วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

พีทีภูมีรีซอร์เซส บ.ถ่านหินเบอร์ 1 อินโดฯ เตรียมปรับโครงสร้างหนี้ 4 พันล้านดอลล์ รับพิษตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ

efinanceThai - พีทีภูมีรีซอร์เซส บ.ถ่านหินเบอร์ 1 อินโดฯ เตรียมปรับโครงสร้างหนี้ 4 พันล้านดอลล์ รับพิษตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า พีทีภูมีรีซอร์เซส ผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่อันดับหนึ่งของอินโดนีเซีย เตรียมปรับโครงสร้างหนี้ 4 พันล้านดอลลาร์ หลังราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำกดดันผลการดำเนินงานและส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง   
  โดยพีทีภูมียื่นแผนปรับโครงสร้างหนี้ต่อตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียวานนี้ ระบุถึงแผนแปลงหนี้เป็นทุนจำนวน 1.5 พันล้านดอลลาร์ และชำระหนี้ด้วยหุ้นจำนวน 780 ล้านดอลลาร์ต่อไชน่าอินเวสท์เมนท์คอร์ปและไชน่าดีเวล็อปเมนท์แบงก์ รวมถึงออกหุ้นกู้แปลงสภาพอายุ 5 ปีวงเงิน 410 ล้านดอลลาร์ 
  พีทีภูมีระบุว่า บริษัทสามารถชำระหนี้ได้เพียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของหนี้จำนวน 4 พันล้านดอลลาร์ หลังราคาถ่านหินลดลงมาแล้ว 54% ในช่วง 4 ปีจนถึงปี 2014 และอยู่ที่ 55.45 ดอลลาร์/ตันในการปิดตลาดวานนี้ 
  'ความต้องการถ่านหินอาจชะลอตัวลงอีก เนื่องจากถูกทดแทนด้วยพลังงานอื่นที่สะอาดกว่า เราคาดว่า ปริมาณอุปทานถ่านหินจะลดลงเช่นกัน เนื่องจากหลายบริษัทได้ลดปริมาณการผลิต หรือ ปิดเหมืองไปบ้างแล้ว แต่สำหรับเจ้าหนี้แล้ว การลดยอดหนี้คงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้' นางเฮเลน เล่านักวิเคราะห์ที่อาร์โกนอทซิเคียวริตี้ส์กล่าว

เงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่มากสุดนับแต่ปี 51

เงินทุนไหลออกจากตลาดเกิดใหม่มากสุดนับแต่ปี 51

2015-10-01
ซีเอ็นบีซี ตลาดเกิดใหม่ปิดท้ายไตรมาสอย่างเลวร้ายสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินทั่วโลกในปี 2551 โดยนักลงทุนถอนเงินออกจากตลาดเกิดใหม่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 40,000 ล้านดอลลาร์และเงินที่ไหลออกเหล่านี้กระจายในสัดส่วนเกือบเท่ากันระหว่างหุ้นและพันธบัตร

อินสติติวออฟ อินเตอร์เนชันแนลไฟแนนซ์ (ไอไอเอฟ) กล่าวว่า หลายประเทศตั้งแต่เม็กซิโกจนถึงมาเลเซียได้ถูกตะลุมบอนในช่วงไม่กี่เดือนมานี้เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกเกี่ยวกับแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยในสหรัฐฯ จะสูงขึ้นซึ่งแนวโน้มดังกล่าวทำให้เสน่ห์ของสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ที่มีความเสี่ยงมากกว่าลดลง
เงินทุนที่ไหลออกมากขึ้นในหลายประเทศได้สร้างความกดดันต่อสกุลเงินในท้องถิ่นซึ่งยิ่งเพิ่มความวิตกให้กับนักลงทุนซึ่งในขณะนี้กำลังประคับประคองการขาดทุนจากทั้งสกุลเงินในท้องถิ่นและสินทรัพย์พื้นฐาน
สัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนซึ่งดูเหมือนกำลังเย็นลงหลังจากที่ได้เติบโตอย่างรุนแรงมานานหลายปีไม่ได้เป็นผลดีเช่นกัน
อินสติติวออฟ อินเตอร์เนชันแนลไฟแนนซ์ (ไอไอเอฟ) กล่าวว่าเงินที่ไหลออกกระจายในสัดส่วนเกือบเท่ากันระหว่างหุ้นและพันธบัตรโดยนักลงทุนถอนเงินออกจากตลาดพันธบัตร 21,000 ล้านดอลลาร์และถอนเงินออกจากตลาดหุ้น 19,000 ล้านดอลลาร์
สัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐหลังจากมีการประชุมนโยบายในเดือนกันยายนได้ช่วยกระตุ้นให้มีการลงทุนในหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราวในขณะที่การฟื้นตัวนี้ได้ช่วยรองรับผลกระทบต่อเงินที่ไหลออกในเดือนกันยายนแต่ก็เป็นการฟื้นตัวในระยะสั้น
เงินทุนที่ไหลเข้าสู่หุ้นและตราสารหนี้ใน 7 ประเทศตัวอย่างของไอไอเอฟที่มีการเปิดเผยทุกวันได้ติดลบในเดือนกันยายนโดยฮังการีและไทย ประสบปัญหาเป็นพิเศษแต่บัลแกเรียไม่มีปัญหามาก
การปรับตัวลงในตลาดก็ได้ส่งผลกระทบต่อการออกหุ้นและพันธบัตรของบริษัทและประเทศในตลาดเกิดใหม่และการออกหุ้นและพันธบัตรลดลงส่งผลให้ไอไอแอลประเมินการไหลเวียนของเงินลงทุนในพันธบัตรและหุ้นเป็นบวกมากกว่าปกติ
ข้อมูลของไอไอเอฟเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่เผยแพร่โดยอีพีเอฟอาร์ซึ่งเป็นผู้จัดเตรียมข้อมูลทางการเงินอีกบริษัทหนึ่งแต่มีความแตกต่างกันในระดับหนึ่งโดยไอไอเอฟติดตามเงินทุนของต่างชาติทั้งหมดที่ไหลเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ในขณะที่อีพีเอฟอาร์วัดเงินทุนที่ไหลเข้าและไหลออกและเงินทุนที่ซื้อขายในตลาดเนื่องจากการประเมินของทั้งสองบริษัทอาศัยตัวอย่างข้อมูลจึงอาจมีความผิดพลาดตามความผิดพลาดในการสุ่มตัวอย่างได้อย่างไรก็ดีข้อมูลของอีพีเอฟอาร์ก็ชี้ว่า เงินทุนที่เข้าไปยังตลาดเกิดใหม่ลดลงอย่างรุนแรงเช่นกัน

KBANKกำไรวูบ10% คาดตั้งสำรองเพิ่ม กว่า6.7พันล้านบาท

KBANKกำไรวูบ10% คาดตั้งสำรองเพิ่ม กว่า6.7พันล้านบาท

2015-10-01
หุ้นกสิกรไทย (KBANK) ถูกทิ้งออกมาหนัก หลังการนักวิเคราะห์ประชุมกับผู้บริหารธนาคารวานนี้ คาดจะต้องตั้งสำรองเพิ่มกว่า 6.7 พันล้านบาท หลังเอ็นพีแอลพุ่ง ส่งผลกำไรวูบ 10%
วานนี้ (30 ก.ย.) มีการประชุมของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์กับผู้บริหารของธนาคารกสิกรไทย โดยหลังการประชุม พบว่า ราคาหุ้นของ KBANK ถูกทิ้งลงมาอย่างหนัก โดยมาปิดตลาดลบ 4 บาท มาที่ 171 บาทา เปลี่ยนแปลง -2.29% มูลค่าการซื้อขายเป็นอันดับ 1 กว่า 2,473 ล้านบาท
นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ อาร์เอชบี โอเอสเค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลประกอบการของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ช่วงไตรมาส 3/58 คาดว่า การทำกำไรของธนาคารจะปรับตัวลดลงจากช่วงไตรมาส 2/58 ประมาณ 10% มาอยู่ที่ระดับ 10,000-10,500 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากช่วงไตรมาส 2/58 ที่ทำกำไรได้สูงถึง 15,000 ล้านบาท
การลดลงของกำไรครั้งนี้เป็นผลมาจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารช่วงไตรมาส 3/58 ขยับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงไตรมาสที่ผ่านมาจาก 2.4% เป็น 2.6% ส่งผลให้ธนาคารจำเป็นต้องตั้งสำรองหนี้เสียพิเศษต่อเนื่องจากช่วงไตรมาสที่ผ่านมา
และเชื่อว่าธนาคารยังคงมีแผนที่จะตั้งสำรองหนี้เสียดังกล่าวในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ต่อเช่นกัน เพราะแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ NPL ยังมีอยู่ หากภาพเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวเร็วไปกว่าเดิม โดยเฉพาะหนี้เสียที่เกิดจากธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่เป็นตัวดันหนี้เสียของธนาคารเพิ่มขึ้นในแต่ละไตรมาส ซึ่งไตรมาส 3/58 ก็เช่นกันที่หนี้เสียจากกลุ่ม SME เป็นตัวหลักทำให้ธนาคารต้องตั้งสำรองหนนี้เสียพิเศษ
สำหรับ NPL ไตรมาส 3/58 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/58 ที่มีอยู่ทั้งสิ้น 2.4% เป็น 2.6% ในไตรมาสนี้ หรือ คิดเป็นเม็ดเงินเพิ่มขึ้นจาก 41,000 ล้านบาทในไตรมาส 2/58 เป็น 45,000-46,000 ล้านบาท ในไตรมาส 3/58 ส่งผลให้ธนาคารจำต้องตั้งสำรองหนี้เสียพิเศษในไตรมาส 3/58 เพิ่มขึ้นประมาณ 10-15% จากไตรมาส 2/58 หรือเพิ่มเม็ดเงินตั้งสำรองฯจาก 6,000 ล้านบาทในไตรมาส 2/58 เป็น 6,700 ล้านบาทในไตรมาส 3/58 ทั้งนี้ เชื่อว่าธนาคารยังคงแผนตั้งสำรองในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เช่นกัน
นายธนเดช กล่าวว่า แม้ว่ากำไรธนาคารไตรมาส 3/58 จะลดลง แต่รายได้ของธนาคารยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยไตรมาส 3/58 รายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 38,000 ล้านบาทจากช่วงไตรมาส 2/58 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากรายได้ค่าธรรมเนียม (ค่าฟี) ของธนาคารเติบโตดี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าประมาณ 5-10% คิดเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1,300 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสก่อนหน้าค่าฟีเพิ่มขึ้น 1,1600 ล้านบาท ส่วน NIM หรือ ส่วนต่างของอัตราสินเชื่อของธนาคารใกล้เคียงกับไตรมาส 2/58 อยู่ที่ 3.6%
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมธุรกิจธนาคารกสิกรไทยปีนี้ยังมีมุมมองที่ดี เมื่อเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่อื่นที่มีการตั้งสำรองพิเศษเพิ่มจำนวนมาก สินเชื่อยังคงเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ 6-6.5% พร้อมกันนี้ อยู่ระหว่างพิจารณาการปรับประมาณการกำไรธนาคารและราคาเป้าหมายที่เหมาะสมใหม่ จากภาวะการตั้งสำรองหนี้เสียพิเศษเพิ่มขึ้น ด้านนักลงทุน แนะ “ถือ”
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า ผลการดำเนินงานธนาคารช่วงไตรมาส 3/58 ธนาคารยังคงมีแผนที่จะต้องตั้งสำรองหนี้เสียพิเศษต่อเนื่องจากช่วงไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากแนวโน้มหนี้เสียของธนาคารยังคงขยับตัวเพิ่มขึ้นอยู่บ้าง แม้ว่าจะเพิ่มขึ้นในจำนวนที่ไม่มากก็ตาม แต่เพื่อเป็นการควบคุมความเสี่ยงไว้ก่อนการตั้งสำรองหนี้เสียพิเศษจึงยังคงมีอยู่
ทั้งนี้ ธนาคารได้วางแผนการตั้งสำรองหนี้เสียพิเศษดังกล่าวไว้อยู่แล้ว โดยเป็นหนึ่งในการวางแผนระยะยาว และเชื่อว่าธนาคารไทยในระบบต่างก็มีแผนตั้งสำรองหนี้เสียพิเศษช่วงไตรมาส 3/58 นี้เช่นเดียวกัน ต่างกันเพียงแค่จำนวนเงินที่นำมาใช้สำรองว่าแต่ละธนาคารจัดการอย่างไร
ส่วน NPL ของธนาคารกสิกรไทยในขณะนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่เป็นการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น หากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐบาลเดินหน้าได้เร็วขึ้นก็จะช่วยได้มากในเรื่องของการรักษาระดับหนี้เสียที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และจากการที่มีทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ เชื่อว่าน่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้บ้าง แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาสักเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยช่วงปี 2559 จะเติบโตอยู่ที่ระดับ 3.2-3.5% ขณะที่การเติบโตของสินเชื่อ คาดว่าโตใกล้เคียง

รัฐสภาล่าช้าฉุดกำไร STEC

รัฐสภาล่าช้าฉุดกำไร STEC

2015-09-30 
“STEC” เจอพิษงานก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ล่าช้า เหตุโรงเรียนโยธินบูรณะส่งมอบพื้นที่ไม่ได้ ฟากผู้บริหารยอมรับอาจจะต้องบันทึกขาดทุน 1,000 ล้านบาท โบรกฯประเมินฉุดกำไรสุทธิปีนี้ดิ่งเหลือเพียง  241 ล้านบาท จากคาดการณ์ไว้ 1,256 ล้านบาท  

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด เปิดเผยว่า กรณีโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มูลค่า 12,000 ล้านบาท บนพื้นที่ 119 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเกียกกาย ซึ่งบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ประสบปัญหาส่งมอบพื้นที่ล่าช้าในส่วนของพื้นที่บริเวณโรงเรียนโยธินบูรณะที่ยังติดปัญหาไม่สามารถย้ายออกจากพื้นที่ก่อสร้างได้ เพราะต้องรอให้โรงเรียนแห่งใหม่ก่อสร้างเสร็จก่อน
โดยจากการสอบถามไปยังผู้บริหารของ STEC เกี่ยวกับปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการดังกล่าว ผู้บริหาร STEC ได้มีการประเมินความเสียหายว่า STEC อาจจะต้องมีการบันทึกผลขาดทุนจากก่อสร้างล่าช้าประมาณ 1,000 ล้านบาทซึ่งในช่วงไตรมาส 2/58 ทาง STEC ได้มีการตั้งสำรองผลขาดทุนของโครงการดังกล่าวบางส่วนแล้ว จำนวน 579 ล้านบาท และอาจจะต้องการตั้งสำรองผลขาดทุนที่เหลืออีกในผลประกอบการงวดครึ่งปีหลังของปี 2558
อย่างไรก็ตาม หาก STEC ต้องมีการตั้งสำรองผลขาดทุนจากโครงการดังกล่าวเต็มจำนวน 1,000 ล้านบาท ก็อาจจะส่งผลทำให้ผลประกอบการในปี 2558 นี้ STEC มีโอกาสที่จะมีกำไรสุทธิลดลงเหลือเพียง 241 ล้านบาท จากการคาดการณ์ของฝ่ายวิเคราะห์ที่ประเมินกำไรสุทธิในปี 2558 ไว้ที่ 1,256 ล้านบาท  
“ทาง STEC อยู่ระหว่างดำเนินการเรียกร้องขอค่าชดเชยความเสียหายในโครงการดังกล่าวกับทางภาครัฐอยู่ ซึ่งในกรณีที่แย่ที่สุดฝ่ายวิเคราะห์ประเมินว่าหาก STEC ไม่สามารถเรียกร้องจากทางภาครัฐได้ ก็จะต้องบันทึกผลขาดทุนภายในปีนี้ ซึ่งจะทำให้มีกำไรสุทธิเหลือเพียงจำนวน 241 ล้านบาท จากที่คาดการณ์ว่าจะมีกำไรสุทธิจำนวน 1,256 ล้านบาท จะมีผลกระทบกำไรต่อหุ้นปีนี้ลดลงจาก 0.81 บาท เป็น 0.16 บาท” นักวิเคราะห์ฯ กล่าว  
ทั้งนี้ ฝ่ายวิเคราะห์ฯ ได้ปรับลดราคาเป้าหมายของ STEC ลงมาอยู่ที่ 23.80 บาท จากเดิมให้ไว้ที่ 25 บาท และแนะนำลงทุนแค่ “เก็งกำไร” เนื่องจาก STEC ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ ผลขาดทุนของโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ หากบริษัทบันทึกผลขาดทุนเข้ามาในปี 2558 ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อประมาณการ และราคาเหมาะสม แต่ในระยะถัดไป   STEC มีประเด็นบวกจากการรับงานโรงไฟฟ้าที่ต่อเนื่อง รวมถึงโอกาสรับงานจากการเข้าประมูลโครงการของภาครัฐในอนาคต
ขณะที่ฝ่ายวิเคราะห์คาดว่าในระยะใกล้ ขั้นตอนการประกวดราคางานของภาครัฐที่เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ คลอง19-แก่งคอย มูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งเตรียมเปิดซองประมูลในวันที่ 5 พ.ย.นี้  โดย STEC เป็นหนึ่งในผู้รับเหมาก่อสร้างที่เข้าร่วมประมูล
นอกจากนี้คาดว่าโครงการรถไฟทางคู่ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น มูลค่า 26,000 ล้านบาท มีโอกาสที่จะเปิดประมูลได้ทันภายในปี 2558 นี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประมูล ขณะเดียวกันคาดว่าในปี 2559 จะเห็นการเร่งการประมูลโครงการอื่นจากทางภาครัฐเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้า จำนวน 3 สาย ได้แก่ สีส้ม สีชมพู และสีเหลือง รวมถึงรถไฟทางคู่อีก 4 สาย และโครงการมอเตอร์เวย์ 3 สาย ซึ่งมีมูลค่างานในเบื้องต้นที่รอประมูลประมาณ 3 แสนล้านบาท ซึ่งทาง STEC คาดหวังความสำเร็จจากงานประมูลประมาณ 25-30%
โดยปัจจุบัน STEC มีมูลค่างานในมือจำนวน  53,000 ล้านบาท หลังจากที่บริษัทได้เซ็นสัญญารับงานก่อสร้างอาคารสำนักงบประมาณมูลค่า 1,500 ล้านบาท ขณะเดียวกันภายในสิ้นปี 2558 บริษัทมีงานที่อยู่ระหว่างรอเซ็นสัญญามูลค่า 6,500 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นงานในส่วนของการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจำนวน 4,200 ล้านบาท มาจากงานต่อเนื่องของโรงไฟฟ้าที่เคยได้รับมาก่อนหน้านี้ โดยจะทำให้งานที่ได้รับนับจากต้นปีอยู่ที่ประมาณ 13,000 ล้านบาท และจะทำให้สิ้นปีมีงานจำนวน 60,000 ล้านบาท

STECจ๊าก!วิเคราะห์มั่ว คว้างานกทม.4,500ล้าน

STECจ๊าก!วิเคราะห์มั่ว
คว้างานกทม.4,500ล้าน

2015-10-01 12:00:00
ผู้เข้าชม : 2

เอ็มดี STEC ร้องจ๊าก!  ข่าวมั่ววิเคราะห์ตั้งสำรองขาดทุนพันล้านรัฐสภาแห่งใหม่สร้างล่าช้า ลั่นบันทึกความเสียหายไปหมดแล้วในไตรมาส 2/58 ยันไม่มีตั้งสำรองเพิ่มในงบครึ่งปีหลัง ล่าสุดคว้างานอุโมงค์ระบายน้ำของกทม.มูลค่า 4,500 ล้าน

นายภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC เปิดเผยกับ “ข่าวหุ้นธุรกิจ” ว่า กรณีโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ มูลค่า 12,000 ล้านบาท  ซึ่ง STEC เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ประสบปัญหาก่อสร้างล่าช้านั้น จนมีข่าวและนักวิเคราะห์คาดการณ์ออกมาว่า บริษัทต้องมีการบันทึกขาดทุน 1,000 ล้านบาท และทำให้กำไรสุทธิของบริษัทลดลงอย่างมากนั้น
บริษัทขอเรียนว่าในช่วงไตรมาส 2/58 ที่ผ่านมาบริษัทได้ดำเนินการตั้งสำรองขาดทุนล่วงหน้าในโครงการดังกล่าวทั้งหมดแล้ว จำนวน 579 ล้านบาท และจะไม่มีการตั้งสำรองขาดทุนจากโครงการดังกล่าวในผลประกอบการงวดไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปีนี้ ยกเว้นหากมีอะไรที่นอกเหนือจากที่คาดการณ์เข้ามาอีก แต่เบื้องต้นจะไม่มีการบันทึกขาดทุนอะไรเพิ่มเติมอีกจากโครงการดังกล่าว
ขณะเดียวกันบริษัทได้มีการดำเนินการในการยื่นหนังสือเรียกร้องขอค่าชดเชยความเสียหายในโครงการดังกล่าวกับทางภาครัฐไปแล้ว ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ และอาจจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรกว่าที่ภาครัฐจะมีการจ่ายเงินค่าชดเชยให้กับทางบริษัท ดังนั้น เบื้องต้นบริษัทจึงได้มีการตั้งสำรองขาดทุนไปก่อนในช่วงไตรมาส 2/58 ที่ผ่านมา
ดังนั้นบริษัทขอให้ความมั่นใจกับผู้ถือหุ้น และนักลงทุนว่า ผลประกอบการของบริษัทในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 นี้จะไม่ออกมาเลวร้ายอย่างหลายฝ่ายคาดการณ์ เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่เพียงโครงการเดียว แต่บริษัทยังมีหลายโครงการที่ดำเนินการได้ปกติ และมีการรับรู้รายได้และกำไรเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็สามารถชดเชยกับความเสียหายโครงการดังกล่าวได้ เพราะขณะที่ในช่วงไตรมาส 2/58 มีการบันทึกตั้งสำรองขาดทุน บริษัทยังมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 325.75 ล้านบาท และครึ่งปีแรกของปี 2558 ก็ยังมีกำไรสุทธิรวมอยู่ที่ 645.71 ล้านบาท
นายภาคภูมิ กล่าวต่อว่า วานนี้ (30 ก.ย.) บริษัทเพิ่งได้รับงานใหม่เข้ามา โดยได้ลงนามในสัญญาจ้างโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มูลค่าโครงการ 4,500 ล้านบาท กับทางกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะเวลาก่อสร้าง 1,400 วัน โดยจะเริ่มรับรู้รายได้เข้ามาในช่วงปี 2559 หลังจากก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 58 ที่ผ่านมา บริษัทได้ลงนามสัญญาจ้างโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ของสำนักงบประมาณ มูลค่าโครงการ 1,617 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานสูง 30 ชั้น และชั้นใต้ดิน 3 ชั้น ระยะเวลาก่อสร้าง  900 วัน
ทั้งนี้ จากการได้งานใหม่เข้ามาจะทำให้บริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) อยู่ที่ประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในช่วง 3 ปี (2558-2560) และในช่วงครึ่งปีหลังบริษัทยังมีรอเซ็นสัญญางานก่อสร้างของเอกชนอีกประมาณ 4,000-5,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีลุ้นที่จะได้รับงานก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ 2 สายที่จะเปิดประมูลในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ คลอง 19-แก่งคอย มูลค่าประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งวานนี้ (30 ก.ย. 58) บริษัทได้เดินทางไปร่วมยื่นซองประมูลไปแล้ว และเปิดซองประมูลในวันที่ 5 พ.ย.นี้  และโครงการรถไฟทางคู่ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น มูลค่า 26,000 ล้านบาท รวมถึงโครงการต่างๆ ของภาครัฐที่จะทยอยเปิดประมูลออกมาเรื่อยๆ ในอนาคต ซึ่งบริษัทก็มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลทุกโครงการอย่างแน่นอน

MTLSรายได้โตกระฉูด70%

MTLSรายได้โตกระฉูด70%

2015-10-01 
เมืองไทย ลิสซิ่ง หรือ MTLS โชว์กำไรไตรมาส 3 นิวไฮ รายได้โตกว่า 70% จากปีก่อน ยอดปล่อยสินเชื่อรถยนต์ จักรยานยนต์ทะลัก โบรกฯ คาดกำไรสุทธิ Q3 มากกว่า 200 ล้านบาท แนะนำซื้อเป้าหมาย 23.70 บาท

นายชูชาติ เพ็ชรอำไพ ประธานกรรม การบริหาร บมจ.เมืองไทย ลิสซิ่ง หรือ MTLS เผยว่า ผลประกอบการของบริษัทในไตรมาสที่ 3 จะออกมาดีเกินคาด โดยเฉพาะรายได้จะเติบโตมากกว่า 70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และโตกว่า 50% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2
“ผลประกอบการของเราทำนิวไฮมาโดยตลอด หลังจากที่บริษัทขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดปล่อยสินเชื่อเติบโตมากกว่าเป้าที่วางไว้” นายชูชาติ กล่าว
นายชูชาติ กล่าวอีกว่า ยอดปล่อยสินเชื่อในปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 1.85 หมื่นล้านบาท ขณะที่ปีหน้าตั้งไว้ 2.8 หมื่นล้านบาท กำไรปีนี้คาดว่าจะโตมากกว่า 55% ขณะที่ตัวเลขเอ็นพีแอลของบริษัทอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 1.1-1.2%
สำหรับสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อปัจจุบันเป็นสินเชื่อรถยนต์ประมาณ 30% สินเชื่อรถจักรยานยนต์ 60% และที่เหลือเป็นนาโนไฟแนนซ์และสินเชื่อที่ดินกว่า 10% โดยเฉพาะสินเชื่อรถจักรยานยนต์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ด้านการขยายสาขาของ MTLS ปีนี้จะมีทั้งสิ้น 900 สาขา และในปีหน้าตั้งเป้าที่เปิดใหม่อีก 430 สาขา รวมเป็น 1,330 สาขา ซึ่งจะส่งผลต่อกำไรของบริษัทไปจนถึงปี 2560 ซึ่งคาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 50%
นักวิเคราะห์ คาดว่า ผลประกอบการของ MTLS ในไตรมาสที่ 3 จะอยู่ที่ประมาณกว่า 200 ล้านบาท และกำไรสุทธิปีนี้กำไรกว่า 800 ล้านบาท  ซึ่งจะส่งผลให้พี/อีของบริษัทลดลงจากปัจจุบัน 50 เท่า เหลือ 35-37 เท่าในปีหน้า
บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒน แนะนำ "ซื้อ" เมืองไทย ลิสซิ่ง  ราคาเป้าหมาย 23.70 บาทต่อหุ้น พร้อมปรับคาดการณ์กำไรสุทธิ MTLS ขึ้น เนื่องจากการเติบโตของสาขาที่ดีกว่าคาดทำให้ด้านรายได้เพิ่มขึ้นกว่าคาดการณ์เดิม และ NPL ที่ต่ำกว่าคาดทำให้การตั้งสำรองต่ำกว่าคาด การเติบโตของยอดลูกหนี้คงค้างที่โดดเด่นช่วง FY15-17F ถึง 35% (MTLS มีหนี้เสียต่ำ และคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อแข็งแกร่ง) คาดกำไรสุทธิโต FY15-17F 41% CAGR
คุณภาพพอร์ตสินเชื่อยังแข็งแกร่ง แม้สินเชื่อจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด MTLS ยังคงจุดเด่นด้านการบริหารลูกหนี้ ด้วยความรัดกุมในการปล่อยสินเชื่อ ประกอบกับประสบการณ์ที่มีมายาวนานในธุรกิจนี้ทำให้การบริหารและติดตามหนี้ของบริษัทมีคุณภาพ สะท้อนจาก NPL ratio ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากใน 4Q14 ที่ 1.5% ลดลงมาเหลือเพียง 1.1% ใน 2Q15 และการมี Coverage ratio ยังอยู่ในระดับสูงมากที่ 286% ณ สิ้นไตรมาส 2 ซึ่งถือเป็นระดับที่ปลอดภัยมาก สูงกว่ากลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ที่ Coverage ratio จะอยู่ราว 130-140%

TRUEล้างขาดทุนฯเหี้ยน ลุ้นปีนี้จ่ายปันผลครั้งแรก :JAS-DTAC-ADVANC-ทรูลุยประมูลคลื่น 1800

TRUEล้างขาดทุนฯเหี้ยน ลุ้นปีนี้จ่ายปันผลครั้งแรก :JAS-DTAC-ADVANC-ทรูลุยประมูลคลื่น 1800

2015-10-01 
วันนี้ TRUE เริ่มเทรดพาร์ใหม่ 4 บาท ตัวเบาล้างขาดทุนสะสมเกลี้ยง จับตาปีนี้เริ่มจ่ายปันผล งบไตรมาส 3 มีกำไรต่อเนื่อง ฟาก 4 เอกชน “JAS-DTAC-ADVANC-TRUE” ตบเท้าเข้ายื่นซองประมูลคลื่น 1800 MHz           
จากกรณีบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE ได้ประกาศการลดทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว ดังนั้น ตั้งแต่งวดวันนี้ (1 ต.ค. 2558) เป็นต้นไป ทางบริษัทจะเริ่มใช้มูลค่าที่ตราไว้ใหม่ (พาร์) เป็นที่ระดับ 4 บาท จากเดิมใช้พาร์อยู่ในระดับ 10 บาท
โดยในช่วงวันที่ 25 ก.ย. 2558 ทางTRUE ได้ดำเนินการจดทะเบียนลดทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นที่เรียบร้อย จึงส่งผลให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วจำนวน 98,431,712,600 บาท จากเดิม 246,079,281,500 บาท ภายใต้พาร์ 4 บาท
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา ทาง TRUE ได้กำหนดแนวทางล้างขาดทุนสะสมเพื่อให้บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้ เมื่อมีกำไรสุทธิและกระแสเงินสดเพียงพอ จึงมีมติด้วยการโอนทุนสำรองตามกฎหมายจำนวน 34,880,969 บาท และจำนวนสุทธิของส่วนเกินมูลค่าหุ้นและส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นของบริษัท จำนวน 110,563,603,494 บาท รวมทั้งทำการลดมูลค่าพาร์ที่ตราไว้จากหุ้นละ 10 บาท เป็นหุ้นละ 4 บาท
ดังนั้น จะส่งผลให้ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วของบริษัท ลดลงจาก 246,079,281,500 บาท เป็น 98,431,712,600 บาท เพื่อชดเชยผลขาดทุนสะสมของบริษัท ณ สิ้นปี 2557 ที่มีอยู่จำนวน 37,152,258,078 บาท และหลังจากบริษัทโอนทุนสำรองตามกฎหมาย และจำนวนสุทธิของส่วนเกินมูลค่าหุ้นและส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้นของบริษัท
อีกทั้งทำการลดพาร์เป็นหุ้นละ 4 บาทแล้ว ส่งผลให้คงเหลือผลขาดทุนสะสมอีกเล็กน้อย จำนวน 33,411,703 บาท  อย่างไรก็ตาม การลดทุนครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อมูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้น เนื่องจากเป็นเพียงการหักลบตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น โดยภายหลังการล้างขาดทุนสะสม ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 98,398,300,897 บาท
ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด ประเมินว่า งวดไตรมาส 3/58 ของ TRUE จะมีกำไรสุทธิ 69 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนที่ขาดทุน 2,642 ล้านบาท แต่จะปรับลดลงจากงวดไตรมาส 2/58 ที่มีกำไรสุทธิ 1,302 ล้านบาท
สำหรับผลการดำเนินงานสุทธิที่รวมรายการพิเศษของ TRUE ในไตรมาส 3/58 อาจจะถูกกดดันจากปัจจัยได้แก่ 1.การสั่งซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศในขณะที่เงินบาทอ่อนค่า ซึ่งคาดทำให้เกิดขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสูงราว 600-700 ล้านบาท แต่มีโอกาสที่ TRUE ไม่ต้องบันทึกรายการนี้ เพราะได้ป้องกันความเสี่ยงไว้เต็มจำนวนแล้ว
2.ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ในไตรมาสก่อนมียอดเป็นบวก 519 ล้านบาท จากการใช้ประโยชน์จากภาษีเงินได้รอตัดบัญชี แต่ในไตรมาส 3/58 อาจต้องบันทึกเป็นยอดติดลบ ซึ่งหากรวมทั้ง 2 รายการ จึงคาดจะทำให้มีกำไรสุทธิในไตรมาส 3/58 เพียง 69 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากกำไรงวดไตรมาส 3/58 เป็นไปตามคาดการณ์ จะทำให้กำไรสุทธิในช่วง 9 เดือนแรกปี 2558 จะอยู่ที่ 3 พันล้านบาท มีสัดส่วนเพียง 59% ของประมาณการทั้งปี 2558 ของฝ่ายวิเคราะห์ ทำให้มีโอกาสที่จะต้องปรับลดประมาณการกำไรของบริษัทในปี 2558-2559 หลังประกาศผลประกอบการงวดไตรมาส 3/58 ในช่วงกลางเดือนพ.ย. 2558
โดยแม้มีปัจจัยบวกหลังบริษัทลดทุนด้วยการลดพาร์จาก 10 บาท เหลือ 4 บาท เพื่อล้างขาดทุนสะสม ซึ่งไม่กระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เพราะจำนวนหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่จะทำให้สามารถจ่ายปันผลได้ โดยคาดจะจ่ายได้ครั้งแรกสำหรับงวดผลประกอบการปี 2558
ส่วนงวดไตรมาส 4/58 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น เพราะจะได้แรงหนุนจากผลของฤดูกาลที่ช่วงปลายปี ซึ่งผู้บริโภคมักมีการใช้งานโทรศัพท์มือถือสูง บวกกับคาดจะมีการนำมือถือรุ่นใหม่อย่างไอโฟน 6S โดยจะช่วยผลักดันมาร์จิ้นของการขายเครื่องมือถือโดยรวมให้สูงขึ้น
* 4 เอกชนยื่นซองประมูลคลื่น 1800
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2558 ที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช. เปิดให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.
โดยช่วงเช้ามีผู้มายื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz จำนวน 3 ราย ซึ่งในเวลา 08.30 น. นายสมบัติ พันศิริพัฒน์ กรรมการ บริษัท แจสโมบาย บรอดแบนด์ จำกัด บริษัทในเครือ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS เป็นตัวแทนเข้ายื่นใบคำขอรับอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เป็นรายแรก
ขณะที่เวลา 08.48 น. นายรัฐฉัตร ศิริพานิช ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานรัฐกิจสัมพันธ์ พร้อมด้วยนายรวีพันธ์ พิทักษ์ชาติวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานกฎหมาย บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC เป็นตัวแทนบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด บริษัทในเครือ DTAC เข้ายื่นเอกสารคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เป็นรายที่ 2
ส่วนเวลา 10.30 น. นายสุทธิชัย ชื่นชูศิลป์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนา บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัทในเครือ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC เป็นตัวแทนเข้ายื่นเอกสารคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เป็นรายที่ 3 
สำหรับในช่วงบ่ายมีผู้มายื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน1800 MHz จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ ผู้อำนวยการบริหาร ด้านรัฐกิจสัมพันธ์ TRUE เป็นตัวแทน บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด บริษัทในเครือ TRUE เข้ายื่นเอกสารคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz เป็นรายสุดท้าย ในเวลา 16.04 น.   
สำหรับขั้นตอนในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz มี 3 ขั้นตอน เริ่มจากการลงทะเบียนและลงเวลา จากนั้นยื่นเอกสาร ได้แก่ แบบคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่กรอกข้อมูลครบถ้วน พร้อมเอกสารประกอบพร้อมสำเนาเอกสาร 2 ชุดและเอกสารที่บันทึกลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมค่าพิจารณาคำขอรวมภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 535,000 บาท และวางหลักประกันการประมูลเป็นเช็คเงินสดจำนวน 796 ล้านบาท กับสำนักงาน กสทช. และขั้นตอนสุดท้ายจะเป็นการตรวจเอกสารเบื้องต้น
ส่วนราคาเริ่มต้นประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz นั้น เนื่องจากมีผู้มายื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz มากกว่าจำนวนใบอนุญาตที่เปิดประมูลจำนวน 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15 MHz ดังนั้นราคาเริ่มต้นประมูลอยู่ที่ 15,912 ล้านบาทต่อใบอนุญาต คิดเป็น 80% ของมูลค่าคลื่นความถี่ และเคาะราคาเพิ่มครั้งละ 5% คิดเป็น 796 ล้านบาท ทำให้เคาะเพิ่มครั้งแรกราคาจะอยู่ที่ 16,708 ล้านบาท เมื่อเคาะราคาครั้งที่ 5 จะทำให้ราคาประมูลขึ้นไปเท่ากับ 100% ของมูลค่าคลื่นความถี่ และตั้งแต่ครั้งที่ 6 เป็นต้นไป เคาะราคาเพิ่มครั้งละ 2.5% คิดเป็น 398 ล้านบาท  
ขณะเดียวกัน มองว่าการแข่งขันในครั้งนี้จะดุเดือด เนื่องจากมีผู้ร่วมประมูล 4 ราย แต่มีเพียง 2 ใบอนุญาต และส่งผลให้มีรายได้เข้ารัฐถึง 40,000 ล้านบาท รวมทั้งคาดว่าโดยรวมภายใน 2 ปีข้างหน้าจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ขั้นตอนต่อจากนี้จะเป็นขั้นตอนการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตฯ แล้วจึงนำเสนอ กทค.พิจารณา โดยจะสามารถประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติที่มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสารคำขอครบถ้วน หรือหลังจากวันที่ 16 ต.ค. 2558 และจะแจ้งผลการพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตทราบ ซึ่งผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตสามารถอุทธรณ์ผลการพิจารณาได้ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณา
โดยจากนั้นจะนำสื่อมวลชนเข้าชมสถานที่จัดการประมูล ที่อาคารอำนวยการชั้น 3 สำนักงาน กสทช.ในวันที่ 3 พ.ย. 2558 และจะมีการชี้แจงรายละเอียดและจัดการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) สำหรับผู้เข้าร่วมการประมูลในช่วงวันที่ 5-6 พ.ย. 2558 และจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ในวันที่ 11 พ.ย. 2558 คาดว่าจะสามารถประกาศผลผู้ชนะการประมูลได้ภายใน 7 วัน หลังจากการประมูลสิ้นสุด
นายฐากร กล่าวว่า กรณีของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ TOT ที่ไม่เห็นด้วยในการนำคลื่น 900 MHz มาประมูลหลังจากอายุสัญญาสัมปทานคลื่น 900 MHz ระหว่าง ADVANC และ TOT ที่หมดลงเมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2558 ที่ผ่านมานั้น ขอยืนยันว่าหากศาลยังไม่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ทาง กสทช.ยังคงดำเนินการตามกรอบการประมูลที่วางไว้ ส่วนผู้ที่ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G บนคลื่น 900 MHz ที่มีอยู่ 2.4 ล้านเลขหมาย ยังคงใช้งานได้ต่อไป จนกว่าจะมีการออกใบอนุญาตคลื่น 900 MHz แล้วเสร็จ
ส่วนนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่ ADVANC กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2558 ที่ผ่านมา บริษัทได้รับหนังสือแจ้งขอให้ชำระผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมจากการแก้ไขข้อตกลงแนบท้ายสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างบริษัท กับ TOT ครั้งที่ 6 ปี 2544 เรื่องการปรับลดส่วนแบ่งรายได้ระบบเติมเงิน และครั้งที่ 7 ในปี 2545 เรื่องการหักค่าใช้จ่ายในการโรมมิ่ง รวมเป็นมูลค่าประมาณ 70,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าการแก้ไขสัญญานั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นในวันเดียวกันบริษัทได้ทำหนังสือโต้แย้งไปยัง TOT และได้ดำเนินการนำข้อพิพาทดังกล่าวเข้าสู้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ เป็นหมายเลขคดีดำเลขที่ 78/2558
ทั้งนี้ บริษัทขอยืนยันว่าการแก้ไขสัญญาดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้อง สุจริต และด้วยความยินยอมร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย รวมทั้งการแก้ไขสัญญาดังกล่าวมีผลผูกพันคู่สัญญามาตลอด โดยมิได้มีการขอยกเลิกหรือเพิกถอนการแก้ไขสัญญาดังกล่าวจาก TOT จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาในวันที่ 30 ก.ย. 2558 ดังนั้นบริษัทจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มเติมตามที่ TOT เรียกร้องแต่อย่างใด
* JAS พร้อมร่วมประมูล 4G
นายสมบัติ พันศิริพัฒน์ กรรมการ บริษัทแจส โมบายบรอดแบนด์ จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เข้ายื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ซึ่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดให้ผู้สนใจเข้ายื่นคำขอในวันวานนี้ตั้งแต่เวลา 08.30–16.30 น.
ดังนั้น ถือเป็นฤกษ์ดีของแจสโมบายบรอดแบนด์ ที่ได้เข้ายื่นเอกสารเป็นรายแรก ซึ่งบริษัทได้เตรียมเอกสารทั้งหมด พร้อมหลักประกันการประมูลมูลค่า 796 ล้านบาท และค่าพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตอีก 5 แสนบาท นอกจากนี้ แจสโมบายบรอดแบนด์ยังยืนยันความตั้งใจและความพร้อมที่จะเข้ามาในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่
โดยเมื่อมีผู้ให้บริการรายใหม่เข้ามาคงจะทำให้ตลาดคึกคักมากขึ้น และผลดีก็จะตกอยู่ที่ผู้ใช้บริการ ซึ่งหลังจากวันที่ 30 กันยายน 2558 กสทช.จะมีการตรวจสอบคุณสมบัติประมาณ 15 วัน แล้วจะประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านคุณสมบัติ และเข้าสู่กระบวนการทดลองการประมูลในช่วงวันที่ 5-6 พ.ย. 2558 ก่อนจะมีการประมูลจริงในวันที่ 11 พ.ย. 2558

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558

คอยโกโดต์ การประมูลรถเมล์ NGV ของ ขสมก.

คอยโกโดต์

2015-09-29 
พลวัตปี 2015: วิษณุ โชลิตกุล
ในที่สุด การประมูลรถเมล์ NGV ของ ขสมก. จำนวน 489 คัน ก็ทำท่าจะล้มประมูล ด้วยฝีมือของ “ไอ้โม่ง” บางคน ภายใต้กระบวนการสมรู้ร่วมคิดโดยอ้างถึงอะไรก็ไม่รู้ต่อหน้าต่อตาของรัฐบาล
ที่จริงแล้ว โครงการนี้ถือเป็นหนึ่งในโครงการที่รัฐบาลประยุทธ์ ต้องการพิสูจน์ว่าจะคืนความสุขให้ประชาชนหลังการรัฐประหาร คือการเปิดประมูลรถเมล์ NGV ของ ขสมก. 2 ล็อต ล็อตแรก 489 คัน ล็อตหลัง 3 พันคัน
การประมูล ล็อตแรก จัดให้มีการประมูลขึ้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีนี้ ด้วยระบบอี-อ็อกชั่น โดยคาดว่าจะมีการส่งมอบรถยนต์ทั้งหมด ภายใน 90 วัน หลังจากการทำสัญญา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ตัวรถยนต์ประจำทาง และอีกส่วนหนึ่งคือสัญญาซ่อมบำรุงระยะเวลา 10 ปี
หากไม่มีอะไรเป็นพิเศษ การประมูลน่าจะราบรื่น และทำให้รัฐบาลคุยอวดได้ว่า นี่คือการประมูลที่โปร่งใส แตกต่างจากรัฐบาลก่อนที่ขี้โกง (ตามที่ชอบอ้าง)
ผลการประมูล ซึ่งมีผู้แข่งขัน 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็นบริษัทไทย(แท้) และอีกกลุ่มหนึ่งเป็นบริษัทไทย (เทียม) ที่มีนักเซ็งลี้เชื้อสายจีนอยู่เบื้องหลัง               
กลุ่มแรกเปิดเผยตัวชัดเจนว่า กลุ่มกิจการร่วมค้า JVCC (บริษัท ช.ทวี ดอลลาเซียน จำกัด (มหาชน) หรือ CHO ถือหุ้น 50% และบริษัท ช.ทวีขอนแก่น จำกัด บริษัทย่อยของ CHO ถือหุ้น 50%) โดยมี CHO ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯเป็นแกนหลัก
กลุ่มหลังชื่อ เบสท์รินกรุ๊ป ซึ่งไม่มีใครทราบที่มาที่ไป
ผลการประมูล ปรากฏว่า กลุ่มแรกชนะเสนอราคาต่ำสุด ทั้ง 2 ส่วน ซึ่งตามขั้นตอนต่อไปก็ต้องทำตามกติกาที่กำหนดไว้ใน TOR คือ เรียกผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดไปเจรจาต่อรอง
ระหว่างนั้น ก็ปรากฏว่า กลุ่มหลังโวยวายขึ้นมาว่า เหตุใดจึงไม่เรียกฝ่ายของตนไปเจรจาด้วย ไม่โวยวายเปล่า แต่ดำเนินการฟ้องร้อง คณะกรรมการประมูล และคณะกรรมการของ ขสมก. เป็นจำเลย ต่อ 3 หน่วยงาน คือ  ศาลอาญา ศาลปกครอง และ กวพ.อ. (คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ และคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์)
เนื้อหาของคำกล่าวอ้างของกลุ่มที่แพ้การประมูลดังกล่าว ว่ากันตามลายลักษณ์อักษรคือ กลุ่มของตนที่แพ้เพราะไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่โดยพฤตินัยคือ ขัดขวางไม่ให้มีการลงนามในสัญญาเพื่อให้การประมูลบรรลุผล
ผลจากการฟ้องร้องดังกล่าว ทำให้การลงนามเพื่อทำสัญญา และส่งมอบรถของ ขสมก. ล่าช้ามาจนถึงปัจจุบัน โดยตัวแทนของ ขสมก.ก็อ้างโน่นอ้างนี่ เพื่อหาเหตุไม่ยอมลงนาม ทั้งที่รู้ดีว่ายิ่งล่าช้าเท่าใดจะยิ่งเสียเวลา และทำให้ประชาชนเสียโอกาสเพราะ รถเมล์ ขสมก.ที่มีอยู่เดิมคร่ำคร่าเต็มที
ต่อมา ศาลอาญา และศาลปกครอง พิจารณาคำฟ้องของเบสท์รินกรุ๊ปแล้ว ก็มีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง เหลืออยู่เพียงแค่ กวพ.อ. ที่ไม่ยอมวินิจฉัยเสียทีว่า การประมูลดังกล่าวถูกต้องหรือบกพร่องอย่างไร 
ตามที่ปรากฏเป็นข่าว กวพ.อ. ซึ่งมีสถานที่ทำงานอยู่ที่ สำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง (โทร. 0 2273 9024 ต่อ 4432 ) รับเรื่องอุทธรณ์จากเบสท์รินกรุ๊ป ในวันที่ 13 สิงหาคม โดย อนุกรรมการ กวพ.อ.จะพิจารณาในเบื้องต้นก่อน และคณะกรรมการ กวพ.อ.จะประชุมในวันที่ 26 ส.ค. แต่ มีคำแนะนำมายัง ขสมก.ว่า กรณีมีการร้องเรียนควรชะลอการลงนามออกไปก่อน ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ ยังไม่มีข่าวจาก กวพ.อ. ทั้งที่เคยมีการระบุว่า “กวพ.อ.จะเร่งการพิจารณาให้เร็วที่สุด”
ความเงียบของ กวพ.อ. เป็นที่มาของการ “คอยโกโดต์” ซึ่งเปรียบได้กับการปล่อยให้เวลาล่วงไปไม่มีกำหนดโดยเจตนา
แล้วล่าสุด รมช.คมนาคม นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ก็ออกมาเรียกร้อง กวพ.อ.ระบุให้ชัดเจนควรจะบอกว่า จะให้ยกเลิก หรือจะให้เดินหน้าก็บอกมา หลังจากก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน นายออมสิน บอกว่า การประมูลรถ 489 คันล่าช้ามาก ไม่มีความชัดเจน ดังนั้น ก็จะดำเนินการจัดหาส่วนที่เหลือเกือบ 3 พันคันให้เร็วขึ้น โดยปรับให้เป็นรถเมล์ไฟฟ้าแทน
ในขณะที่ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ประธาน ขสมก. ล่าสุด ก็อ้อมแอ้มบอกเพียงแค่ว่า ขสมก.ทำดีที่สุดแล้ว แจงข้อเท็จจริงทั้งหมดของการประมูลแล้ว ราคาก็ไม่ได้แพง นายกรัฐมนตรีก็เร่งตลอด แต่ก็ยังไม่ชัดเจน ไม่รู้จะทำอะไรแล้ว
ความไม่ชัดเจน คือความไม่แน่นอน ซึ่งถือว่าเลวร้ายกว่าความเสี่ยง ซึ่งยิ่งปล่อยเวลาให้เนิ่นช้ายาวนาน ยิ่งจะทำให้ความเสียหายยากจะประเมินได้
หากดูจากรูปการณ์ด้วยสามัญสำนึกปกติ ข้อเท็จจริงจากการยกคำฟ้องของศาลอาญา และศาลปกครอง น่าจะเพียงพอที่จะทำให้ กวพ.อ. พิจารณาได้ว่า คำอุทธรณ์ของเบสท์รินกรุ๊ป มีเหตุผลเพียงพอหรือไม่ได้แล้ว การดึงเรื่องให้ยาวออกไป ทำให้เกิดเป็นปริศนาว่า เจตนาที่แท้ของ กวพ.อ. นั้นเป็นเช่นใด ระหว่างการให้ยกเลิกการประมูล แล้วเปิดประมูลใหม่ หรือ ว่าจะให้มีข้อยุติว่าการประมูลมีความชอบธรรมเพียงพอเพื่อเดินหน้าทำสัญญากันต่อให้เสร็จกระบวนความ
หากเป็นอย่างแรก แสดงว่า กวพ.อ.เห็นรายละเอียดที่เหนือกว่าการพิจารณาของศาลอาญา และศาลปกครอง ก็จะ เข้าทางของเบสท์รินกรุ๊ป
หากเป็นอย่างหลัง แสดงว่า กวพ.อ. ยอมรับข้อวินิจฉัยของศาลอาญา และศาลปกครอง ก็จะเข้าทางของกลุ่มกิจการร่วมค้า JVCC
ไม่ว่าทางใด ต้องเลือก ถ้าไม่เลือก จากเหตุผลอะไรก็ไม่รู้ ก็ไม่ควรจะมีการประมูลไปหาสวรรค์วิมานกันต่อไป

เอเชียเวลธ์มองเฟดกดดัน

เอเชียเวลธ์มองเฟดกดดัน

2015-09-29 
สัปดาห์นี้แนะลงทุน SIRI เป้า 1.91 บาท

บล.เอเชีย เวลท์ มองปัจจัยเฟดยังคงกดดันตลาดหุ้นไทย ดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ส่วนสัปดาห์หนี้แนะน้ำหุ้น SIRI เป้าหมาย 1.91 บาท  มองผลตอบแทนเงินปันผลสูง 5.8%

นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเชีย เวลท์ จำกัด กล่าวว่า  ในสัปดาห์นี้ยังคงมีปัจจัยกดดันตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม FOMC ครั้งที่ผ่านมา  และการที่ประธานเฟดออกมาบอกว่าจะขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ ส่งผลกดดันตลาดหุ้น
อีกทั้งปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในความกังวล และความเป็นไปได้ว่ายุโรปอาจมีวิกฤติรอบใหม่ ซึ่งเป็นผลพวงจากการที่บริษัท Volkswagen ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมัน ที่ในสหรัฐฯ มียอดขายสูงที่สุด โดยค่าปรับอาจสูงถึง 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการที่ปรับแต่งรถยนต์ทดสอบให้ปล่อยก๊าซเสียน้อยกว่าจริง ซึ่งมีความเสี่ยงที่บริษัทอาจจำเป็นต้องเลิกจ้างพนักงานบางส่วน หากยอดขายใน 6 เดือนข้างหน้าตกลง จากกรณีดังกล่าวจะกระทบกับเศรษฐกิจในยุโรปอย่างหนักจากการเป็นผู้ว่าจ้างแรงงานที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
นอกจากนี้ ในสัปดาห์นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจเดือนสิงหาคมออกมา ซึ่งคาดว่าจะไม่ดีนัก และจะมีรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ออกมา
ซึ่งที่ผ่านมา ธปท.ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 2.7% และปรับ GDP ของปี 2559 ที่ 3.7% โดยมีมุมมองว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะดีกว่าปีนี้จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการประมูล 4G และโครงการโครงสร้างพื้นฐานจะเริ่มเห็นผลมากขึ้นในไตรมาส 4 นี้ ดังนั้น ตลาดหุ้นจะยังคงผันผวนมอง ดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ
นายวรุตม์ กล่าวว่า Trading Idea ประจำสัปดาห์นี้ บล.เอเชีย เวลท์ แนะนำซื้อหุ้น SIRI หรือ บมจ.แสนสิริ ด้านรายได้ปีนี้ บริษัทคาดการณ์ไว้ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท ครึ่งปีแรกทำไปได้แล้ว 1.7 หมื่นล้านบาท ตอนนี้ SIRI ยังมีโครงการที่รอการโอน 3.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะมีการโอนในปีนี้ 1.6 หมื่นล้านบาท
โดยปีนี้มีโครงการใหม่อีก 10 โครงการในไตรมาส 4 โดยเน้นโครงการพื้นราบ หรือบ้าน 7 โครงการ มูลค่า 1.27 หมื่นล้านบาท และคอนโดอีก 3 โครงการ มูลค่า 8.8 พันล้านบาท ทั้งนี้ ยอดขายช่วง 9 เดือนแรกสูงถึง 20,000 ล้านบาท  และปีนี้ SIRI จะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์ใน Bloomberg consensus คาด EPS ปีนี้ติดลบเนื่องจากเกิด dilution effect สูงมากอันเนื่องมาจากการใช้สิทธิแปลง warrants  ส่วน EPS ปีหน้ากลับมาโต 10%
“ด้านราคาหุ้นไม่แพง ที่ระดับ P/E ratio อยู่ที่ 8.6 เท่า และ P/BV อยู่ที่ 0.90 เท่า ซึ่งถือว่าไม่แพง และเป็นหุ้นที่มี Dividend yield ที่ 5.8% จึงถือเป็นหุ้นปันผลดี ทั้งนี้ คาดการณ์ราคาเป้าหมาย จาก Bloomberg Consensusที่ 1.91 บาท” นายวรุตม์ กล่าว

JAS-W3แจ้งแปลงวันนี้ ก่อนใช้สิทธิจริง30ก.ย.

JAS-W3แจ้งแปลงวันนี้
ก่อนใช้สิทธิจริง30ก.ย.

2015-09-29 
JAS-W3 แจ้งใช้สิทธิแปลงสภาพวันนี้วันสุดท้าย ก่อนใช้สิทธิครั้งแรกพรุ่งนี้ ราคาใช้สิทธิ 4.30 บาท อัตรา 1:1 โบรกฯ คาดมีคนใช้สิทธิ์หมดในปีนี้ หนุน JAS รับทรัพย์ 1.5 หมื่นล้าน นำเป็นทุนประมูล 4G ประเมินกำไรปีนี้ 1.8 หมื่นล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (29 ก.ย. 2558) เป็นวันสุดท้ายที่นักลงทุนที่มีใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 3 (JAS-W3) สามารถแจ้งความจำนงในการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS หลังจากเปิดให้แจ้งความจำนงในการใช้สิทธิตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. 2558 ที่ผ่านมา
ก่อนที่จะสามารถใช้สิทธิครั้งแรกในวันพรุ่งนี้ (30 ก.ย. 2558) ในอัตราการใช้สิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ JAS-W3 จำนวน 1 หน่วย ต่อหุ้นสามัญ จำนวน 1 หุ้น ราคาการใช้สิทธิ 4.30 บาทต่อหุ้น ตามที่บริษัทได้ออกและเสนอขาย JAS-W3 จำนวน 3,428,457,991 หน่วย เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2558 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ใบสำคัญแสดงสิทธิมีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ และสามารถใช้สิทธิได้ทุกไตรมาส โดยวันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย คือวันที่ 3 ก.ค. 2563
จากนั้นบริษัทจะยื่นขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วของบริษัทต่อกระทรวงพาณิชย์ตามจำนวนหุ้นสามัญที่ออกใหม่สำหรับการใช้สิทธิในแต่ละครั้งภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทได้รับชำระค่าหุ้นตามจำนวนที่มีการใช้สิทธิแต่ละครั้ง และบริษัทจะดำเนินการให้นายทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียนผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่ได้ใช้สิทธินั้นเข้าเป็นผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัทในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นสามัญที่คำนวณได้จากการใช้สิทธิในครั้งนั้น
ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการยื่นคำขอให้รับหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออก เนื่องจากการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิฯ เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯภายใน 30 วันนับแต่วันกำหนดการใช้สิทธิ
บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด ระบุว่า ราคาใช้สิทธิในอัตรา 4.30 บาทต่อหุ้น น่าจะจูงใจให้เกิดการแปลงสภาพ JAS-W3 ทั้งหมดภายในปีนี้ ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นในกระดาน เนื่องจากมีจำนวนมากถึง 3,428,457,991 หน่วย อัตราการใช้สิทธิ 1 ต่อ 1
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หากผู้ถือหุ้นเข้ามาใช้สิทธิทั้งหมดในครั้งนี้ จะทำให้ JAS ได้เงินประมาณ 15,000 ล้านบาท ซึ่งเงินในส่วนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ JAS จะนำเป็นเงินทุนในการเข้าร่วมประมูลคลื่น 4G ในเดือนพ.ย.นี้
ขณะเดียวกัน ประเมินรายได้รวมอยู่ที่ 14,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14% จากปี 2557 ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 12,411 ล้านบาท และกำไรจากการดำเนินงานปกติในปี 2558 อยู่ที่ประมาณ 3,600 ล้านบาท ทรงตัวจากปี 2557 ที่มีกำไรจากการดำเนินงานปกติอยู่ที่ 3,618 ล้านบาท
ส่วนกำไรสุทธิปีนี้คาด 18,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3,271 ล้านบาท เนื่องจากในปีนี้มีบันทึกรายการพิเศษจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน หรือ JASIF จำนวน 15,000 ล้านบาท ซึ่งในไตรมาส 1/58 บันทึกรายการพิเศษดังกล่าวไปแล้ว 12,000 ล้านบาท และไตรมาสที่เหลือของปีนี้จะบันทึกอีกไตรมาสละ 800 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร JAS เปิดเผยว่า บริษัทพร้อมเข้าร่วมประมูล 4G เพื่อจะนำมาทำธุรกิจ Mobile Broadband 4G โดยประเมินเงินลงทุนอยู่ที่ 25,000-35,000 ล้านบาท โดยแผนการจัดหาเงินลงทุนจะมาจากการระดมทุนผ่าน JASIF ที่เหลืออีกกว่า 10,000 ล้านบาท และเงินจากพันธมิตรที่จะเข้ามาร่วมลงทุนอีก 10,000 ล้านบาท รวมถึงเงินที่ได้จากการแปลงสภาพ JAS-W3 จำนวน ประมาณ 15,000 ล้านบาท
สำหรับราคาหุ้น JAS เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2558 ที่ผ่านมา ปิดตลาดที่ 5.40 บาท ลดลง 0.15 บาท หรือคิดเป็นลดลง 2.70% มูลค่าการซื้อขาย 994.67ล้านบาท ขณะที่ราคาลูก JAS-W3 ปิดตลาดที่ 1.27 บาท ลดลง 0.06 บาท หรือคิดเป็นลดลง 4.51% มูลค่าการซื้อขาย 40.83 ล้านบาท

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

SSI เอยทำไมจึงตก ?

SSI เอยทำไมจึงตก ?

ว่ากันว่าธุรกิจ "เหล็ก" เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสุดหินที่ใครสามารถอยู่รอดได้นั่นแปลว่าคุณนั้นเจ๋งโคตรๆ เพราะเหล็กนั้นเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่งครับ และอย่างที่เรารู้กันว่าราคาโภคภัณฑ์นั้นเอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ซะด้วย บางปีอาจขึ้นไวยิ่งกว่าจรวด แต่บางปีอาจดิ่งลงราวกับก้อนหินที่กำลังจมน้ำก็ได้ และสำหรับในประเทศไทย SSI หรือบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่เจอปัญหาของความผันผวนที่ว่านี้ด้วย


ถึงแม้ SSI จะเป็นบริษัทผู้ผลิตเหล็กปลายน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศก็ตาม แต่ความใหญ่ของบริษัทก็ไม่อาจต้านทานราคาอันอ่อนไหวของเหล็กได้ หากเราไปดูงบการเงินย้อนหลังสัก 3-4 ปี บริษัทได้มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นจาก -980 ล้านบาทในปี 2554 มาอยู่ที่ -4,900 ล้านบาทในปี 2557 ยิ่งครึ่งปีแรกของปีนี้บริษัทได้ทำลายสถิติใหม่เป็นที่เรียบร้อย ด้วยตัวเลขขาดทุนที่สูงถึง -6,262 ล้านบาท



Click image for larger version

Name: 027.jpg
Views: 2
Size: 126.5 กิโลไบต์
ID: 214753




โดยสาเหตุของเรื่องราวอันน่าสะพรึงทั้งหมดนี้ เริ่มต้นในช่วงปี 2554 ที่บริษัท SSI ได้เข้าซื้อโรงถลุงเหล็กในประเทศอังกฤษ (ชื่อในปัจจุบันคือ SSI UK) เพื่อหวังจะควบคุมต้นทุนให้ต่ำลงด้วยการเข้าไปทำธุรกิจเหล็กต้นน้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าการปรับปรุงโรงงานนั้นล่าช้ากว่ากำหนด รวมถึงช่วงที่บริษัทเข้าไปลงทุนนั้นเป็นช่วง ?ยอดดอย? ของราคาเหล็กด้วย บริษัทย่อยอย่าง SSI UK จึงต้องแบกรับผลขาดทุนจากสินค้าคงเหลือมหาศาล


และนั่นนำมาสู่ข่าวอันน่าเศร้าของ SSI ครับ เพราะล่าสุดนั้นส่วนของผู้ถือหุ้นได้ ?ติดลบ? เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หุ้นจึงถูกพักการซื้อขาย (ขึ้นเครื่องหมาย SP) อย่างช่วยไม่ได้


หากถามว่าใครบ้างที่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจเพราะหุ้น SSI ? แน่นอนว่ากลุ่มแรกก็คงหนีไม่พ้นผู้ถือหุ้นตาดำๆ อย่างพวกเรานั่นล่ะครับ บางคนอาจมีทุนตั้งแต่ 0.15 บาท, 0.30 บาท, 1 บาท, หรือหากเป็นแฟนพันธุ์แท้ก็อาจมีทุนตั้งแต่ 2 บาทเลยก็ได้


Click image for larger version

Name: P022.png
Views: 2
Size: 40.1 กิโลไบต์
ID: 214754



แต่สำหรับผลกระทบกับกลุ่มที่ 2 นี่ก็หนักไม่แพ้กันครับ นั่นก็คือกลุ่มของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้หลักของบริษัท SSI มีอยู่สามเจ้าด้วยกัน เจ้าแรก ธนาคารไทยพาณิชย์ ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, เจ้าที่สอง ธนาคารกรุงไทย ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, และสุดท้าย ธนาคารทิสโก้ ยอดหนี้อยู่ที่ 4,400 ล้านบาท และเป็นไปได้สูงมากที่ทั้งสามธนาคารนี้อาจตั้งสำรองหนี้ทั้งหมดเป็นหนี้สูญ


และนั่นหมายความว่า หุ้นทั้งสามธนาคารอันได้แก่ SCB, KTB และ TISCO ราคาหุ้นอาจจะต้องลดลงอย่างช่วยไม่ได้ เนื่องจากเมื่อมีการตั้งสำรองหนี้สูญ กำไรสุทธิของธนาคารเหล่านั้นย่อมลดลงเช่นกัน


ถ้าอย่างนั้นอนาคตของ SSI จะเป็นอย่างไรต่อไป จากข่าวล่าสุดนั้นทางบริษัทได้ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แล้วว่า จะดำเนินการปรับปรุงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัทด้วยการ ?เพิ่มทุน? เป็นจำนวนกว่า 1.6 หมื่นล้านหุ้น โดยจะขายหุ้นดังกล่าวให้กับหลายๆ บริษัทด้วยกัน นอกจากนี้ยังอาจมีการพิจารณาที่จะขายบริษัทย่อย SSI UK ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเหล็กต้นน้ำที่อยู่ในอังกฤษออกไปด้วย


ในฐานะนักลงทุนคนหนึ่ง ผมมองว่าถ้าเราวิเคราะห์หุ้น SSI ด้วยงบการเงินเพียงอย่างเดียว นี่อาจไม่ใช่หุ้นที่น่าลงทุนสักเท่าไหร่นัก เพราะตอนนี้ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ติดลบกว่า 1,777 ล้านบาทแล้ว แถมมีขาดทุนสะสมกว่า 50,000 ล้านบาท (สภาพคล่องยิ่งไม่ต้องพูดถึง หนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนไปแล้ว) 


แต่ถ้าเรามองในแง่ของโอกาสที่บริษัทจะกลับมา Turnaround อีกครั้ง นี่อาจเป็นการเดิมพันที่น่าสนใจครับ หากบริษัท SSI สามารถ ?ห้ามเลือด? ด้วยการทำยังไงก็ได้ไม่ให้ขาดทุนเพิ่ม (เช่น ขายบริษัทย่อยที่ไม่ทำเงินทิ้งไป) และปรับโครงสร้างทางการเงินให้กลับมาดีอีกครั้งได้ โอกาสของการอยู่รอดมันก็คงอยู่ไม่ไกลเกินไปนัก เพราะ SSI เองก็พยายามขายสินค้าที่มี Margin ที่สูงขึ้น รวมถึงความต้องการเหล็กในภูมิภาคบ้านเราก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ดูๆ ไปแล้วมันก็คล้ายกับเกมโปกเกอร์ที่ให้เราเลือกว่าจะ Bet หรือ Fold แต่ถ้าเราเลือกที่จะเข้าไปลุยกับมัน ก็ขอให้ลุยอย่างมีสตินะครับ เหมือนอย่างที่นักลงทุนในตำนานอย่างเสี่ยยักษ์บอกไว้ ?นี่คือสงคราม แพ้ไม่ได้?

SSI เอยทำไมจึงตก ?

ว่ากันว่าธุรกิจ "เหล็ก" เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสุดหินที่ใครสามารถอยู่รอดได้นั่นแปลว่าคุณนั้นเจ๋งโคตรๆ เพราะเหล็กนั้นเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่งครับ และอย่างที่เรารู้กันว่าราคาโภคภัณฑ์นั้นเอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ซะด้วย บางปีอาจขึ้นไวยิ่งกว่าจรวด แต่บางปีอาจดิ่งลงราวกับก้อนหินที่กำลังจมน้ำก็ได้ และสำหรับในประเทศไทย SSI หรือบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่เจอปัญหาของความผันผวนที่ว่านี้ด้วย


ถึงแม้ SSI จะเป็นบริษัทผู้ผลิตเหล็กปลายน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศก็ตาม แต่ความใหญ่ของบริษัทก็ไม่อาจต้านทานราคาอันอ่อนไหวของเหล็กได้ หากเราไปดูงบการเงินย้อนหลังสัก 3-4 ปี บริษัทได้มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นจาก -980 ล้านบาทในปี 2554 มาอยู่ที่ -4,900 ล้านบาทในปี 2557 ยิ่งครึ่งปีแรกของปีนี้บริษัทได้ทำลายสถิติใหม่เป็นที่เรียบร้อย ด้วยตัวเลขขาดทุนที่สูงถึง -6,262 ล้านบาท



Click image for larger version

Name: 027.jpg
Views: 2
Size: 126.5 กิโลไบต์
ID: 214753




โดยสาเหตุของเรื่องราวอันน่าสะพรึงทั้งหมดนี้ เริ่มต้นในช่วงปี 2554 ที่บริษัท SSI ได้เข้าซื้อโรงถลุงเหล็กในประเทศอังกฤษ (ชื่อในปัจจุบันคือ SSI UK) เพื่อหวังจะควบคุมต้นทุนให้ต่ำลงด้วยการเข้าไปทำธุรกิจเหล็กต้นน้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าการปรับปรุงโรงงานนั้นล่าช้ากว่ากำหนด รวมถึงช่วงที่บริษัทเข้าไปลงทุนนั้นเป็นช่วง ?ยอดดอย? ของราคาเหล็กด้วย บริษัทย่อยอย่าง SSI UK จึงต้องแบกรับผลขาดทุนจากสินค้าคงเหลือมหาศาล


และนั่นนำมาสู่ข่าวอันน่าเศร้าของ SSI ครับ เพราะล่าสุดนั้นส่วนของผู้ถือหุ้นได้ ?ติดลบ? เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หุ้นจึงถูกพักการซื้อขาย (ขึ้นเครื่องหมาย SP) อย่างช่วยไม่ได้


หากถามว่าใครบ้างที่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจเพราะหุ้น SSI ? แน่นอนว่ากลุ่มแรกก็คงหนีไม่พ้นผู้ถือหุ้นตาดำๆ อย่างพวกเรานั่นล่ะครับ บางคนอาจมีทุนตั้งแต่ 0.15 บาท, 0.30 บาท, 1 บาท, หรือหากเป็นแฟนพันธุ์แท้ก็อาจมีทุนตั้งแต่ 2 บาทเลยก็ได้


Click image for larger version

Name: P022.png
Views: 2
Size: 40.1 กิโลไบต์
ID: 214754



แต่สำหรับผลกระทบกับกลุ่มที่ 2 นี่ก็หนักไม่แพ้กันครับ นั่นก็คือกลุ่มของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้หลักของบริษัท SSI มีอยู่สามเจ้าด้วยกัน เจ้าแรก ธนาคารไทยพาณิชย์ ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, เจ้าที่สอง ธนาคารกรุงไทย ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, และสุดท้าย ธนาคารทิสโก้ ยอดหนี้อยู่ที่ 4,400 ล้านบาท และเป็นไปได้สูงมากที่ทั้งสามธนาคารนี้อาจตั้งสำรองหนี้ทั้งหมดเป็นหนี้สูญ


และนั่นหมายความว่า หุ้นทั้งสามธนาคารอันได้แก่ SCB, KTB และ TISCO ราคาหุ้นอาจจะต้องลดลงอย่างช่วยไม่ได้ เนื่องจากเมื่อมีการตั้งสำรองหนี้สูญ กำไรสุทธิของธนาคารเหล่านั้นย่อมลดลงเช่นกัน


ถ้าอย่างนั้นอนาคตของ SSI จะเป็นอย่างไรต่อไป จากข่าวล่าสุดนั้นทางบริษัทได้ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แล้วว่า จะดำเนินการปรับปรุงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัทด้วยการ ?เพิ่มทุน? เป็นจำนวนกว่า 1.6 หมื่นล้านหุ้น โดยจะขายหุ้นดังกล่าวให้กับหลายๆ บริษัทด้วยกัน นอกจากนี้ยังอาจมีการพิจารณาที่จะขายบริษัทย่อย SSI UK ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเหล็กต้นน้ำที่อยู่ในอังกฤษออกไปด้วย


ในฐานะนักลงทุนคนหนึ่ง ผมมองว่าถ้าเราวิเคราะห์หุ้น SSI ด้วยงบการเงินเพียงอย่างเดียว นี่อาจไม่ใช่หุ้นที่น่าลงทุนสักเท่าไหร่นัก เพราะตอนนี้ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ติดลบกว่า 1,777 ล้านบาทแล้ว แถมมีขาดทุนสะสมกว่า 50,000 ล้านบาท (สภาพคล่องยิ่งไม่ต้องพูดถึง หนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนไปแล้ว) 


แต่ถ้าเรามองในแง่ของโอกาสที่บริษัทจะกลับมา Turnaround อีกครั้ง นี่อาจเป็นการเดิมพันที่น่าสนใจครับ หากบริษัท SSI สามารถ ?ห้ามเลือด? ด้วยการทำยังไงก็ได้ไม่ให้ขาดทุนเพิ่ม (เช่น ขายบริษัทย่อยที่ไม่ทำเงินทิ้งไป) และปรับโครงสร้างทางการเงินให้กลับมาดีอีกครั้งได้ โอกาสของการอยู่รอดมันก็คงอยู่ไม่ไกลเกินไปนัก เพราะ SSI เองก็พยายามขายสินค้าที่มี Margin ที่สูงขึ้น รวมถึงความต้องการเหล็กในภูมิภาคบ้านเราก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ดูๆ ไปแล้วมันก็คล้ายกับเกมโปกเกอร์ที่ให้เราเลือกว่าจะ Bet หรือ Fold แต่ถ้าเราเลือกที่จะเข้าไปลุยกับมัน ก็ขอให้ลุยอย่างมีสตินะครับ เหมือนอย่างที่นักลงทุนในตำนานอย่างเสี่ยยักษ์บอกไว้ ?นี่คือสงคราม แพ้ไม่ได้?

SSI เอยทำไมจึงตก ?

ว่ากันว่าธุรกิจ "เหล็ก" เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสุดหินที่ใครสามารถอยู่รอดได้นั่นแปลว่าคุณนั้นเจ๋งโคตรๆ เพราะเหล็กนั้นเป็นสินค้าโภคภัณฑ์อย่างหนึ่งครับ และอย่างที่เรารู้กันว่าราคาโภคภัณฑ์นั้นเอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้ซะด้วย บางปีอาจขึ้นไวยิ่งกว่าจรวด แต่บางปีอาจดิ่งลงราวกับก้อนหินที่กำลังจมน้ำก็ได้ และสำหรับในประเทศไทย SSI หรือบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่เจอปัญหาของความผันผวนที่ว่านี้ด้วย


ถึงแม้ SSI จะเป็นบริษัทผู้ผลิตเหล็กปลายน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศก็ตาม แต่ความใหญ่ของบริษัทก็ไม่อาจต้านทานราคาอันอ่อนไหวของเหล็กได้ หากเราไปดูงบการเงินย้อนหลังสัก 3-4 ปี บริษัทได้มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นจาก -980 ล้านบาทในปี 2554 มาอยู่ที่ -4,900 ล้านบาทในปี 2557 ยิ่งครึ่งปีแรกของปีนี้บริษัทได้ทำลายสถิติใหม่เป็นที่เรียบร้อย ด้วยตัวเลขขาดทุนที่สูงถึง -6,262 ล้านบาท



Click image for larger version

Name: 027.jpg
Views: 2
Size: 126.5 กิโลไบต์
ID: 214753




โดยสาเหตุของเรื่องราวอันน่าสะพรึงทั้งหมดนี้ เริ่มต้นในช่วงปี 2554 ที่บริษัท SSI ได้เข้าซื้อโรงถลุงเหล็กในประเทศอังกฤษ (ชื่อในปัจจุบันคือ SSI UK) เพื่อหวังจะควบคุมต้นทุนให้ต่ำลงด้วยการเข้าไปทำธุรกิจเหล็กต้นน้ำ แต่กลับกลายเป็นว่าการปรับปรุงโรงงานนั้นล่าช้ากว่ากำหนด รวมถึงช่วงที่บริษัทเข้าไปลงทุนนั้นเป็นช่วง ?ยอดดอย? ของราคาเหล็กด้วย บริษัทย่อยอย่าง SSI UK จึงต้องแบกรับผลขาดทุนจากสินค้าคงเหลือมหาศาล


และนั่นนำมาสู่ข่าวอันน่าเศร้าของ SSI ครับ เพราะล่าสุดนั้นส่วนของผู้ถือหุ้นได้ ?ติดลบ? เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หุ้นจึงถูกพักการซื้อขาย (ขึ้นเครื่องหมาย SP) อย่างช่วยไม่ได้


หากถามว่าใครบ้างที่ต้องเดือดเนื้อร้อนใจเพราะหุ้น SSI ? แน่นอนว่ากลุ่มแรกก็คงหนีไม่พ้นผู้ถือหุ้นตาดำๆ อย่างพวกเรานั่นล่ะครับ บางคนอาจมีทุนตั้งแต่ 0.15 บาท, 0.30 บาท, 1 บาท, หรือหากเป็นแฟนพันธุ์แท้ก็อาจมีทุนตั้งแต่ 2 บาทเลยก็ได้


Click image for larger version

Name: P022.png
Views: 2
Size: 40.1 กิโลไบต์
ID: 214754



แต่สำหรับผลกระทบกับกลุ่มที่ 2 นี่ก็หนักไม่แพ้กันครับ นั่นก็คือกลุ่มของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้หลักของบริษัท SSI มีอยู่สามเจ้าด้วยกัน เจ้าแรก ธนาคารไทยพาณิชย์ ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, เจ้าที่สอง ธนาคารกรุงไทย ยอดหนี้อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท, และสุดท้าย ธนาคารทิสโก้ ยอดหนี้อยู่ที่ 4,400 ล้านบาท และเป็นไปได้สูงมากที่ทั้งสามธนาคารนี้อาจตั้งสำรองหนี้ทั้งหมดเป็นหนี้สูญ


และนั่นหมายความว่า หุ้นทั้งสามธนาคารอันได้แก่ SCB, KTB และ TISCO ราคาหุ้นอาจจะต้องลดลงอย่างช่วยไม่ได้ เนื่องจากเมื่อมีการตั้งสำรองหนี้สูญ กำไรสุทธิของธนาคารเหล่านั้นย่อมลดลงเช่นกัน


ถ้าอย่างนั้นอนาคตของ SSI จะเป็นอย่างไรต่อไป จากข่าวล่าสุดนั้นทางบริษัทได้ชี้แจงต่อตลาดหลักทรัพย์แล้วว่า จะดำเนินการปรับปรุงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัทด้วยการ ?เพิ่มทุน? เป็นจำนวนกว่า 1.6 หมื่นล้านหุ้น โดยจะขายหุ้นดังกล่าวให้กับหลายๆ บริษัทด้วยกัน นอกจากนี้ยังอาจมีการพิจารณาที่จะขายบริษัทย่อย SSI UK ซึ่งเป็นบริษัทผลิตเหล็กต้นน้ำที่อยู่ในอังกฤษออกไปด้วย


ในฐานะนักลงทุนคนหนึ่ง ผมมองว่าถ้าเราวิเคราะห์หุ้น SSI ด้วยงบการเงินเพียงอย่างเดียว นี่อาจไม่ใช่หุ้นที่น่าลงทุนสักเท่าไหร่นัก เพราะตอนนี้ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ติดลบกว่า 1,777 ล้านบาทแล้ว แถมมีขาดทุนสะสมกว่า 50,000 ล้านบาท (สภาพคล่องยิ่งไม่ต้องพูดถึง หนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนไปแล้ว) 


แต่ถ้าเรามองในแง่ของโอกาสที่บริษัทจะกลับมา Turnaround อีกครั้ง นี่อาจเป็นการเดิมพันที่น่าสนใจครับ หากบริษัท SSI สามารถ ?ห้ามเลือด? ด้วยการทำยังไงก็ได้ไม่ให้ขาดทุนเพิ่ม (เช่น ขายบริษัทย่อยที่ไม่ทำเงินทิ้งไป) และปรับโครงสร้างทางการเงินให้กลับมาดีอีกครั้งได้ โอกาสของการอยู่รอดมันก็คงอยู่ไม่ไกลเกินไปนัก เพราะ SSI เองก็พยายามขายสินค้าที่มี Margin ที่สูงขึ้น รวมถึงความต้องการเหล็กในภูมิภาคบ้านเราก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ดูๆ ไปแล้วมันก็คล้ายกับเกมโปกเกอร์ที่ให้เราเลือกว่าจะ Bet หรือ Fold แต่ถ้าเราเลือกที่จะเข้าไปลุยกับมัน ก็ขอให้ลุยอย่างมีสตินะครับ เหมือนอย่างที่นักลงทุนในตำนานอย่างเสี่ยยักษ์บอกไว้ ?นี่คือสงคราม แพ้ไม่ได้?