADVANC หรือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เพื่อขอซื้อใบอนุญาต 4G คลื่นความถี่ 900 MHz เสมือนเป็นการสร้าง WIN-WIN กับทุกฝ่าย

            ข้อเสนอของ ADVANC หรือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เพื่อขอซื้อใบอนุญาต 4G คลื่นความถี่ 900 MHz เสมือนเป็นการสร้าง  WIN-WIN กับทุกฝ่าย

                เพราะราคาที่ขอซื้อจะเท่ากับราคาที่ JAS ชนะประมูล
                นั่นคือ 7.56 หมื่นล้านบาท
                แม้ว่าในมุมมองของนักลงทุนอาจเป็นผลลบกับ ADVANC เพราะอาจไปกดดันผลประกอบการในปี 2559 แต่ก็เชื่อว่า ADVANC น่าจะดีดลูกคิดออกมาแล้วว่า “คุ้ม”
                เรื่องเงินสดในมือไม่น่าจะมีปัญหาสำหรับ ADVANC
เช่นเดียวกับการหาแบงก์การันตี ก็เข้าใจเช่นกันว่า ADVANC น่าจะมีการหารือกับนายแบงก์หลายๆ ธนาคารไว้แล้ว
ยิ่งฟังการให้สัมภาษณ์ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสมือนมีนัยว่า พร้อมที่จะงัดมาตรา 44 ออกมาใช้เป็นกรณีพิเศษ
1.เงินยังเข้าประเทศครบถ้วนตามเดิม
                2.ประชาชนได้ใช้ 4G คลื่นความถี่ 900 MHz แบบไม่ต้องมารอการประมูลใหม่ ที่ยังไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
                3.หากเปิดการประมูลใหม่ ก็น่าจะมีผู้ประกอบการแค่ 2 ราย นั่นคือ ADVANC และ DTAC เพราะ TRUE ถูกตัดสิทธิ์ไปแล้ว ส่วน JAS ก็ถูกขึ้นบัญชีดำ
จึงเหลือเพียง 2 รายเท่านั้น เว้นเสียแต่ว่า DTAC จะตั้งแง่อะไรหรือไม่
ส่วน TRUE เองนั้น ก็คงงอแงอะไรต่อไม่ได้แล้วล่ะ
นั่นเพราะนอกจากจะถูกตัดสิทธิ์จากการได้ใบอนุญาตไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหากจะมาโวยวายเรื่องราคาประมูล ก็คงจะไม่ได้ เพราะ ADVANC พร้อมซื้อในราคา 7.56 หมื่นล้านบาท ซึ่งก็ไม่น่าจะทำให้ TRUE เสียเปรียบอะไรตามที่เคยร่อนจดหมายออกมาก่อนหน้า
สมมุติว่า หากมีการใช้มาตรา 44 ขึ้นมาจริงๆ  นั่นก็เท่ากับว่า กสทช. ไม่ต้องมาตั้งโต๊ะเปิดประมูลกันใหม่ ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มขึ้น
หากเป็นแบบนั้น ก็อาจไม่มีเรื่องที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายกับ JAS เพิ่ม นอกเหนือจากการริบเงินประกัน 644 ล้านบาท
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังมีข่าวนี้ หุ้น JAS วิ่งตอบรับทันที
ราคาหุ้น JAS บวกขึ้นมา 0.12 บาท ปิดที่ 3.52 บาทต่อหุ้น สวนกับทิศทางของตลาดรวมที่ดัชนีปรับลดลงไป 26.68 จุด มาที่ 1,373.59 จุด ต่ำสุดในรอบกว่า 1 เดือน
ก่อนหน้านี้ การมีการประเมินกันว่า หาก JAS ถูกฟ้องขึ้นมาจริงๆ
JAS ก็อาจต้องบันทึกหรือตั้งสำรองระดับหลักหมื่นล้านบาท ในกรณีที่หากราคาประมูลครั้งใหม่ต่ำกว่าราคาประมูลที่JAS เป็นฝ่ายชนะ
และนั่นยังไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ของ กสทช.ในการดำเนินการประมูลครั้งใหม่
ถึงอย่างไรเรื่องการฟ้อง JAS ก็ยังต้องติดตามกันต่อไป เพราะคณะกรรมการที่ กสทช.ตั้งขึ้น เพื่อเรียกค่าเสียหายจาก JAS เพิ่มเติม ยังคงทำงาน จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ขณะที่ล่าสุด “พิชญ์ โพธารามิก” บอสใหญ่ของ JAS ก็ออกมาแถลงข่าวครั้งแรกเมื่อวันอังคาร
มีการบอกเบื้องหน้า เบื้องหลังเกี่ยวกับการประมูล 4G แบบค่อนข้างจะหมดเปลือก โดยเฉพาะเงื่อนไขของแบงก์กรุงเทพหรือ BBL ที่เปลี่ยนแปลงไป
รวมถึงการหาพันธมิตรจากประเทศจีนเข้ามาช่วย
ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็ต้องไปพิสูจน์กันอีกครั้ง
เว้นเสียแต่ว่า หากมีการใช้มาตรา 44 ในกรณีของ ADVANC ขึ้นมาจริงๆ ทุกอย่างก็น่าจะจบลงได้
Happy Ending ทุกฝ่าย
ส่วนที่มีคำถามว่า ADVANC ต้องการช่วย JAS หรือไม่ มีการสะกิดขากันใต้โต๊ะหรือเปล่า เพราะ ADVANC เองก็ต้องพึ่งพา JAS ในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะกับ JASIF
                เรื่องนี้อย่าไปคิดอะไรกันมากครับ
ดูอย่าง กสทช.สิ พอรับเรื่องจาก ADVANC ก็ส่งเรื่องไปให้กับ คสช.ทันที
เสมือนอยากให้เรื่องมันจบๆ ไป
เพราะดูแล้วทุกฝ่ายก็ WIN-WIN

“พิชญ์” ยืนยันซื้อหุ้นคืน 5 บาท แจงเหตุดีล BBL ต้องล่ม เพราะถูกตั้งเงื่อนไขให้ต้องค้ำประกันส่วนตัว ยืนยันมีพันธมิตรกองทุนพร้อมลงทุน 30,000 ล้านบาท แต่ไม่ทันกำหนดกสทช. ย้ำเดินหน้าลุยธุรกิจบรอดแบนด์เต็มสูบ

“พิชญ์” ยืนยันซื้อหุ้นคืน 5 บาท แจงเหตุดีล BBL ต้องล่ม เพราะถูกตั้งเงื่อนไขให้ต้องค้ำประกันส่วนตัว ยืนยันมีพันธมิตรกองทุนพร้อมลงทุน 30,000 ล้านบาท แต่ไม่ทันกำหนดกสทช. ย้ำเดินหน้าลุยธุรกิจบรอดแบนด์เต็มสูบ

นายพิชญ์ โพธารามิก กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS เปิดเผยว่า บริษัทยืนยันการซื้อหุ้นคืนที่ราคา 5 บาท ส่วนกรณีคณะกรรมการบริษัทมีมติจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นจำนวน 0.30 บาท และมีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืน เพื่อบริหารทางการเงิน กำหนดวงเงินสูงสุดที่ใช้ในการซื้อหุ้นคืนประมาณ 6,000 ล้านบาท ทั้ง 2 กรณีดังกล่าว เป็นการที่บริษัทต้องการที่สร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น
สำหรับกรณีไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ งวดแรกและจัดหาหนังสือรับรองวงเงินค้ำประกันจากสถาบันการเงินมูลค่า 75,654 ล้านบาท ให้กับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทันตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ 21 มี.ค. 59 ได้นั้น เนื่องจากช่วงแรกบริษัทเจรจากับธนาคารกรุงเทพ เพื่อขอวงเงินกู้และมีพันธมิตรเป็น Huawei (หัวเหว่ย) จากประเทศจีน
โดยธนาคากรุงเทพให้วงเงินกู้ 80,000 ล้านบาท แต่เมื่อชนะประมูลธนาคารกรุงเทพเปลี่ยนเงื่อนไข โดยการขอให้ตนเองและนายอดิศัย โพธารามิก ซึ่งเป็นพ่อเซ็นหนังสือค้ำประกันส่วนตัว เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เหมาะสม จึงทำให้การเจรจากับธนาคารกรุงเทพต้องยกเลิก
ขณะเดียวกันบริษัทจำเป็นต้องหาพันธมิตรรายใหม่ โดยมีธนาคารไอซีบีซี จากประเทศจีน เป็นตัวกลางในการเจรจาที่จะนำพันธมิตรผู้ประกอบการโทรคมนาคมจากประเทศจีน อาทิ ไชน่า เทเลคอม, ไชน่า ยูนิเวอร์แซล และแชร์ริ่ง โมบาย โดยบริษัทดังกล่าว มีความสนใจที่จะใส่เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท แต่ถือว่าไม่เพียงพอ
ทั้งนี้ ธนาคารไอซีบีซีจึงแนะนำพันธมิตรรายใหม่ เป็นกองทุนต่างชาติ โดยสนับสนุนเงินวงเงินลงทุน 30,000 ล้านบาท และเข้าถือหุ้นในบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด สัดส่วน 49% และธนาคารไอซีบีซีจะดำเนินการออกหนังสือรับรองวงเงินค้ำประกัน อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนทั้งหมดจะแล้วเสร็จประมาณวันที่ 21 เม.ย. 59 จึงไม่ทันกำหนดการชำระค่าใบอนุญาตงวดแรกวันที่ 21 มี.ค. 59 ตามที่กสทช.กำหนดเวลาไว้
ขณะเดียวกันภายในวันที่ 20 เม.ย.นี้ บริษัทจะมายื่นเอกสารทุกกระบวนการในการหาพันธมิตร และจัดหาหนังสือรับรองวงเงินค้ำประกันจากสถาบันการเงินให้กับ กสทช.รับทราบอีกครั้ง สำหรับกรณีกสทช.เปิดให้ประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ แล้วแต่ตนเองไม่ได้ดำเนินการเข้าร่วมประมูลนั้น เนื่องจากบริษัทวางกรอบวงเงินในการประมูลไว้แล้ว 80,000 ล้านบาท ถือเป็นกลยุทธ์ในการประมูล
นายพิชญ์ กล่าวว่า บริษัทจะเดินหน้าขยายธุรกิจบรอดแบนด์อย่างต่อเนื่อง โดยมั่นใจว่าการทิ้งใบอนุญาตคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ไม่ส่งกระทบต่อการต่อใบอนุญาตธุรกิจบรอดแบรนด์ เนื่องจากเป็นคนละนิติบุคคล ขณะที่เกณฑ์ใหม่กสทช.ยังไม่บังคับใช้และไม่มีผลย้อนหลัง ส่วนการเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากกสทช.นั้น นอกเหนือจากการที่กสทช.ริบวงเงินหลักประกันจำนวน 644 ล้านบาท ต้องรอผลการพิจารณาของคณะทำงานพิเศษของกสทช.

จังหวะดีซื้อหุ้นADVANC เป้า196บาทอัพไซด์20% :วัดใจบิ๊กตู่ใช้มาตรา 44 เปิดช่อง AIS ฮุบคลื่น 900

จังหวะดีซื้อหุ้นADVANC เป้า196บาทอัพไซด์20% :วัดใจบิ๊กตู่ใช้มาตรา 44 เปิดช่อง AIS ฮุบคลื่น 900

2016-04-07

จังหวะดีเข้าเก็บหุ้น ADVANC หลังราคาลงหนัก เชื่อรอฮุบใบอนุญาต 4G คลื่น 900 MHz แทน JAS ฟากกสทช.เร่งส่งเรื่องให้คสช.พิจารณาใช้มาตรา 44 แล้ว วงการเงินย้ำช่วยหนุน ADVANC เติบโตระยะยาว ราคาเป้าหมาย 196 บาท อัพไซด์ 20%

แหล่งข่าวจากวงการเงิน เปิดเผยว่า จากกรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC มีแนวคิดจะรับใบอนุญาต 4G คลื่น 900 MHz แทนบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ในราคา 75,654 ล้านบาท จะกลายเป็นปัจจัยหนุนผลักดันให้บริษัทเติบโตได้ในระยะยาว
โดยหาก ADVANC สามารถเข้ารับใบอนุญาต 4G คลื่น 900 MHz จริงตามที่มีรายงานข่าวออกมาระยะสั้นจะเกิดแรงขายกดดันราคาหุ้นจากความกังวลถึงต้นทุนดำเนินงานบริษัทที่จะแบกรับภาระมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อทิศทางผลประกอบการของบริษัท
อย่างไรก็ตาม แรงกดดันหุ้นของ ADVANC ไม่น่าจะหนักมากเท่าในอดีต เพราะขณะนี้เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า การแข่งขันในอุตสาหกรรมจะมีโอเปอเรเตอร์เพียงแค่ 3 รายหลักเท่านั้น จึงแตกต่างจากเดิมที่ตลาดกังวลจะมีโอเปอเรเตอร์แข่งขันมากถึงระดับ 4 ราย
อีกทั้งแม้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE จะพยายามเร่งพยายามชิงส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น รวมถึงบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ที่ยังคงพยายามรักษาฐานลูกค้าเดิมและเพิ่มลูกค้าใหม่ แต่ ADVANC ยังมีศักยภาพที่จะครองตำแหน่งเป็นผู้นำตลาดมือถืออันดับ 1 ไว้ได้ในอนาคต และมีโครงสร้างทางการเงินที่แกร่งมากที่สุดในกลุ่ม
ดังนั้น จึงแนะนำให้นักลงทุน “ทยอยสะสม” หุ้น ADVACN ช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงหนัก หรือรอเข้าเก็บหลังประกาศงบไตรมาส 1/59 ที่จะออกมาชะลอตัว เพื่อรอการเติบโตในช่วงอนาคต ประกอบกับยังเป็นบริษัทที่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ดีต่อเนื่อง ถึงแม้จะต้องมีการลงทุนในธุรกิจสื่อสารเป็นจำนวนมากก็ตาม
“ระยะสั้นหุ้น ADVANC จะต้องถูกกดดันจากแผนเข้ารับช่วงต่อใบอนุญาต 4G คลื่น 900 MHz แต่หากทำได้จริงในแง่ระยะยาวจะถือเป็นปัจจัยบวกโดยตรงต่อบริษัท ส่วนเรื่องเงินลงทุนคงไม่มีปัญหาสำหรับ ADVANC เพราะถือเป็นบริษัทที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และยังมี EBITDA ตกปีละประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท จึงเป็นจำนวนเงินที่มากพอต่อแผนการขยายธุรกิจและจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น” แหล่งข่าว กล่าว
ด้านความเคลื่อนไหวราคาหุ้น ADVANC ล่าสุด (5 เม.ย.) ปิดการซื้อขายอยู่ที่ระดับ 163 บาท ปรับลดลง 12 บาท หรือคิดเป็น 6.86% เมื่อเทียบกับราคาปิดก่อนหน้า ทำราคาสูงสุดของวันที่ 170 บาท ต่ำสุดของวันที่ 163 บาท มีมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 4,175 ล้านบาท โดยราคาปิดล่าสุดที่ 163 บาท เท่ากับมีอัพไซด์รวม 20% เมื่อเทียบราคาเป้าหมายเฉลี่ยใน SETTRADE กำหนดไว้ระดับ 196 บาท
*กสทช.ส่งเรื่องให้คสช.แล้ว
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ล่าสุดยื่นข้อเสนอของ ADVANC ให้แก่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถึงกรณีมีความประสงค์ขอรับใบอนุญาตคลื่น 900 MHz ที่ราคา 75,654 ล้านบาท ต่อจากบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด โดยหลังจากนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ คสช. ซึ่งหากอนุมัติจะสามารถใช้มาตรา 44 ได้ทันที
ทั้งนี้ ADVANC ระบุขอให้หัวหน้า คสช.ในการพิจารณาไม่เกินวันที่ 14 เม.ย. 2559 นี้ เนื่องจากใบอนุญาตคลื่น 900 เดิมของ ADVANC จะหมดอายุจากการที่ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองไว้ ขณะเดียวกันเมื่อได้รับการอนุมัติจากคสช.แล้ว ADVANC จะขอระยะเวลา 2 เดือนในการเตรียมตัวที่จะจ่ายค่าใบอนุญาต
โดย ADVANC จะต้องดำเนินการขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น และจัดหาหนังสือรับรองวงเงินค้ำประกันจากสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม กสทช.ไม่ปิดกั้นหากมีผู้ประกอบการรายอื่นจะยื่นเสนอซื้อใบอนุญาตคลื่น 900 ในราคาเดียวกับ ADVANC
อีกทั้ง กสทช.ยืนยันที่จะเดินหน้าเรียกร้องค่าเสียหายกรณีที่บริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ไม่ชำระค่าใบอนุญาตคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ถึงแม้ ADVANC จะรับใบอนุญาตต่อได้ นอกจากนี้ คณะกรรมการ กสทช.ได้รับร่างการประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ของ กทค.แล้ว ซึ่งมีการปรับเงื่อนไขเล็กน้อย คือการประมูลรอบใหม่จะไม่อนุญาตให้กลุ่มบริษัททรูเข้าร่วมการประมูล ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดการผูกขาดของผู้ให้บริการ
*จับตาเปิดทางใช้มาตรา 44
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า การจะใช้มาตรา 44 ในกรณี ADVANC จะรับช่วงคลื่นจากบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ชนะประมูลคลื่น 900 MHz ในครั้งก่อน ที่ราคา 75,654 ล้านบาท
สำหรับเรื่องนี้จะต้องให้ฝ่ายกฎหมายทั้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และส่วนของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ไปพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน หากเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายจะพร้อมที่ดำเนินการได้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการเสนอเรื่องดังกล่าวมาถึงตน แต่ยืนยันว่าเรื่องนี้จะต้องยึดข้อกฎหมาย และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นหลัก
ส่วนนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงกรณี ADVANC จะรับช่วงคลื่นจากบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ที่เป็นผู้ชนะประมูลคลื่น 900 MHz ครั้งก่อน ที่ราคา 75,654 ล้านบาทว่า เรื่องนี้ต้องขอดูข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดมาก่อน ส่วนจะใช้คำสั่งตามมาตรา 44 ของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือไม่นั้น เป็นอำนาจการตัดสินใจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.