วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

คลังตะลึงกำไรAOT เรียกปันผลเพิ่ม30%

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: คลังตะลึงกำไรAOT
เรียกปันผลเพิ่ม30%
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 11 คน
คลังตรวจสอบผลดำเนินงานท่าอากาศยานไทย หรือ AOT ตะลึงพบของจริง กำไรโตเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ ประเมินปันผลปี 57 เพิ่มไม่ต่ำกว่า 20-30% มั่นใจออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานแน่นอน ราคาเหมาะสม 245 บาท


แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เผยว่าสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือสคร. ได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบกำไรของ บมจ.ท่าอากาศยานไทย หรือ AOT ในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อประเมินเงินนำส่งจาก AOT เข้าคลังในงวดปี (56 ต.ค. 55 ถึง ก.ย. 56) พบว่ามีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ซึ่งสามารถนำเงินนำคลังในรูปเงินปันผลได้สูงกว่าปีก่อนหน้านี้มากกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์

โดยเงินปันผลที่จะจ่ายปันผลในงวดปีที่ผ่านมาในวันที่ 6 ก.พ.นี้สูงถึง 4.6 บาท จากกำไรที่เพิ่มขึ้นกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท เทียบกับปีก่อนหน้านี้ที่มีกำไรเพียง 6.5 พันล้านบาทเท่านั้น

ทั้งนี้หลังจากตรวจสอบแล้วพบว่ากำไรของ AOT เป็นกำไรจากการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวและเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้ แม้จะมีปัญหาทางการเมืองแต่คาดว่าจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น

ดังนั้นคลังจึงตั้งเป้าไว้ว่าปันผลในงวดการดำเนินงานปี 2557 (ต.ค. 56 ถึง ก.ย. 57) จะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอย่างน้อย 20-30% จากปีที่ผ่านมา และเชื่อว่า AOT ยังคงมีแผนที่จะออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต ซึ่งเคยหารือกันไปก่อนหน้านี้

ทั้งนี้โบรกเกอร์หลายราย แนะนำซื้อเพื่อการลงทุน ให้ราคาเหมาะสมของ AOT อยู่ที่ 220-245 บาทต่อหุ้น

โดยนักวิเคราะห์ คาดหมายจะเห็นกำไรปกติของ AOT ใน 2Q57 จะยังเติบโต YoY เนื่องจาก (1) การขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำ และ (2) การขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวในสนามบินภูมิภาค จะเป็นปัจจัยที่ทำสนามบินในภูมิภาค เติบโตมากกว่าอัตราปกติ

“คาดกำไรปกติคาดเติบโตทั้ง YoY และ QoQ สถิติการบินยังแข็งแกร่ง หนุนกำไรจากธุรกิจปกติ 1Q57”

ทั้งนี้ AOT จะมีกำไรจากสุทธิงวด 1Q57 (ต.ค.-ธ.ค. 56) ราว 3 พันล้านบาท แม้ว่าจะลดลงจากงวด 4Q56 (ก.ค. - ก.ย. 56) ที่มีกำไรสุทธิสูงถึง 5.1 พันล้านบาท แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นการรับรู้กำไรพิเศษจากการกลับรายการด้อยค่าของสนามบินดอนเมืองราว 3.2 พันล้านบาท ขณะที่กำไรปกติอยู่ที่ 1.8 พันล้านบาท ส่วนใน 1Q57 เราคาดว่ากำไรจากธุรกิจปกติจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 พันล้านบาท เติบโตสูงทั้ง QoQ และ YoY โดยผลประกอบการที่แข็งแกร่งเป็นไปตามสถิติการบินที่ยังเติบโตของจำนวนเที่ยวบินและนักท่องเที่ยวอย่างแข็งแกร่ง แม้จะเริ่มมีปัญหาการเมืองภายในประเทศตั้งแต่เดือนพ.ย. 56

โดยยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2557 (สิ้นสุด ก.ย. 57) ไว้เท่าเดิม เนื่องจากการเติบโตของจำนวนผู้โดยสารยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับสมมติฐานที่เราประเมินไว้ที่ 10% ราคาหุ้นเริ่มทยอยปรับเพิ่ม 7% เมื่อเทียบกับราคาปิดสิ้นปี 2556 การประกาศสถิติการบินที่ยังมีอัตราการเติบโต ทำให้ความกังวลต่อการลงทุนใน AOT ลดลง หลังจากก่อหน้านี้ราคาหุ้นสะท้อนความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากปัญหาการเมืองภายในประเทศจนทำให้ราคาหุ้นลดลงไปกว่า 25% ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2556

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง กล่าวว่า บล.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ซีเคียวริตี้ ได้ปรับลดเป้าหมายหุ้นบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือAOT เหลือเพียง 211 บาทแต่ราคาเป้าหมายที่ปรับลดก็ยังสูงกว่าราคาหุ้นในกระดานประมาณ 20 % ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยทางการเมือง ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาประเทศไทยน้อยลง ก็ตามที

posted from Bloggeroid

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

ตรรกะวิบัติบังคับปฏิรูป

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: ตรรกะวิบัติบังคับปฏิรูป

คอลัมน์ วันพุธที่ 29 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 8 คน
คณะรัฐมนตรีจะประชุมกับ กกต.หารือเลื่อน-ไม่เลื่อนเลือกตั้ง กปปส.ดันปิดล้อมสโมสรทหารบก จนประชุมไม่ได้ ทั้งที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียกร้องให้เลื่อน (ซ้ำบิดเบือนว่าไม่เลื่อนคือขัดคำสั่งศาล) จะเอาไงแน่



เฉลิม อยู่บำรุง หลบออกด้านหลัง สาทิตย์ วงศ์หนองเตย เย้ยว่าขี้ขลาด หรือจะให้สั่งตำรวจใช้กระสุนจริง



มวลชนเสื้อแดงหัวเราะท้องแข็ง เมื่อรู้ว่าแกนนำ กปปส.ดอดไปเลือกตั้ง ทั้งที่สั่งให้ม็อบไปขวางคนอื่น อ้าว...จะล้ม “ระบอบทักษิณ” ไม่ให้มีเลือกตั้ง แล้วยังกลัวเสียสิทธิ แถมอ้างว่ามวลชนเข้าใจ



นักวิชาการ กปปส.ออกรายการ “เจาะข่าวเด่น” ครั้งไร ถูกเชือดตายคาจอเพราะไร้เหตุผล (จนพาลโทษสรยุทธ สุทัศนะจินดา ไม่เป็นกลาง) ล่าสุดอ้างว่าต้องเคารพสิทธิคน 5% ที่ไม่ต้องการเลือกตั้ง แต่พอย้อนถามทำไมต้องไปขัดขวางคนอีก 95% ก็อ้างว่านี่คือการปฏิวัติประชาชน ซึ่งต้องทำโดยคนส่วนน้อย เพราะคนส่วนใหญ่ล้าหลัง



นักวิชาการ (รวมทั้งแพทย์ และสื่อ) กลายเป็นตัวตลก เมื่ออ้างว่ามวลมหาประชาชนก้าวหน้ากว่านักการเมืองแล้ว ในขณะที่ยังเดินตามก้นเทพเทือก เพียงดัดจริตเปลี่ยนอดีตรองนายกฯ ผอ.ศอฉ.เป็นกำนัน



กปปส.อ้างว่าใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมโดยสงบ สันติ อหิงสา แต่ประกาศจะยึดอำนาจ ไม่ให้มีเลือกตั้ง ตั้งสภาเอง ตั้งนายกฯ เอง ใช้กำลังปิดสถานที่ราชการ ตัดน้ำตัดไฟ ท้ายสุดก็บีบคอคนไม่ให้ไปเลือกตั้ง นี่กระมังเรียกว่า “อารยะขัดขืน” แล้วตุลาการก็ยังรับรองอยู่นั่นว่าไม่ผิด ม.68 ไม่ได้ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่ ส.ส. ส.ว.แก้ไขรัฐธรรมนูญให้วุฒิสภามาจากเลือกตั้งกลับผิดมหันต์



อันที่จริงคนส่วนใหญ่รวมทั้งเสื้อแดง ก็ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม คนส่วนใหญ่รวมทั้งเสื้อแดง ก็ยอมรับว่ารัฐบาลบริหารไร้ประสิทธิภาพ และมีการทุจริต คนส่วนใหญ่คงเห็นด้วย ถ้ายกเครื่องปฏิรูปการเมืองกันครั้งใหญ่ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม



แต่การ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” คือล้มเลือกตั้งแล้วเอาพวกตัวเองมาครองอำนาจก่อน คนอื่นๆ มีส่วนร่วมตรงไหน



ม็อบหวังเอาชนะด้วยกำลัง กับพึ่งองค์กรสถาบันที่ควรเป็นกลาง แต่กลับไม่เป็นกลาง ควรยุติธรรม แต่กลับไม่ยุติธรรม แสดงท่าทีเลือกข้าง มีประวัติเลือกข้าง อย่างชัดเจน ถามว่านี่หรือคือวิธีการของคนดี



นายกฯ ไม่เลื่อนเลือกตั้ง กกต.จะเอาผิด ทั้งที่เลื่อนไม่ได้ แต่อ้างศาลรัฐธรรมนูญซึ่งวินิจฉัยอย่างไร้หลัก และต่อให้วินิจฉัยอย่างไรก็เป็นอำนาจนายกฯ อยู่ดี



กกต.น่าจะทำโพลล์ว่าสังคมยังเชื่อพวกท่านเป็นกลางอยู่หรือไม่



พวกเป่านกหวีดหาว่าเสื้อแดง คนชนบท ยอมรับคนโกง ที่จริงไม่ใช่ พวกเขาลุกฮือเพราะเกลียดกรรมการไม่เป็นกลาง ไม่รักษากติกา เชื่อว่าตัวเองเป็นคนดีสามารถใช้อำนาจเลือกข้าง ซึ่ง 7 ปีน่าจะพิสูจน์แล้วว่าไม่ใช่เลย การวินิจฉัย “สองมาตรฐาน” ทำให้เสื้อแดงลุกฮือ



2 ปีที่ผ่านมา ม็อบนกหวีดอ้างว่าการตรวจสอบรัฐบาลล้มเหลว ตรวจสอบแบบไหน ทุ่มเก้าอี้หรือ ไม่ใช่เสื้อแดงไม่เห็นจุดอ่อนเพื่อไทย แต่ข้อแรก พวกเขาอ้างตรวจสอบเพื่อล้มประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่รัฐบาล เช่น ม็อบแช่แข็ง ข้อสอง เสื้อแดงไม่มีวันญาติดี ปชป.ตราบใดที่ไม่ได้รับความยุติธรรมกรณีปี 53



ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่เลือกตั้ง ใช่เลย เพราะประชาธิปไตยยังมีหลักนิติรัฐ หลักความยุติธรรม ประชาธิปไตยยังมีกติกาเคารพความเห็นต่าง เคารพสิทธิผู้อื่น เอาใจเขาใส่ใจเรา



ใครที่คิดสร้าง “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ด้วยการใช้กำลังบังคับขืนใจคนไม่ให้ไปเลือกตั้ง ใช้การบิดเบือนกฎหมาย ทำลายความยุติธรรมเพื่อเอาชนะ ไม่มีวันสร้างสังคมเป็นธรรมได้เพราะทำลายความเป็นธรรมไปแต่ต้น

posted from Bloggeroid

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

พร็อพเทรดQ4 จ่อขาดทุนยับ วอลุ่มหายวูบ

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: พร็อพเทรดQ4
จ่อขาดทุนยับ
วอลุ่มหายวูบ
ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 28 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 7 คน
ธุรกิจหลักทรัพย์ส่อแววขาดทุนยับ หลังวอลุ่มลดลงเกินครึ่ง พ่วงงาน IPO หดหาย รับการเมืองตัวฉุดบรรยากาศการลงทุน เชื่อกำไร Q4/56 ลดลงทั้ง QoQ จากไตรมาสก่อนหน้า และ YoY แนะลงทุน MBKET อัตราผลตอบแทนยังสูง



นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวโน้มผลประกอบการธุรกิจหลักทรัพย์ไตรมาส 4/56 จะออกมาลดลงทั้ง QoQ จากไตรมาสก่อนหน้า และ YoY จากปีก่อนหน้า โดยสาเหตุหลักเกิดจากวอลุ่มตลาดที่ลดลงหายไปเกิน 50% ประกอบกับงาน IPO ลดลงทำให้กำไรของธุรกิจหลักทรัพย์ลดลงตามไปด้วย

“แนวโน้มไม่ดี ดูจากวอลุ่มตลาดที่ลดลง ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบปี โดยกำไรธุรกิจหลักทรัพย์จะหายไปตามวอลุ่มตลาด โดยหุ้นก็ลงไปมากทำให้เงินกำไรจากการลงทุนมีโอกาสสูงที่จะขาดทุน ซึ่งไตรมาส 4/56 เชื่อว่าผลประกอบการจะออกมาไม่ดี ลดลงทั้ง QoQ และ YoY บางบริษัทอาจขาดทุนไปเลยก็ได้” นายธนเดช กล่าว

อย่างไรก็ตาม หากจะซื้อหุ้นกลุ่มหลักทรัพย์แนะนำหลีกเลี่ยงไปก่อน แต่ถ้าจะถือก็คงจะมีเรื่องดีเรื่องเดียว คือ ปันผล โดยแต่ละบริษัทจะมีวิธีการบริหารพอร์ตการลงทุนอย่างไรในสภาวะการเมืองที่ผันผวน และ แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 1/57 จะสู้ไตรมาส 1/56 ไม่ได้ เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนี้ ถ้าจะให้แนะนำยังให้แค่ “ถือ” เพื่อรับเงินปันผล แม้ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มปรับลดลงเป็นระดับต่ำสุดของปีในไตรมาส 4/56 แต่เพราะหุ้น ASP (บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน)) จ่ายอัตราผลตอบแทนสูง โดยคาด ASP จะจ่ายเงินปันผล 0.20 บาท/หุ้น สำหรับผลการดำเนินงานครึ่งปีหลัง 56 ซึ่งขึ้นเครื่องหมาย XD กลางเดือนมี.ค. 57 และรับเงินปันผลราวกลางเดือนพ.ค. 57 และ คาดจ่ายเงินปันผล 0.31 บาท/หุ้นสำหรับปี 57

“กำไร Q4/56 ลด ถือว่าต่ำสุดในรอบปี บริษัทขนาดเล็กมีโอกาสขาดทุนสูง ส่วนบริษัทขนาดใหญ่ก็อาจจะมีกำไรอยู่ แต่เชื่อว่าลดลง” นายธนเดช กล่าว

นักวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส กล่าวว่า แรงกดดันจากปัญหาการเมืองที่ต่อเนื่องมากว่า 2 เดือน และมีแนวโน้มยืดเยื้อ รวมถึงการปรับลดวงเงิน QE กระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯมีผลตั้งแต่เดือนม.ค. 57 จะกดดันเงินลงทุนต่างชาติไหลออกต่อเนื่องส่งผลทำให้มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในงวดไตรมาส 4/56 เหลือเพียง 3 หมื่นล้านบาท จาก 3.7 หมื่นล้านบาทในงวดไตรมาส 3/56 จึงคาดว่ารายได้ค่านายหน้าการซื้อขายหลักทรัพย์ และ สัญญาอนุพันธ์ล่วงหน้ามีแนวโน้มลงลด

ประกอบกับรายได้ธุรกิจวาณิชธนกิจที่ลดลง เพราะบริษัทจดทะเบียนที่เข้าเทรดใหม่ในตลาดฯ (IPO) ในงวด มีมูลค่าตลาดลดลงจากงวดไตรมาส 3/56 ราว 58% เหลือเพียง 10,000 พันล้านบาทเช่นเดียวกับกำไรจากพอร์ตลงทุนที่คาดจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะดัชนีตลาดปรับตัวลงต่อเนื่องไม่สามารถใช้จังหวะขายทำกำไรได้เหมือนงวดไตรมาส 3/56 ที่ดัชนีตลาดผันผวนหนัก

ทั้งนี้ กำไรงวดไตรมาส 3/56 และ 9 เดือน ปี 56 คิดเป็น 22% และ 89% ของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี 56 ของกลุ่มตามลำดับ ส่งผลให้ฝ่ายวิจัยคงประมาณการเดิม โดยคาดกำไรสุทธิของกลุ่มหลักทรัพย์ทั้งปี 56 จะเติบโตถึง 79% จากปีก่อน

สำหรับปัญหาการเมืองมีแนวโน้มเรื้อรัง ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง สวนทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัว โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ สะท้อนได้จากการเริ่มชะลอวงเงินอัดฉีดเงิน QE กระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่เดือนม.ค. 57 ส่งผลให้คาดหวังการไหลกลับเข้ามาอีกครั้งของเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติได้ค่อนข้างน้อยลงมาก

อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยได้กำหนดสมมติฐานมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันปี 57 แบบอนุรักษนิยมลดลงจาก 4.5 หมื่นล้านบาทต่อวันเหลือเพียง 3.5 หมื่นล้านบาทในประมาณการกำไรปี 57 ในขณะที่รายได้จากธุรกิจวาณิชธนกิจยังมีแนวโน้มทรงตัวจากปี 56 เพราะมีบริษัทที่เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดในปี 57 มากกว่า 30 บริษัท โดยหลายบริษัทมีมูลค่าตลาดมากกว่า 2 พันล้านบาท อาทิ ICHI (บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด มหาชน) และ KTIS (บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน))

ส่วนการทำกำไรจากพอร์ตการลงทุนยากขึ้น โดยนอกจากภาวะตลาดที่ทำกำไรยากแล้วยังมีปัจจัยกดดันจากสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้ออกกฎเกณฑ์ลดเพดานวงเงินการซื้อขายของพอร์ตเก็งกำไรซื้อขายของบริษัทหลักทรัพย์จาก 75% ของส่วนผู้ถือหุ้นเหลือ 50% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 56 ซึ่งมีเพียงบริษัทเดียวที่มีการซื้อขายสูงเกินเพดานใหม่ คือ KGI (บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) โดยพึ่งพากำไรพอร์ตลงทุนมากถึง 20-30% ของรายได้รวม ส่งผลให้ประมาณกำไรสุทธิในปี 57 ลดลงจากปีก่อนหน้า 21% โดยอยู่ที่ 3,924 ล้านบาท

นอกจากนี้ ด้วยแนวโน้มธุรกิจที่ชะลอตัวลงดังกล่าวข้างต้นทำให้ฝ่ายวิจัยคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่ม “น้อยกว่าตลาด” โดยแนะนำให้ “ซื้อรับปันผล” ซึ่งแนะหุ้นที่มี Div. yield สูง โดยฝ่ายวิจัยปรับมาใช้มูลค่าเหมาะสมใหม่ของปี 57 โดยอิง PER 10 เท่ายกเว้นเพียง MBKET (บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) ที่อิง 12 เท่า เนื่องจากเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีส่วนแบ่งตลาดมากสุด

โดยเลือก MBKET (FV@B25.2) เป็น Top pick กลุ่ม เพราะมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 และ ไม่มีพอร์ตการลงทุนจึงได้รับผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดน้อยกว่า บวกกับราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside 23.5% และยังมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงถึง 10.3% และ ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” UOBKH (บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) (FV@B4.58) เพราะถือเป็นหุ้น Undervalue โดยมี P/BV ปี 57 เพียง 0.66 เท่า และมี Upside 30%, ขณะที่ปรับลดคำแนะนำ CGS (บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)) (FV@B1.11), FSS (บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)) (FV@B4.58) และ GBX (บริษัท โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด (มหาชน)) (FV@B0.88) จากเดิม “ถือ” เป็น “ขาย” เพราะราคาเต็มมูลค่าแล้ว

posted from Bloggeroid

VGIกำไรหรู953ล้าน ‘บิ๊กซี’ต่อสัญญา5ปี : จังหวะซื้อรอฟื้นตัว เป้าหมาย 10.70 บาท

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: VGIกำไรหรู953ล้าน
‘บิ๊กซี’ต่อสัญญา5ปี
: จังหวะซื้อรอฟื้นตัว เป้าหมาย 10.70 บาท
ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 28 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 5 คน
หุ้น VGI มาตามนัด 9 เดือนโชว์กำไรงามกว่า 953 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อนทำได้ 677 ล้านบาท พ่วงข่าวดี “บิ๊กซี” ต่ออายุสัญญาบริหารพื้นที่โฆษณาในห้างทุกแห่งแต่เพียงผู้เดียวอีก 5 ปี โบรกเกอร์การันตีพื้นฐาน แนะหาจังหวะซื้อขานรับโฆษณาฟื้นตัวให้ราคาเป้าหมาย 10.70 บาท


นางศุภรานันท์ ตันวิรัช ผู้อำนวยการใหญ่สายงานการเงินบริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ VGI เปิดเผยว่า ผลประกอบการงวดไตรมาส 3/56-57 (ต.ค.-ธ.ค. 56) บริษัทมีกำไรสุทธิ 317.28 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.09 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มี กำไรสุทธิ 263.12 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.08 บาท โดยงวด 9 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 952.90 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.28 บาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่กำไรสุทธิ 676.94 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.23 บาท

ขณะเดียวกันบริษัทและบริษัทในเครือได้ทำข้อตกลงต่ออายุสัญญารับสิทธิการบริหารจัดการพื้นที่โฆษณาในเครือข่ายสาขาของห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีทั่วประเทศ จากบริษัท บิ๊กซี ซุปเปอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BIGC ออกไปอีก 5 ปี ทำให้กลุ่มบริษัทมีสิทธิบริหารจัดการพื้นที่โฆษณาในห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีแต่เพียงผู้เดียวในสื่อโฆษณาประเภท Point of Sales Media (Sales Floor) สื่อดิจิตอลภายในบริเวณห้าง ป้ายภาพนิ่งขนาดใหญ่ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร สื่อวิทยุ มีพื้นที่ครอบคลุมทุกสาขาของบิ๊กซีทั่วประเทศ ได้แก่ 1)บิ๊กซี 2)บิ๊กซี เอ็กซ็ตร้า 3)บิ๊กซี จัมโบ้ 4)บิ๊กซี มาร์เก็ต และ 5)มินิบิ๊กซี จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561

ก่อนหน้านี้บริษัทหลักทรัพย์ เคเคเทรด จำกัด ประเมินว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/56 (ต.ค.-ธ.ค. 56) ของ VGI กำไรอยู่ที่ระดับ 334 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนได้กำไรสุทธิ 271 ล้านบาท แต่เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบไตรมาส 2 ที่มีกำไรสุทธิ 328 ล้านบาท ถือเป็นสถิติกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่ยืดเยื้อทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการใช้งบโฆษณาเดือนธ.ค. 56 หดตัวต่ำสุดรอบ 2 ปี

โดยคาดรายได้ค่าโฆษณาสื่อโครงการรถไฟฟ้า BTS จะเติบโตขึ้น 6% จากไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ระดับ 458 ล้านบาท ส่วนสื่อในอาคารสำนักงานจะเติบโตขึ้น 18% มาที่ 65 ล้านบาท สื่อในโมเดิร์นเทรดคาดว่าจะอ่อนตัวลง 5% มาอยู่ที่ 350 ล้านบาท ทำให้รายได้รวมยังเติบโต 2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ที่เกิดการชุมนุมทางการเมือง (เดือนพ.ย. 56) ราคาหุ้น VGI ปรับตัวลดลงแล้ว 29% มากกว่า SET ที่ลดลง 13% มองว่าสะท้อนต่อความกังวลความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมืองแล้ว แม้ว่า VGI มีความเสี่ยงต่ำจากสถานการณ์ทางการเมืองก็ตาม

อีกทั้งราคาหุ้น VGI ปัจจุบันใกล้เคียงกับมูลค่าหุ้นที่ประเมินด้วย P/E Ratio ที่ 20–25 เท่าและกำไรสุทธิปี 2558 หลังปรับประมาณการอยู่ที่ประมาณ 8.80–11.00 บาท จึงมองเป็นโอกาสเข้าลงทุนรอการฟื้นตัวหลังสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย

ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า ราคาหุ้น VGI ได้สะท้อนความกังวลในแง่การชะลอตัวของการใช้เม็ดเงินสื่อโฆษณาไปมากแล้ว ขณะที่ภาพในอดีตสะท้อนว่าปัญหาทางการเมืองที่เกี่ยวข้องไม่ได้ลดทอนการใช้สื่อระยะยาว อีกทั้งรายได้กว่า 57% โดยสื่อหลัก VGI แข็งแกร่งกว่ากลุ่ม

ขณะที่ผลกระทบเหล่านี้คาดจะปรากฏอย่างมีนัยสำคัญไตรมาสสุดท้ายของ VGI เท่านั้น (ม.ค.-มี.ค. 57) ขณะที่ผลการดำเนินงานงวดปี 2557/2558 มองว่ารับผลกระทบน้อย แม้ปรับประมาณการกำไรปี 2557/2558 ลง 19% บน PEG ราคาเหมาะสม 10.70 บาท ให้อัพไซด์น่าสนใจเข้าสะสม แนะนำซื้อลงทุน แต่ความเสี่ยงอยู่ที่การอุปโภคบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้ตั้งแต่เดือนก.ค. 57

posted from Bloggeroid

อวสานพรรคประชาธิปัตย์ โดย วีรพงษ์ รามางกูร : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

อวสานพรรคประชาธิปัตย์ โดย วีรพงษ์ รามางกูร : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย เคยประกาศว่า "ผมเชื่อในระบอบรัฐสภา" ก็เลยเชื่อว่า พรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคที่เชื่อมั่น เคารพ และศรัทธาในประชาธิปไตย และเป็นสถาบันการเมืองที่จะพาประเทศชาติสู่ความเป็นชาติผู้นำประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ชาติเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเป็นระบบการเมืองพรรคใหญ่2พรรค เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเคยฝันหวานว่า เราจะมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคอนุรักษนิยม ตัวแทนของคนชั้นกลางและคนชั้นสูง ขณะเดียวกันก็มีพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคที่เป็นตัวแทนของฝ่ายก้าวหน้า และจะเป็นตัวแทนของคนชั้นกลางระดับล่างและคนในระดับรากหญ้าที่ต่างช่วยกันนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศชาติทั้ง2พรรคจะต่อสู้ แข่งขันกัน ในกรอบของประชาธิปไตย ในสนามเลือกตั้ง ผลัดกันแพ้เป็นฝ่ายค้าน ผลัดกันชนะเป็นรัฐบาล ตามแต่กระแสโลกาภิวัตน์ของสังคมโลก

การเป็นพรรคอนุรักษนิยมไม่ได้เสียหายอะไร เพราะคนจำนวนมากที่เป็นคนชั้นกลางในเมืองทุกแห่งในโลกก็มีความเป็นอนุรักษนิยมเป็นจำนวนมาก ไม่แต่คนในเมือง คนต่างจังหวัดก็มีจำนวนไม่น้อยไปกว่าพวกหัวก้าวหน้าที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง แต่จิตวิญญาณของนักการเมืองทั้ง 2 ฝ่ายต้องเป็นประชาธิปไตยเท่านั้น แต่บัดนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้ล้มเลิกความคิด วิสัยทัศน์ ทัศนคติ วาทกรรม และการกระทำ กลายเป็นพรรคที่สนับสนุนทหาร สนับสนุนรัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและต่อต้านประชาธิปไตยไปเสียหมด

เริ่มจากเป็นพรรคนำ พรรคแรกของการเป็นพรรคภูมิภาคหรือพรรคภูมิภาคนิยม หาเสียงในภาคใต้โจมตีคู่ต่อสู้ โดยการปลุกเร้าภูมิภาคนิยม ดูถูกดูหมิ่นคู่แข่งทางภาคอีสานและเหนือว่าเป็น "ลาว" ดูถูกหัวหน้าพรรคชาติไทยว่าเป็นจีนเกิดในเมืองจีน ดูถูกว่าหัวหน้าพรรคความหวังใหม่เป็น "ลาว" ใช้การดูหมิ่น "เชื้อชาติ" เป็นยุทธวิธีในการหาเสียง

เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ทำสำเร็จเป็นพรรคของคนภาคใต้ พรรคเพื่อไทยก็ทำตามและทำได้สำเร็จเป็นพรรคภาคอีสานและภาคเหนือ พรรคชาติไทยเป็นพรรคภาคกลาง ซึ่งเป็นอันตรายต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง

ความที่พรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งมาโดยตลอด30ปี และแพ้หนักมากในยุคนายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรค ทั้งที่มีกองทัพและอำนาจเก่ารวมทั้งสื่อมวลชนหลักในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นตัวช่วยอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็ยังเอาชนะในการเลือกตั้งไม่ได้สักที เพราะความเป็นอนุรักษนิยมของกลุ่มผู้นำพรรคที่ล้าสมัย ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานจริงมาก่อนประชาธิปัตย์จึงกลัวการเลือกตั้ง

การเป็นพรรคการเมืองที่กลัวการเลือกตั้งจึงเป็นสิ่งที่ฝรั่งเขาเรียกว่าเป็น Paradoxy เมื่อกลัวการเลือกตั้งก็ตั้งป้อมหาเรื่อง
ติเตียนประณามการเลือกตั้ง เห็นการเลือกตั้งเป็นศัตรูของพรรค

พฤติกรรมของพรรคประชาธิปัตย์จึงเป็นพฤติกรรมที่พยายามหลีกเลี่ยงการเลือกตั้งอย่างที่สุดเมื่อต่อต้านหลีกเลี่ยงประณามการเลือกตั้งตนก็ไม่มีทางเลือก ต้องทำตัวไปสู่การเป็นผู้สนับสนุนระบอบการปกครองที่ใช้การแต่งตั้ง หรือไม่ก็ใช้วิธีสรรหา ซึ่งเป็นลูกเล่นอย่างหนึ่งของระบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หันไปสู่การสนับสนุนทหาร พูดจาสนับสนุนองค์กรอิสระที่ใคร ๆ ก็รู้กันทั่วว่า องค์กรอิสระเหล่านี้มีที่มาจากการรัฐประหารของทหาร หรือกระแสกลุ่มอำนาจเดิมซึ่งไม่ต้องการประชาธิปไตยแทนที่จะปฏิรูปตัวเองที่เป็นพรรคอนุรักษนิยม แต่ขณะเดียวกันก็ก้าวหน้าได้ ด้วยการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของประชาคมโลก ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของคนในต่างจังหวัด เลิกใช้วาทกรรมบิดเบือน กล่าวเท็จในเรื่องข้อกฎหมายและหลักการรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีตัวอย่างให้ยกมาเทียบเคียงได้มากมาย หากต้องการ

ทำไปทำมา "ศัตรูของพรรคประชาธิปัตย์ก็คือประชาธิปไตย" นั่นเอง หนังสือพิมพ์ Washington Post ของอเมริกาพาดหัวตัวใหญ่ว่า "The Enemy of the Democrat party of Thailand is Democracy" ซึ่งเป็นความจริง แม้ว่าแฟนคลับของประชาธิปัตย์อย่างหนังสือพิมพ์กลุ่มเดอะเนชั่นจะออกมาแก้ตัวให้ก็ตาม

การที่พรรคประชาธิปัตย์จัดชุมนุมใหญ่ต่อต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอยโดยวิธีฉ้อฉลของพรรคเพื่อไทยใคร ๆ ก็เห็นด้วยจนรัฐบาลต้องถอย แต่กลับฉกฉวยโอกาสชุมนุมขับไล่รัฐบาลต่อ โดยอ้างประชาชนจำนวนมากในกรุงเทพฯว่าเป็น "มวลมหาประชาชน" ขับไล่รัฐบาลโดยอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ซึ่งไม่จริง ผู้ชุมนุมบุกเข้ายึดสถานที่ราชการ ขโมยสิ่งของของราชการ บังคับขู่เข็ญไม่ให้ข้าราชการทำงาน ตัดน้ำตัดไฟสถานที่ทำการ ข่มขู่ คุกคาม ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เสนอตั้งองค์กรทางการเมืองที่ไม่อยู่ในกรอบของกฎหมายและกรอบของประชาธิปไตย สร้างสถานการณ์รุนแรง ยั่วยุให้มีความรุนแรงเพื่อกรุยทางให้ทหารทำการปฏิวัติรัฐประหาร

การดำเนินการชุมนุมครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้เลย เพราะดำเนินการโดยแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นสุเทพ ชวน อภิสิทธิ์ ชินวร ถาวร และผู้นำพรรคคนอื่นที่ยึด "ข้างถนน" เป็นเวทีอภิปราย โจมตีด้วยคำหยาบคายกักขฬะ ใช้วาทกรรมที่โกหกมดเท็จซ้ำ ๆ ซาก ๆปั้นน้ำเป็นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าโดยมิได้เกรงใจสมาชิกประชาธิปัตย์ที่เขาเป็น "ผู้ดี" มีจิตใจเป็นธรรมและเป็นนักประชาธิปไตยแม้แต่น้อย

การที่ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์เกรงกลัวการ "เลือกตั้ง" และยอมรับว่า "ศัตรูของพรรคประชาธิปัตย์คือประชาธิปไตย" อย่างที่หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์พาดหัวข่าว ประชาธิปัตย์ไม่อาจแก้ตัวได้เลย พฤติกรรมที่แสดงว่ากลัวการเลือกตั้งซ้ำ ๆ ซาก ๆ ก็คือการประกาศ "คว่ำบาตร" การเลือกตั้งปฏิรูปอย่างไร ถ้าประชาชนเขาไม่เลือก ประชาธิปัตย์ก็แพ้อยู่ดี ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ผู้จัดการเลือกตั้ง หรือกฎหมายเลือกตั้ง

ปัญหาอยู่ที่คนส่วนใหญ่ของประเทศเขาไม่เลือกมากกว่า จะให้แก้กฎหมายเลือกตั้งอย่างไรก็ยังแพ้ ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ยังถูกเกาะกุมโดยกลุ่มผู้นำเก่าที่ล้าสมัย ยังคิดแบบเดิม ๆ ยังใช้วิธีเดิม ๆ ในการแข่งขัน ที่สำคัญ เมื่อครั้งเป็นรัฐบาลโดยการช่วยเหลือของกองทัพ ก็พิสูจน์ได้แล้วว่าทำงานไม่เป็น คิดไม่เป็น เป็นแค่ทำความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างต่างประเทศ ทั้งกับเพื่อนบ้านและประเทศอื่น ๆ ภาพพจน์ของประเทศเสียหายเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ

พรรคการเมืองนั้นต้องเอาดีในกรอบของระบอบประชาธิปไตย เงื่อนไขสำคัญของระบอบประชาธิปไตยก็คือการเลือกตั้ง การมีการเลือกตั้งอาจจะไม่เป็นประชาธิปไตย แต่การไม่มีการเลือกตั้งนั้นไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นของแท้ถ้าประชาธิปัตย์เห็นการเลือกตั้งเป็นศัตรูและพยายามต่อสู้ขัดขวางไม่ให้มีการเลือกตั้ง โดยการออกตัวไปเป็น "เครื่องมือรับใช้สนับสนุนฝ่ายที่ไม่เป็นประชาธิปไตย" แต่มีอำนาจแฝง เช่น กองทัพ องค์กรอิสระ รวมทั้งการได้ขายจิตวิญญาณประชาธิปไตย เพื่อแลกกับการได้เป็นนายกรัฐมนตรีในระยะเวลาสั้น ๆ ที่ไม่สง่างาม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ทำลายพรรคประชาธิปัตย์ไปแล้วในระยะยาว

การ "คว่ำบาตร" การเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์นี้ เป็นการบังคับตัวเองให้ต่อต้านการเลือกตั้ง ซึ่งถูกประณามไปทั่วโลก จะมีชมเชยบ้างก็สื่อมวลชนที่ล้าหลังภายในประเทศการที่พรรคคว่ำบาตร ทำให้ผู้นำพรรคก็ดี สมาชิกที่ภักดีต่อพรรคก็ดี ถูก "บังคับ" ให้ทำตัวเป็นนักต่อต้านประชาธิปไตยไปโดยปริยาย ดังจะเห็นได้จากวาทกรรมต่อต้านการเลือกตั้ง ต่อต้านประชาธิปไตยไปโดยปริยาย วาทกรรมดังกล่าวอย่างไรเสียก็ต้องเป็นวาทกรรมที่เป็นเท็จทั้งในด้านหลักวิชาและข้อเท็จจริง ที่สำคัญก็คือบังคับตัวเองให้ขัดขวางต่อต้านองค์กรที่จัดเลือกตั้งคือ กกต.และกลุ่มชุมนุมต่าง ๆ ให้ต่อต้านขัดขวางการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการต่อต้านประชาธิปไตยโดยตรง แม้จะพยายามหาเหตุผลมาบิดเบือน อย่างไรก็ตามถ้า กกต.เกิดถูกบังคับ จะโดยกฎหมาย หรือความกดดันจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่วนใหญ่อย่างหนักจนต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ ก็จะไม่มีประชาธิปัตย์อยู่ในสภา จะมีพรรคอื่นมาทำหน้าที่ฝ่ายค้านแทน และถ้าฝ่ายค้านนั้นมีวิสัยทัศน์ มีทัศนคติ มีวาทกรรมที่อยู่ในกรอบของกฎหมาย อยู่ในกรอบของประชาธิปไตย เลือกตั้งคราวต่อไป อย่างน้อยคนกรุงเทพฯอาจจะไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์อีกเลยก็ได้ ถึงเมื่อนั้นประชาธิปัตย์อาจจะกลายเป็นพรรคต่ำสิบไปก็ได้

ถ้ายังยืนกรานไม่เปลี่ยนตัวผู้นำในพรรคที่เกาะกุมอำนาจในพรรคมากว่า40ปี ยังมีความคิดเดิม ๆ ทำงานไม่เป็นเหมือนเดิมคิดอะไรไม่เป็นเหมือนเดิม เอาแต่คิดว่าจะพูดจาถากถางเหน็บแนมปั้นน้ำเป็นตัวทำลายผู้อื่นเพื่อให้ถูกใจแฟนคลับ ซึ่งแก่ตัวอายุมากขึ้นทุกวัน ก็เชื่อได้ว่าเลือกตั้งอีกไม่กี่ครั้ง นอกจากจะไม่ได้เป็นรัฐบาลแล้วผู้นำฝ่ายค้านก็อาจจะไม่ได้เป็น

ถ้ายังเป็นพรรคที่เชื่อในตัวบุคคล หรือลัทธิบุคลาธิษฐานอยู่ ไม่ได้เชื่อในระบบ เหมือน ๆ กับพรรคเพื่อไทย ซึ่งสังคมไทยในขณะนี้ก็ยังเป็นอย่างนี้อยู่ แต่ในอนาคตข้างหน้า สังคมไทยน่าจะกำลังเปลี่ยนไป อีกไม่นานความเชื่อในลัทธิบุคลาธิษฐานจะคลายความสำคัญลงไปเรื่อย ๆ เพราะบุคคลไม่อาจดำรงคงอยู่ตลอดกาล และเมื่อถึงจุดนั้น การชูบุคคลเพื่อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้ง ก็น่าจะลดความสำคัญลง พรรคการเมืองทั้ง 2 ขั้ว ควรจะคิดถึงเรื่องนี้ไว้เสียแต่เนิ่น ๆ

การใช้กลเม็ดในการหาเสียงหรือดำเนินการทางการเมืองด้วยการไม่ลงแข่งขันเลือกตั้ง เป็นยุทธวิธีนอกกรอบประชาธิปไตย นอกระบบพรรคการเมือง เท่ากับเป็นการต่อต้านพลวัตทางการเมือง เพราะการเลือกตั้งเป็นบทเรียนและประสบการณ์ของพรรคการเมือง เป็นวิธีการรับ "ความรู้สึก" ของประชาชนฐานเสียงของตัวเองอย่างแท้จริงว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

แล้วอนาคตของพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นอย่างไร

posted from Bloggeroid

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

14หุ้นพื้นฐานดีP/Eต่ำ ข่าวหน้าหนึ่ง วันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2557 

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: 14หุ้นพื้นฐานดีP/Eต่ำ

ข่าวหน้าหนึ่ง วันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 7 คน
14 หุ้นพื้นฐานดี พี/อีต่ำกว่าตลาด ระดับค่า P/BV อยู่ที่ 0.80-1.20 เท่า อาทิ BBL, TCAP, KKP, BECL, STA, SC, NMG, NNCL, CGS, FSS, HFT, CEN, TNITY, TWP ส่วนใหญ่เน้นขนาดกลางเป็นหลัก



นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง ระบุว่า จากการคัดเลือกข้อมูลหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกหุ้นจากบริษัทที่มีกำไรเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และ 9 เดือนแรกของปี 2556 มีการเติบโต และมีระดับค่า P/BV ไม่สูงมากนัก อยู่ระหว่าง 0.80-1.20 เท่า และมีระดับค่า P/E ต่ำกว่าตลาด

จากการคัดเลือกหุ้นของบริษัทดังกล่าวมีรายชื่อดังต่อไปนี้ หุ้นธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ค่า P/E อยู่ที่ 9.16 เท่า P/BV อยู่ที่ 1.17 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 3.71%, หุ้นบริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน)หรือ TCAP ค่า P/E อยู่ที่ 4.24 เท่า P/BV อยู่ที่ 0.84 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 4.67%, หุ้นธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) หรือ KKP ค่า P/E อยู่ที่ 6.87 เท่า P/BV อยู่ที่ 0.91 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 5.89%

หุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL ค่า P/E อยู่ที่ 4.97 เท่า P/BV อยู่ที่ 1.08 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 4.72%, หุ้นบริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ค่า P/E อยู่ที่ 8.04 เท่า P/BVอยู่ที่ 0.83 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 3.94%

หุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC ค่า P/E อยู่ที่ 8.44 เท่า P/BVอยู่ที่ 1.12 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 0.93%, หุ้นบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG ค่า P/E อยู่ที่ 13.25 เท่า P/BV อยู่ที่ 1.15 เท่า

หุ้นบริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน) หรือ NNCL ค่า P/E อยู่ที่ 6.06 เท่า P/BV อยู่ที่ 1.13 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 3.72%, หุ้นบริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CGS ค่า P/E อยู่ที่ 5.63 เท่า P/BV อยู่ที่ 0.83 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 0.98%

หุ้นบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) หรือ FSS ค่า P/E อยู่ที่ 4.35 เท่า P/BV อยู่ที่ 1.05 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 3.30%, หุ้น บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ HFT ค่า P/E อยู่ที่ 7.49 เท่า P/BV อยู่ที่ 1.08 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 2.78%

หุ้นบริษัท แคปปิทอล เอ็นจิเนียริ่ง เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน) หรือ CEN ค่า P/E อยู่ที่ 14.07 เท่า P/BV อยู่ที่ 0.80 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 1.71%, หุ้นบริษัท ทรีนีตี้ วัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ TNITY ค่า P/E อยู่ที่ 6.90 เท่า P/BV อยู่ที่ 0.83 เท่า อัตราเงินปันผลตอบแทนอยู่ที่ 8.44%, หุ้นบริษัท ไทยไวร์โพรดัคท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TWP ค่า P/E อยู่ที่ 5.70 เท่า P/BV อยู่ที่ 1.05 เท่า

posted from Bloggeroid

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

สมคบคิด Failed State

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: สมคบคิด Failed State

คอลัมน์ วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 10 คน
เห็นความเดือดร้อนของชาวบ้าน ชาวนา คนทำมาหากิน ในการเมืองคาราคาซังแล้วอยากบอกว่า รัฐประหารไปซะให้รู้แล้วรู้รอดเถอะครับ อย่าทรมานกันอยู่เลย ขั้วอำนาจที่อยากล้มรัฐบาลโปรดเช็กบิลให้จบๆ อย่าสมคบคิดเล่นเล่ห์สร้าง failed state เพื่อรัฐประหารเงียบ เอานายกฯคนกลางมาปะหน้าอยู่เลย

ม็อบนกหวีดอ้างสิทธิชุมนุมตามรัฐธรรมนูญ แต่เป้าหมายคือฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มเลือกตั้ง ตั้งสภาเอง ตั้งรัฐบาลเอง ใช้ม็อบปิดกรุงจนเกือบอัมพาต แต่ละวันเดินอาดๆ ไปยึดสถานที่ราชการ ตัดน้ำตัดไฟ ไล่ข้าราชการกลับบ้าน โดยไม่คำนึงว่ากระทบบริการสาธารณะ ข้าราชการที่ไปทำงานก็ถูกจับแห่ประจาน ล่าสุด ที่ตรัง “เลยธง” ถึงขั้นบุกสุเหร่าเป่านกหวีด

ผู้คนเดือดร้อน รัฐบาลก็อับจน ไม่สามารถใช้อำนาจตามกฎหมาย ต่อให้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ก็กลายเป็นมาตรการโง่ๆ ม็อบยิ่งรุนแรงเข้าไปใหญ่

ที่จริง ม็อบไม่ได้มีคนเป็น “ล้านๆ” เหมือนที่คุยตอนแรก พวกไปบุกที่ต่างๆ บางครั้งมีไม่กี่ร้อยคน แต่ตำรวจไม่สามารถใช้ความรุนแรง ชาวบ้านธรรมดาหรือ เผลอโวยวายร้องด่าก็ต้องเรียกรถพยาบาล (ซ้ำยังอาจไปเจอหมอชูป้าย “หนีคนไข้ไล่อีปู” ระยะนี้อย่าเจ็บตัวไว้แหละดี)

คนไปม็อบส่วนใหญ่อาจบอกว่าพวกเขาเป็นสุภาพชน คนดี ไม่เห็นด้วยกับการบุกสุเหร่า (ที่กำนันกราบขอโทษ) รื้อป้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดูหมิ่นเหยียดหยามตำรวจเหมาเข่ง ฯลฯ แต่อย่าลืมว่า พฤติกรรมเหล่านี้เป็นเพราะเป้าหมายล้มรัฐบาลโดยฉีกกติกา เมื่อไม่เคารพกติกาแล้วก็ทำได้ทุกอย่าง เพื่อให้เกิด “รัฐล้มเหลว” failed state

คุณสนับสนุนเป้าหมายนั้น เท่ากับสนับสนุนพฤติกรรมเลยเถิด ซึ่งคนเดือดร้อนไม่ใช่แค่รัฐบาล แต่รวมชาวบ้านทั่วไป และผลประโยชน์สาธารณะ (ถ้าจะขอโทษจากใจจริง กำนันต้องขอโทษคนอีกมากมาย)

การเคลื่อนไหวเช่นนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นได้ในประเทศอื่น มีแต่ประเทศไทย เพราะผู้ชุมนุมเชื่อว่ามีขั้วอำนาจเหนือกว่ารัฐบาลเข้าข้างตน เช่น ทหารใส่เกียร์ว่าง องค์กรอิสระจ้องเล่นงานรัฐบาล กกต.เสนอเลื่อนเลือกตั้ง ฯลฯ ซึ่งพอไปร้องศาลรัฐธรรมนูญก็รับคำร้อง ทั้งที่ขัดหลักอำนาจศาล

รัฐธรรมนูญมาตรา 214 เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างองค์กรให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด หมายถึงต้องเกิดการใช้อำนาจขัดกัน ไม่ใช่แค่ความเห็นต่าง เปรียบเหมือนคน 2 คน เถียงกันเรื่องข้อกฎหมาย จะให้ศาลตัดสินว่าใครถูกใครผิดไม่ได้ เพราะไม่มีคดี ศาลไม่ใช่ที่ปรึกษากฎหมาย ศาลจะรับคดีต่อเมื่อ 2 องค์กรใช้อำนาจ ออกคำสั่ง หรือปฏิบัติขัดกัน เช่น กกต.ประกาศเลื่อนการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. รัฐบาลก็จะร้องศาลให้ชี้ว่า กกต.ถูกหรือผิด

ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นที่สงสัยว่าศาลจะให้เลื่อนเลือกตั้งได้อย่างไร เพราะรัฐธรรมนูญเขียนโต้งๆ ต้องเลือกตั้งหลังยุบสภา 45-60 วัน แต่ศาลรัฐธรรมนูญซะอย่าง วินิจฉัยได้ทุกอย่าง แก้รัฐธรรมนูญให้วุฒิสภามาจากเลือกตั้งก็ยังกลายเป็นล้มล้างการปกครอง

ทีม็อบไล่รัฐบาล ไม่เอาเลือกตั้ง จะตั้งรัฐบาลเอง ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กลับไม่ผิดมาตรา 68

ถ้าเลื่อนเลือกตั้งจะเกิดอะไร สภาพ failed state ก็จะยืดเยื้อ ม็อบคุกคามสาธารณชนไม่หยุด เศรษฐกิจเสียหาย กกต.ไม่ยอมให้รัฐบาลกู้เงินจำนำข้าว ชาวนาเดือดร้อน เป็นหนี้ ลุกฮือ สุดท้ายสังคมที่ตกเป็นตัวประกันก็จะบีบให้รัฐบาลลาออก ตั้งนายกฯ คนกลาง ถ้าไม่ออก ก็โทษว่ารัฐบาลเป็นตัวสร้างความฉิบหาย

เล่นเกมนี้ไม่โหดไปหน่อยหรือครับ ทั้งโหดกับชาวนา คนยากจน มาจนนักธุรกิจ ที่บางรายคงต้องปิดกิจการ ถ้าจะเล่นกันอย่างนี้ รัฐประหารเสียดีกว่า (จะได้พังเร็วๆ –ฮา)

posted from Bloggeroid

การประท้วงจำกัดการเคลื่อนไหวของธปท.?

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: การประท้วงจำกัดการเคลื่อนไหวของธปท.?

ต่างประเทศ วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 0 คน


การเคลื่อนไหวอย่างน่าประหลาดใจของธนาคารแห่งประเทศไทยที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้แทนที่จะลด อาจชี้ว่าธนาคารกลางมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายเงินแล้วท่ามกลางการประท้วงทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง

ดร.รุ่ง มัลลิกะมาส โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทยกล่าวกับซีเอ็นบีซี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า เสียงส่วนใหญ่ของคณะกรรมการ 4 คน เห็นว่า นโยบายเงินที่เอื้อเฟื้อมากขึ้นไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองได้

“ความไม่แน่นอนทางการเมืองน่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดความล่าช้าในการใช้จ่ายงบประมาณและกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน และถึงแม้ว่าภาคส่งออกดีขึ้นเพราะดีมานด์ทั่วโลกมีความแข็งแกร่ง ก็น่าจะไม่เพียงพอที่จะชดเชยกับดีมานด์ภายในประเทศที่ลดลง” โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าว

คณะกรรมการนโยบายเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยลงมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.25% เมื่อวันพุธ เทียบกับที่มีการคาดการณ์เป็นส่วนใหญ่ว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เพื่อช่วยต่อต้านการเติบโตที่ชะลอตัวลงเนื่องจากการประท้วงยังคงสร้างความวุ่นวายให้กับเศรษฐกิจ

แม้ว่ามติมีเสียงแตก โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทยตั้งข้อสังเกตว่า คณะกรรมการทุกคนมีความเห็นเหมือนกันเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ และธนาคารกลางได้ลดการคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของปี 2556 จากประมาณ 3% เหลือไม่ถึง 3% และลดประมาณการเติบโตของปี 2557 ลงเหลือประมาณ 3% จาก 4%

เศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตัวลงอยู่แล้วก่อนที่การประท้วงต่อต้านรัฐบาลจะเริ่มขึ้นเมื่อปลายเดือนตุลาคม โดยส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากการที่เงินทุนไหลออกหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯเริ่มส่งสัญญาณเป็นครั้งแรกถึงความเป็นไปได้ที่จะเริ่มลดการซื้อสินทรัพย์ แม้การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะลดดอกเบี้ยอาจจะถูกขัดขวาง แต่นักวิเคราะห์หลายคนคาดว่านี่เป็นเพียงการชะลอเวลาที่จะลดอัตราดอกเบี้ย ไม่ใช่การปฏิเสธที่จะลดอัตราดอกเบี้ย

“วิกฤติการเมืองยิ่งยืดเยื้อนานเท่าไหร่ ผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจจะมากขึ้นเท่านั้น” คริสตัล ตัน นักเศรษฐศาสตร์เอเชียของ แคปิตอล อีโคโนมิคส์ ตั้งข้อสังเกต “การคุมเชิงเป็นเวลานาน อาจขัดขวางโครงการสาธารณูปโภคที่สำคัญของรัฐและสร้างความเสียหายเพิ่มอีกให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และเนื่องจากรัฐบาลรักษาการมีข้อจำกัดในการใช้จ่าย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีแรงกดดันที่จะต้องเพิ่มดีมานด์”

นักวิเคราะห์คนอื่นๆ ก็คาดว่าธนาคารกลางไทยจะถูกบีบให้ดำเนินการ

“ในที่สุดแล้วธนาคารกลางจะถูกบังคับให้ใช้กระสุนที่เหลืออยู่แค่เล็กน้อยในเดือนที่จะมาถึง และลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสองครั้ง โดยลดครั้งละ 0.25% ก่อนที่จะหมดครึ่งปีแรก และดูเหมือนว่าจะไม่มีการยุติเกมอย่างแท้จริง เนื่องจากการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์อาจจะไม่ทำให้กลุ่มผู้ประท้วงและฝ่ายค้านพอใจ” บทวิเคราะห์ของเอชเอสบีซีระบุ

รัฐบาลไทยประกาศภาวะฉุกเฉินในกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นเวลา 60 วันเมื่อค่ำวันอังคาร เพื่อตอบโต้ต่อความรุนแรงที่เกี่ยวกับการประท้วงเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน และบาดเจ็บหลายสิบคน การประกาศภาวะฉุกเฉินทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงมีอำนาจหลายๆ อย่าง เช่น บังคับใช้เคอร์ฟิวกักขังผู้ต้องสงสัยโดยไม่ต้องตั้งข้อกล่าวหา และห้ามชุมนุมทางการเมืองขนาดใหญ่

ในขณะที่จนถึงขณะนี้ รัฐบาลได้หลีกเลี่ยงที่จะบังคับใช้มาตรการเหล่านี้อย่างเคร่งครัด แต่กำลังมีการจับตามองอย่างใกล้ชิดว่ามีการใช้อำนาจอย่างไรเนื่องจากมีแนวโน้มที่จะเป็นสถานการณ์อันรุนแรงที่จะทำให้การประท้วงรุนแรงยิ่งขึ้นได้

posted from Bloggeroid

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

KTBสินเชื่อปีนี้พุ่ง7% พี/อีร่วงเหลือ6.1เท่า *โบรกฯรุมแนะซื้อ เงินปันผลสูง 7%

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: KTBสินเชื่อปีนี้พุ่ง7%
พี/อีร่วงเหลือ6.1เท่า
*โบรกฯรุมแนะซื้อ เงินปันผลสูง 7%
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 8 คน
ผู้บริหารแบงก์กรุงไทย (KTB) ให้ข้อมูลต่อนักวิเคราะห์วานนี้ (22 ม.ค.) ว่าสินเชื่อปีนี้จะเติบโต 5-7% พร้อมปรับกลยุทธ์หันเพิ่มสัดส่วนลูกค้าเอกชนมากขึ้น โบรกฯคาดกำไรปีนี้ 3.4 หมื่นล้าน ส่วน P/BV อยู่ที่ 1 เท่า ต่ำสุดในรอบ 5 ปี และพี/อี เหลือเพียง 6.1 เท่า ให้ราคาเป้าหมาย 28 บาท และมีผลตอบแทนเงินปันผลสูงถึง 6-7% ส่วนภาวะตลาดหุ้นโดยรวมยังผันผวน



วานนี้ (22 ม.ค.) นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ได้เข้าพบผู้บริหารของธนาคารกรุงไทย โดย นายวรภัค ธันยาวงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ของ KTB ให้ข้อมูลว่า ในเบื้องต้นแผนธุรกิจปีนี้ตั้งเป้าเติบโตสินเชื่อ 5-7% ซึ่งจะหันมาเน้นขยายสินเชื่อภาคเอกชนให้มากขึ้น โดยหากยังไม่มีรัฐบาล โครงการภาครัฐจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้

“จริงๆ แล้วที่ผ่านมาธนาคารก็ได้ปรับกลยุทธ์ และแนวทางในการขยายธุรกิจภาคเอกชนมาพอสมควร”

บล.กรุงศรี ระบุว่า NPL RATIO ของ KTB จะลดลงต่อเนื่องจากปี 55 และ ROE จะอยู่ที่ 15.9% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 13.9% ซึ่งโดยรวมถือว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แม้กำไรในปีนี้จะคาดการณ์ไว้ที่ 3.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากไม่มีกำไรจากการลงทุน หรือปันผลวายุภักษ์เหมือนปี 56 แต่ถ้าเป็นกำไรก่อนสำรองหนี้ไม่รวมกำไรจากเงินลงทุน เติบโตต่อเนื่อง 9.4% จากปีก่อนหน้า

ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” จากมุมมองบวกต่องบดุลแข็งแกร่งขึ้น หนี้เสียลดลง การตั้งสำรองหนี้อย่างเข้มงวดทำให้ธนาคารมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการรักษาการเติบโตของกำไรทีมีเสถียรภาพระยะยาว ประกอบกับราคาหุ้นค่อนข้างถูกซื้อขาย P/BV ปี 57 ที่ 1 เท่า ต่ำที่สุดรอบ 5 ปี และต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีที่ 1.3 เท่า

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุเช่นกันว่า KTB แม้จะตั้งเป้าการเติบโตของสินเชื่อปี 57 เพียง 5-7% แต่ทางผู้บริหารเชื่อมั่นว่าอัตราการเติบโตจริงๆ จะสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ดังเช่นในหลายๆ ปีที่ผ่านมา

โดย KTB จะเน้นการเติบโตของสินเชื่อในตลาด CLMV ซึ่งมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจและการลงทุนสูงกว่าในประเทศไทย นอกจากนี้จะยังคงเดินหน้าโครงการ KTB-Transformation เพื่อพัฒนาการบริการในธุรกิจ SMEs และสินเชื่อรายย่อยให้ดียิ่งขึ้น แม้มีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจชะลอตัว แต่สินเชื่อรายย่อยส่วนใหญ่ของ KTB (95%) เป็นข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ทำให้ความเสี่ยงของการเกิดหนี้เสียค่อนข้างน้อย ด้านคุณภาพสินเชื่อ KTB ยังคงตั้งเป้าลดระดับ NPLs ลงอย่างต่อเนื่อง

ส่วนค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองมีแนวโน้มที่จะปรับลดลงจากปีก่อนหน้า เนื่องจากมีการตั้งสำรองพิเศษเป็นจำนวนมากในปีที่ผ่านมา ขณะที่รายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยยังน่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยรวมเราคาดกำไรสุทธิของ KTB ปี 57 จะเติบโต 14% และยังคงมีแนวโน้ม ROE เป็นขาขึ้นต่อเนื่อง

ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันยังซื้อขายที่ระดับมูลค่าต่ำมากเพียง 1.1 เท่า P/BV และมีพี/อี เรโช เพียง 6.1 เท่า และผลตอบแทนเงินปันผลระดับ 6-7% จึงยังคงคำแนะนำ "ซื้อ"

ทางด้าน CIMBS ให้ราคาเป้าหมายหุ้น TMB ที่ 28 บาท โดยมองว่า ธนาคารมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนเข้าหากลุ่มลูกค้าเอกชน เพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้น รวมถึงการแสวงหารายได้จากค่าธรรมเนียมที่มีแนวโน้มเพิ่มอย่างแข็งแกร่ง พร้อมกับมองว่า พี/อี ซื้อขายกันเพียง 6.7 เท่า ถือว่าต่ำมาก

ด้านนายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการเงินทุนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงสถานการณ์การประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ว่าหากไม่มีเหตุการณ์รุนแรงก็คงไม่กระทบตลาดหุ้นไทยมากนัก เนื่องจากที่ผ่านมาตลาดฯได้ทยอยปรับตัวไปมากแล้ว

อย่างไรก็ตามถ้าเหตุการณ์เกิดความรุนแรง หรือยืดเยื้อ จนทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว หรือเติบโตไม่ถึง 0.5% ก็มองว่าดัชนีตลาดจะมีแนวรับที่สำคัญ ที่ 1,270 จุด เป็นแนวรับแรก และจะเด้งขึ้น และแนวรับที่ต่ำที่สุดอยู่ที่ 1,220 จุด ซึ่งอิงจากตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์

โดยแนะนำให้ลงทุนในหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ ได้แก่ หุ้นกลุ่มส่งออก พลังงาน และปิโตรเคมี เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง คือ หุ้นกลุ่มบันเทิง สื่อสาร เป็นต้น ที่จะได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง

ส่วนหุ้นกลุ่มแบงก์ ได้ทยอยปรับลดเป้าสินเชื่อกันแล้ว ซึ่งการปล่อยสินเชื่อในปีนี้คงไม่ค่อยดี เหมือนปีที่ผ่านมา หากเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่ฟื้น ขณะที่วานนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.25% ต่อไป

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เผยว่าการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลจะเอาจริงในการปราบปรามผู้ชุมนุมทางการเมือง เพราะฉะนั้นคงต้องมาดูกันว่าจะมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นหรือไม่ ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยออกไปนานแล้ว หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงก็คงมีผลกระทบบ้างแต่ไม่มาก ขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนรายย่อย และสถาบันจะเข้ามารับหรือไม่

“ตอนนี้ต่างชาติทยอยกันออกไปแล้ว ถ้าเกิดเหตุการณ์รุนแรงทางการเมือง ก็คงจะกระทบไม่มากนัก แต่คงต้องดูด้วยว่ากองทุนและรายย่อยจะเข้ามารับไม้ต่อหรือไม่”

posted from Bloggeroid

สั่งปรับยกเข่ง ลีสวัสดิ์ตระกูล ปั่นหุ้นRICH

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: สั่งปรับยกเข่ง
ลีสวัสดิ์ตระกูล
ปั่นหุ้นRICH
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 4 คน

ก.ล.ต.สั่งปรับ “ลีสวัสดิ์ตระกูล" ยกชุด “สมเดช-สิทธิชัย-ลัดดา” วงเงินรวม 26 ล้านบาท กระทำผิดฐานสร้างราคาหุ้น RICH จนทำให้เกิดผลกระทบทั้งราคาและปริมาณสูง รวมทั้งจับคู่ซื้อขายกันภายในกลุ่มจำนวนมากเพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหุ้นดังกล่าว


รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับมีคำสั่งเปรียบเทียบปรับนายสมเดช ลีสวัสดิ์ตระกูล 25,665,197.13 บาท กรณีสร้างราคาหลักทรัพย์บริษัท ริช เอเชีย สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ RICH และนายสิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล นางลัดดา ลีสวัสดิ์ตระกูล และนางสาวอุษณีย์ อ่อนจ้าย ในฐานะผู้สนับสนุน รายละ 333,333.33 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,665,197.12 บาท

โดยก.ล.ต.ได้รับแจ้งจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ตรวจสอบพบสภาพการซื้อขายหุ้น RICH ที่ผิดปกติอันเนื่องมาจากการซื้อขายของบุคคลกลุ่มหนึ่ง จากการตรวจสอบของก.ล.ต. พบว่า ปริมาณและราคาซื้อขายหุ้น RICH ช่วงระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคมถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2550 เปลี่ยนแปลงไปอันไม่ตรงต่อสภาพปกติของตลาด(ราคาหุ้นวันที่ 10 พ.ค. 50 อยู่ที่ 1.40 บาท จนถึงวันที่ 31 ก.ค. 50 ราคาสูงสุด 5.10 บาท)

โดยเกิดจากนายสมเดช ได้รู้เห็นหรือตกลงร่วมกับตัวการรายอื่นซื้อขายหุ้น RICH ในลักษณะสอดคล้อง และแบ่งหน้าที่กันทำการซื้อขายหุ้น RICH ผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์ด้านต่างๆ กับตัวการรวม 15 ราย จนทำให้เกิดผลกระทบทั้งด้านราคาและปริมาณสัดส่วนสูง รวมทั้งมีการจับคู่ซื้อขายกันภายในกลุ่มจำนวนมาก เพื่อชักจูงให้บุคคลทั่วไปทำการซื้อขายหุ้นดังกล่าว โดยนายสิทธิชัย นางลัดดา และนางสาวอุษณีย์ ให้การช่วยเหลือในการให้ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อกระทำความผิด

นอกจากนี้นายสิทธิชัย อำนวยความสะดวกด้วยการส่งคำสั่งซื้อขายหุ้น ส่วนนางลัดดา และนางสาวอุษณีย์ ได้อำนวยความสะดวกด้วยการถอนเงินหลักประกันหรือค่าซื้อขายหุ้น RICH การกระทำของนายสมเดชเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

โดยคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดจึงได้กำหนดอัตราค่าปรับและดำเนินการปรับนายสมเดช เป็นเงิน 25,665,197.13 บาท ส่วนการกระทำข้างต้นของนายสิทธิชัย นางลัดดา และนางสาวอุษณีย์ เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 244 และมาตรา 243(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ ประกอบมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา คณะกรรมการเปรียบเทียบความผิด จึงได้กำหนดอัตราค่าปรับและดำเนินการปรับนายสิทธิชัย นางลัดดา และนางสาวอุษณีย์ เป็นเงินรายละ 333,333.33 บาท

posted from Bloggeroid

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

หุ้นปันผลยีลด์4.8-7.4% 22 Jan 2014


6หุ้นปันผลยีลด์4.8-7.4%

ข่าวหน้าหนึ่ง วันพุธที่ 22 มกราคม 2557 
ผู้เข้าชม : 11 คน 

6 หุ้นปันผลสูงถือไม่เกิน 2 เดือนรับยีลด์ตั้งแต่ 4.8-7.4% ไม่นับปันผลระหว่างกาลที่จ่ายไปก่อนหน้านี้ ดาวเด่นรอบนี้มี TMT, TISCO, KTB, DELTA, BTSGIF และ AP ส่วนปี 57 หุ้นปันผลงาม ตั้งแต่ 6-9% อาทิ หุ้น SRICHA, BTSGIF, CPNRF, TMT, CSL, MODERN, DCC, LPN, HEMRAJ,  BCP, INTUCH, BECL, LH, MK, LHK, TTW, BTS, SPALI, KTB, QH, TISCO, DELTA , ADVANC, SC, AP และPTTGC

        ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ดีบีเอส วิคเคอร์ส จำกัด ระบุว่า หุ้นปันผลสูง (High Dividend Yield Stock) เป็นหุ้นอีกกลุ่มที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวน เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดงบประจำปี 2556 ซึ่งถือเป็นผลประกอบการประจำปีที่ผ่านมา และจะมีหลักทรัพย์จำนวนมากที่ใกล้ประกาศจ่ายเงินปันผล สำหรับงวดประจำไตรมาส, ครึ่งปีหลัง หรือตลอดทั้งปี 2556
        ส่วนใหญ่หุ้นที่จะประกาศจ่ายปันผลภายหลังจากชี้แจงงบเรียบร้อยแล้ว จะกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกปี โดยฝ่ายวิเคราะห์ได้คาดการณ์หุ้นที่คาดว่าจะจ่ายเงินปันผลที่เป็นRemaining Yield  หรือเรียกว่า ได้มีการหักปันผลระหว่างกาลไปแล้ว สูงกว่า 4.5%
        อาทิ หุ้น บริษัท ค้าเหล็กไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMT อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 7.4%, หุ้นบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 6.1%, หุ้นธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 5.2%
        หุ้นบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 5.2%, หุ้นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท  อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 5.0% และหุ้นบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AP อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 4.8%
        นอกจากนี้ยังมีรายชื่อหุ้นที่คาดว่าจะจ่ายปันผลจากผลประกอบการงวดปี 2557 ในเกณฑ์สูงระดับ 6-9% โดยจะเรียงจากมากไปหาน้อย อาทิ หุ้นบริษัท ศรีราชาคอนสตรัคชั่น จำกัด  (มหาชน) หรือ SRICHA, กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF), กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ CPN รีเทล โกรท (CPNRF), หุ้นบริษัท ค้าเหล็กไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMT
        หุ้นบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน)หรือ CSL, หุ้นบริษัท โมเดอร์นฟอร์มกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MODERN, หุ้นบริษัท ไดนาสตี้เซรามิค จำกัด (มหาชน) หรือ DCC, หุ้นบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN, หุ้นบริษัท เหมราชพัฒนาที่ดิน จำกัด (มหาชน) หรือ HEMRAJ, หุ้นบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP
        หุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH, หุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL, หุ้นบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH, หุ้นบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK, หุ้นบริษัท โลหะกิจ เม็ททอล จำกัด (มหาชน) หรือ  LHK, หุ้นบริษัท น้ำประปาไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TTW
        หุ้นบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS, หุ้นบริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI, หุ้นธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB, หุ้นบริษัท ควอลิตี้เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ QH, หุ้นบริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO,  หุ้นบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA
        หุ้นบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC, หุ้นบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC, หุ้นบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ  AP และหุ้น บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

Like two countries | The Economist

Like two countries | The Economist


IN THAILAND, governments are made in the provinces and unmade in the capital. The unmaking part has always come relatively easy. Five weeks ago, mass protests in Bangkok against the government forced the prime minister, Yingluck Shinawatra, to call an early election. Her Pheu Thai party, which is the third incarnation of a party founded by her brother, the former prime minister Thaksin Shinawatra, was prepared to win it. And so the protesters, led by Suthep Thaugsuban, a former deputy prime minister of the opposition Democrat Party, returned to the streets on January 13th. They are now demanding that the very process by which Thailand (usually) chooses its governments—ie elections—be junked.

The poll called by Ms Yingluck is still scheduled to happen on February 2nd. But it is looking unlikely to go ahead. For a start, the Election Commission does not want to hold it on that date. Then the pro-royalist Democrat Party is boycotting it—not because it would be unfair (though it might be), but because it would lose. Mr Suthep instead wants to give a “people’s council” of “good men” 18 months to run Thailand, time for them to implement a fuzzy reform agenda whose main objective is to rid the government of the whole Shinawatra family. As it stands Ms Yingluck holds the first position on Pheu Thai’s candidate list, followed by her brother-in-law, in the second spot, and then her cousin, the current foreign minister, in fourth place.

The government actually has offered to delay the poll, but only if Mr Suthep calls off his campaign. But he seems to have foresworn negotiating and this week he boasted that he has enough cash to fight the “Thaksin regime”, as he calls it, for a year. Mr Suthep also called for the prime minister herself to be “detained”. The rhetoric from the protesters’ podiums at the capital’s main intersections is getting nastier. From one, a speaker, a university professor, called for the sexual assault of Ms Yingluck.

The government’s strategy has been to back off and wait for Mr Suthep’s tantrum to end. It has become hard to envision a compromise. For Mr Suthep’s followers another government voted in by rural voters from the north and north-east (whom they often call “water buffaloes”) would be intolerable. Equally intolerable, to Ms Yingluck’s supporters, would be the unelected return of the Democrats, whose political enemies tend to call them “cockroaches”.

Ms Yingluck must fear that violence in the streets might trigger a coup. The pressure has been mounting. On the day before the anti-government protesters began this most recent phase of their drawn-out campaign to shut down Bangkok and force out the Shinawatras, Ms Yingluck was reported to be mulling resignation. The story goes that it was her brother Thaksin who talked her out of it, over a Skype call from his refuge in Dubai.

The Shinawatras may be loathed by the traditional elite (and millions more, who hope someday to join it) for treating the state as an open till, but they still hold the cards. Paralysing a city the size of Bangkok is an impressive feat, requiring great numbers. But there were probably at least as many pro-government supporters out and about in the provinces. They are calling for the government to go ahead with the election as it was planned. Thida Thavornseth of the United Front for Democracy Against Dictatorship (UDD) says she has asked her supporters to refrain from wearing the red shirts that have become their symbol. Her goal is to avoid violent conflict, but she warns that the UDD would resist a coup.

Postponing the elections, which is probably unavoidable, will open a bundle of legal questions. Most crucially, it might be that in the case of a delayed election the king, Bhumibol Adulyadej, has the authority to appoint an interim prime minister. This is a scenario Ms Yingluck’s Pheu Thai party is keen to avoid. To her red-shirted supporters it would be as intolerable as a military coup. One part of the army sides with the provinces: these are the “watermelons”, green on the outside, red on the inside. It is with a view to this division that some news agencies have taken to murmuring about the possibility of a civil war.

It seems that only the king will be capable of shutting down Mr Suthep. But the 86-year-old monarch’s vigour is fading, and so too is the role of the palace. It has at times provided an anchor for Thailand’s frail democracy. But the hope that a proper system of checks and balances would evolve in its shadow has been dashed in recent years. The establishment, led by the monarchist Democrats, regards the red-shirt movement as an unwashed rabble in the sway of Mr Thaksin. In fact they are a broad-based response to a broken political system.

Mr Suthep may or may not achieve his objective. He is likely to be ruined either way. If he wins, and imposes a parallel government, he could well be assassinated. If he loses, he will be charged with treason, and could hang. The Democrats do not have a discernible strategy. For now, the party is along for a ride hoping that the next government will be formed by some means of selection other than a legitimate election.

For instance, large numbers of Pheu Thai politicians could be banned from standing for office. The anti-corruption commission is pressing charges against 308 former MPs and senators, most of them from the Pheu Thai party, for voting to make the upper house fully elected (a court had ruled in November that such a change would be unconstitutional). But at this point the chatter of a judicial coup is meaningless. There is at present no parliament at all, such as might be closed down or filled by new elections. More likely, delaying the vote would give Pheu Thai the chance to adjust to any adverse finding from the commission by naming new candidates for office.

Until the next royal succession, the current political conflict is likely to ebb and flow, but not to be resolved. The inevitability of a successor coming along relatively soon makes the prospect of a coup unattractive for the army. To stage a coup and then back an appointed government, as the army did in 2006, would only be safe for as long as the current king is alive. The day the crown prince accedes to the throne he could oust the coupmakers and appoint his own lot of generals. So unless protesters shut down airports or disable crucial infrastructure the army will stay put. It must also fear a backlash by the red shirts and however many enlisted men and officers are loyal to them.

The irony has probably not escaped the generals. If Mr Suthep is successful he will probably hasten the decline of the very thing that he claims to want to protect—the monarchy.

(Picture credit: AFP)

Correction: The anti-corruption commission is pressing charges against 308 former MPs and senators, not 308 MPs as we originally wrote.

posted from Bloggeroid

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

3แบงก์รับกำไรอ้วนพี TMBตามนัด5.7พันล.

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: 3แบงก์รับกำไรอ้วนพี
TMBตามนัด5.7พันล.
ข่าวหน้าหนึ่ง วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 53 คน
ธนาคาร พาณิชย์ 3 แห่ง รายงานผลประกอบการปี 56 กำไรพุ่งถ้วนหน้าไทยพาณิชย์ 5 หมื่นล้าน เพิ่ม 28% กสิกรไทย 4.13 หมื่นล้าน เพิ่ม 15% ส่วนทีเอ็มบีสุดเด่น กำไร 5.7 พันล้าน เอ็นพีแอลวูบ เงินกองทุนสุดแข็ง พี/อีวูบ เหลือ 16 เท่า



นาย ปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า สำหรับปี 56 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 41,325 ล้านบาท โดยเป็นกำไรจากการดำเนินงานก่อนภาษีเงินได้จำนวน 56,303 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 7,322 ล้านบาท หรือ 14.95%

สำหรับ ปี 56 เปรียบเทียบกับปี 55 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนภาษีเงินได้จำนวน 56,303 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 7,322 ล้านบาท หรือ 14.95% ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจำนวน 9,216 ล้านบาท หรือ 14.50% โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (NIM) อยู่ที่ระดับ 3.55% รวมถึงรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจำนวน 7,429 ล้านบาท หรือ 18.24% เป็นผลมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ และรายได้เบี้ยประกันภัยรับสุทธิที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอก จากนี้ อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่นๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Efficiency ratio) ในปีนี้อยู่ที่ระดับ 43.74% โดยธนาคารระมัดระวัง และชะลอการใช้จ่ายเนื่องจากความไม่แน่นอนจากสภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งในปี 56 ธนาคารตั้งสำรองการด้อยค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องจำนวน 1,566 ล้านบาท

ประกอบ กับการกลับรายการประมาณการส่วนแบ่งขาดทุนจากการบริหารสินทรัพย์ของบสท. ส่วนที่ตั้งไว้เกินจำนวน 1,159 ล้านบาท รวมทั้งการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 23% เป็น 20% ในปี 56 ทำให้กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคารในปีนี้มีจำนวน 41,325 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 6,065 ล้านบาท หรือ 17.20%

ส่วน ในไตรมาส 4/56 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานจำนวน 9,527 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนจำนวน 1,186 ล้านบาท หรือ 11.07% โดยรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในไตรมาสนี้ ประกอบด้วย รายได้ดอกเบี้ย เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนจำนวน 769 ล้านบาท หรือ 2.83%

ราย ได้ดอกเบี้ยรับจากเงินลงทุน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนจำนวน 326 ล้านบาท หรือ 8.90% เนื่องจากมีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ รายได้ดอกเบี้ยรับจากเงินให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนจำนวน 427 ล้านบาท หรือ 1.99% ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณเงินให้สินเชื่อเฉลี่ย

นาย บุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB กล่าวว่า ผลประกอบการงวดปี 56 โดยธนาคารและบริษัทย่อยมีผลกำไรจากการดำเนินงานหลักก่อนสำรองจำนวน 14,409 ล้านบาทเพิ่มขึ้นประมาณ 39% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และมีกำไรสุทธิ 5,737 ล้านบาท

ขณะ ที่สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL Ratio) ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 4.10% เหลือ 3.87% แต่เพื่อรองรับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนธนาคารตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษทำ ให้สำรองทั้งปีมีจำนวนทั้งสิ้น 7,613 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) เพิ่มจาก 113% เป็น 140%

สำหรับ การเพิ่มฐานลูกค้าเงินฝากรายย่อยทำให้เงินฝากเติบโตประมาณ 33,500 ล้านบาท หรือ 7% จากสิ้นปีก่อนหน้า และฐานเงินฝากของลูกค้ารายย่อยเพิ่มขึ้นเป็น 69% ซึ่งการเติบโตนี้ทำให้ธนาคารมีฐานเงินฝากที่มั่นคงยิ่งขึ้น ส่วนสินเชื่อธนาคารสามารถขยายสินเชื่อได้ประมาณ 46,800 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อนหน้า

โดย เป็นผลจากการขยายตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ซึ่งเงินให้สินเชื่อธุรกิจขนาดเล็กมีอัตราการขยายตัวมากที่สุดทำให้ผลตอบแทน ของสินเชื่อรวมดีขึ้น โดยเมื่อประกอบกับการบริหารต้นทุนทางการเงินที่ดีทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยรับ (NIM) เพิ่มขึ้นเป็น 3.12% จาก 2.73% ในปีก่อนหน้า ส่งผลให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 22% ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้น 19% ทำให้มีรายได้จากการดำเนินงานรวมเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 18% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

อย่าง ไรก็ตาม ได้ตั้งสำรองพิเศษเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา โดยนอกจากสำรองของธุรกิจปกติสุทธิ 2,670 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 /56 ธนาคารตั้งสำรองพิเศษเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากวัฏจักรเศรษฐกิจจำนวน 4,143 ล้านบาท และไตรมาส 4 ธนาคารเพิ่มเติมสำรองทั่วไปอีก 800 ล้านบาท เพื่อรองรับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทำให้สำรองของทั้งปีมีความแข็งแกร่งส่ง ผลให้สัดส่วนสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ของธนาคารและบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 140% จาก 113% ณ สิ้นปีก่อนหน้า

นอก จากนี้ ธนาคารยังคงดำรงสถานะการเงินที่แข็งแกร่งมีระดับความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) ภายใต้เกณฑ์ Basel III อยู่ที่ 15.9% โดยเป็นกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) ในสัดส่วน 10.6 % ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งกำหนดไว้ที่ 8.5% และ 6% ตามลำดับ

ทั้ง นี้ จากผลประกอบการของทีเอ็มบีในปี 2556 เมื่อนำมาคำนวณหาค่าพี/อี พบว่า ก่อนจะนำกำไรไตรมาส 4/56 มารวมนั้น พี/อี อยู่ที่ 48 เท่า แต่เมื่อนำกำไรไตรมาส 4 เข้ามาคำนวณพี/อี ปรับลงเหลือ 16 เท่า

นาย วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB กล่าวว่า ผลประกอบการปี 56 กำไรสุทธิจำนวน 50,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% จากปี 55 ปัจจัยหลักขับเคลื่อนกำไรสุทธิที่ดีนี้มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ย การเติบโตที่แข็งแกร่งของค่าธรรมเนียมรับ รายได้สุทธิจากการรับประกันภัย และรายได้อื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย

และ ด้วยหลักการดำเนินงานด้วยความระมัดระวังธนาคารตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่ม ขึ้น เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ขณะที่คุณภาพของสินเชื่อโดยรวมของธนาคารยังทรงตัวในระดับดีสำหรับไตรมาสที่ 4/56 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 11,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 26.3%

ราย ได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 17.6% เป็น 73,000 ล้านบาท จากการขยายตัวของสินเชื่อที่เติบโต 12.1% จากปีก่อน การเพิ่มขึ้นอย่างมากของอัตราผลตอบแทนจากสินเชื่อ และการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์สภาพคล่องขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ตามปริมาณเงินฝากที่เติบโต 12.9% จากปีก่อน

ราย ได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 23.6% เป็น 51,000 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของค่าธรรมเนียมและรายได้จากการรับประกันภัย 16.4% รายได้จากเงินปันผลและรายได้จากการลงทุนเพิ่มในระดับสูง และรายได้จากการปริวรรรต และค้าเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 20.9%

แม้ ว่าธนาคารจะมีผลประกอบการจากการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง แต่ด้วยหลักการดำเนินงานด้วยความระมัดระวัง ในปี 2556 ธนาคารทำการตั้งสำรองในระดับสูงเป็นจำนวนรวม 13,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,200 ล้านบาท หรือ 45.2% เมื่อเทียบกับปี 2555 ซึ่งตั้งไว้ที่ 9,400 ล้านบาท ทั้งนี้ อัตราสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคาร (NPL Ratio) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2556 คงที่ อยู่ที่ระดับ 2.14% โดยอัตราสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นจาก 144.8% ณ สิ้นปี 2555 เป็น 150.8% ณ สิ้นปี 2556

posted from Bloggeroid

คลังรีดปันผล‘บจ.’เพิ่ม รายย่อยรอรับส้มหล่น

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: คลังรีดปันผล‘บจ.’เพิ่ม
รายย่อยรอรับส้มหล่น
ข่าวหน้าหนึ่ง วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 52 คน
คลังสั่งรีดปันผลรัฐวิสาหกิจในตลาดฯเพิ่ม AOT, PTT, MCOT และ TMB เข้าตา ผลประกอบการดี สภาพคล่องสูง เผยปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่ยังจ่ายขั้นต่ำ ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยส้มหล่นได้รับเงินปันเพิ่มด้วย เริ่ม ก.พ.นี้



แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เผยว่า หลังจากที่รายได้ของกรมภาษี ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมประท้วงที่ยืดเยื้อ คลังจึงมีแผนที่จะขอให้รัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์นำส่งรายได้เพิ่ม ในรูปของเงินปันผล จากปีนี้ที่ตั้งเป้าไว้กว่า 1 แสนล้านบาท

โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่มีสภาพคล่องและกระแสเงินสดสูง จะต้องนำส่งเพิ่มขึ้น อาทิ การท่าอากาศยานไทย หรือ AOT บมจ.ปตท. หรือ PTT บมจ.อสมท หรือ MCOT แบงก์ทหารไทย หรือ TMB ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เพื่อชดเชยรายได้จากกรมภาษีที่คาดว่าจะเก็บได้ต่ำกว่าเป้าในปีนี้

ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยของรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในตลาดฯ จะได้รับอานิสงส์ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งบริษัทจดทะเบียนจะเริ่มทยอยประกาศจ่ายปันผลงวดปี 2556 ในเดือนก.พ.นี้ อาทิ ปตท.

ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ถือหุ้นใน AOT ทั้งสิ้น 70% ถือในปตท. สัดส่วน 51% และถือผ่านกองทุนวายุภักษ์อีก 15% ถือใน บมจ.อสมทสัดส่วน 66% ถือในแบงก์ทหารไทย สัดส่วน 26% ขณะที่คาดว่าผลประกอบการของ AOT ปีที่ผ่านมาจะออกมาดี มีกำไรค่อนข้างสูง และอัตราการจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นทุกปี

โดย AOT มีนโยบายจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 25% ของกำไรสุทธิ แต่ในปีที่ผ่านมาจ่ายมากกว่าอัตราขั้นต่ำทุกตัว โดยเฉพาะ AOT ในปีที่ผ่านมาจ่ายในมากกว่าอัตรา 40%

ด้าน PTT มีนโยบายจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 25% ของกำไรสุทธิ แต่ในปีที่ผ่านมาจ่ายมากกว่าอัตราขั้นต่ำทุกตัว โดยเฉพาะ PTT ในปีที่ผ่านมาจ่ายในมากกว่าอัตรา 40% ขณะที่ MCOT มีนโยบายจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ และ TMB มีนโยบายจ่ายปันผล ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของธนาคาร จ่ายในอัตราที่สูงกว่าขั้นต่ำทั้งสิ้น

สำหรับการจ่ายเงินปันผลย้อนหลัง 5 ปี ของ AOT ปี 2556 จ่าย 4.6 บาทต่อหุ้น ปี 2555 จ่าย 1.8 บาทต่อหุ้น ปี 2554 จ่าย 0.8 บาทต่อหุ้น ปี 2553 จ่าย 0.55 บาทต่อหุ้น ปี 2552 จ่าย 0.42 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดทุกปี PTT ที่ผ่านมา ปี 2556 จ่าย 13 บาทต่อหุ้น ปี 2555 จ่าย 12 บาทต่อหุ้น ปี 2554 จ่าย 11 บาทต่อหุ้น ปี 2553 จ่าย 9.25 บาทต่อหุ้น ปี 2552 จ่าย 6 บาทต่อหุ้น

MCOT ปี 2556 จ่าย 2.3 บาทต่อหุ้น ปี 2555 จ่าย 2.0 บาทต่อหุ้น ปี 2554 จ่าย 2.1 บาทต่อหุ้น ปี 2553 จ่าย 1.85 บาทต่อหุ้น ปี 2552 จ่าย 1.60 บาทต่อหุ้น

TMB ปี 2556 จ่าย 0.033 บาทต่อหุ้น ปี 2555 จ่าย 0.03 บาทต่อหุ้น ปี 2554 จ่าย 0.015 บาทต่อหุ้น ปี 2553 ไม่ได้จ่ายปันผล ปี 2552 ไม่ได้จ่ายปันผล

posted from Bloggeroid

JASเตรียมแรลลี่ยาว ฝรั่งซื้อหนัก111ล้านหุ้น ‘แมคควอรี’ เก็บอีก 92.86 ล้านหุ้นไว้อ้างอิง DW

JASเตรียมแรลลี่ยาว
ฝรั่งซื้อหนัก111ล้านหุ้น
‘แมคควอรี’ เก็บอีก 92.86 ล้านหุ้นไว้อ้างอิง DW
ข่าวหน้าหนึ่ง วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 13 คน
4 ประเด็นดัน JAS วิ่งฉิว หลังต้นปี 57 ยอดซื้อหุ้นผ่านNVDR จำนวน 111.02 ล้านหุ้น แถมหุ้นบวกต้องทำ cover short อีก 46 ล้านหุ้น ส่วนบล.แมคควอรี (ประเทศไทย) ยังต้องซื้อหุ้น JAS ไว้อ้างอิงอีก 92.86 ล้านหุ้น เพื่อออก ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) ปิดท้าย บล.เครดิตสวิส เชียร์ซื้อ เป้าหมาย 9.30 บาท



รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ยอดการซื้อหุ้นสุทธิผ่านบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด (NVDR) ตั้งแต่ช่วงวันที่ 2-15 มกราคม 2557 รวมระยะเวลา 10 วันทำการ พบว่า มียอดการซื้อหุ้นบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS จำนวน 111,020,900 หุ้น หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง กล่าวว่า แม้ช่วงที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติจะมีการซื้อขายหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา แบบไม่แน่นอน แต่ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้น JAS มีแรงซื้อกลับมาติดต่อกันต่อเนื่องหลายวันทำการ แม้ตลาดหุ้นจะมีความผันผวนก็ตามที

“นักลงทุนต่างชาติที่ซื้อหุ้นผ่านไทยเอ็นวีดีอาร์ช่วงนี้ส่วนใหญ่จะเลือกเล่นเป็นรายตัว โดยจะเน้นเลือกหุ้นพื้นฐานดีราคาปรับตัวลงมาต่ำ และมีสภาพคล่องสูง ซึ่งหุ้น JAS ถือเป็นหนึ่งในหุ้นยอดนิยมของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจะดูได้จากยอดการซื้อขาย รวมถึงยอดการชอร์ตเซล ที่ติดอันดับ 1 ใน 20 รายแรก และมีปริมาณการยืมหุ้นมาชอร์ตไม่น้อยเลยทีเดียว” นักวิเคราะห์ กล่าว

ทั้งนี้ การเข้ามาซื้อสุทธิของ NVDR ถือเป็นเกณฑ์หนึ่งที่สามารถชี้นำการเข้าซื้อหุ้นกลับคืน หลังจากที่ก่อนหน้านี้เทขายหนัก จากนักลงทุนต่างชาติได้ และเป็นที่น่าสังเกตว่านักลงทุนต่างชาติที่ซื้อหุ้นผ่าน NVDR รอบนี้ ส่วนใหญ่จะซื้อหุ้นสื่อสารเป็นหลัก

สำหรับข้อมูลการชอร์ตเซล หุ้น JAS ช่วงวันที่ 2-15 มกราคม 2557 มีปริมาณหุ้นที่ขายชอร์ตออกไปจำนวน 46,910,500 หุ้น หรือคิดเป็นมูลค่า 301,541,640 บาท ซึ่งหากราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมา ทำให้นักลงทุนที่ชอร์ตเซลหุ้นออกไป ต้องรีบซื้อหุ้นคืนกลับมา เพื่อปิดสถานะ ไม่เช่นนั้นอาจจะได้รับผลกระทบจากหุ้นที่ถูกชอร์ตออกไปโดยยังไม่ปิดสถานะ หรือซื้อหุ้นคืน

ดังนั้น การปรับตัวขึ้นมาของหุ้น JAS รอบนี้ นอกจากการเข้าซื้อของนักลงทุนต่างชาติผ่านไทยเอ็นวีดีอาร์แล้ว ยังมียอดการซื้อหุ้นคืน (Cover short) จากก่อนหน้าที่มีการชอร์ตขายหุ้นออกไปเกือบ 50 ล้านหุ้น ประกอบกับ บล.เครดิต สวิส จำกัด ระบุว่า ปรับเป้าหมายราคาหุ้น JAS ใหม่ โดยราคาหุ้นต่ำกว่าพื้นฐาน (outperform) โดยมีมุมมองเชิงบวก ราคาเป้าหมาย 9.30 บาท

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการที่บริษัทหลักทรัพย์ แมคควอรี (ประเทศไทย) จำกัด (MSTL) ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) ที่อ้างอิงหุ้น JAS ที่มีชื่อว่า JAS28C1406B โดยจะมีกำหนดวันที่เริ่มทำการซื้อขาย วันที่ 17 มกราคม 2557 จำนวน 325 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นมูลค่า 328.25 ล้านบาท อัตราการใช้สิทธิ (DW : หุ้นสามัญอ้างอิง) สัดส่วน DW 3.50 หน่วยต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคาการใช้สิทธิ 7 บาท

posted from Bloggeroid

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

JASเตรียมแรลลี่ยาว ฝรั่งซื้อหนัก111ล้านหุ้น ‘แมคควอรี’ เก็บอีก 92.86 ล้านหุ้นไว้อ้างอิง DW

JASเตรียมแรลลี่ยาว
ฝรั่งซื้อหนัก111ล้านหุ้น
‘แมคควอรี’ เก็บอีก 92.86 ล้านหุ้นไว้อ้างอิง DW
ข่าวหน้าหนึ่ง วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 13 คน
4 ประเด็นดัน JAS วิ่งฉิว หลังต้นปี 57 ยอดซื้อหุ้นผ่านNVDR จำนวน 111.02 ล้านหุ้น แถมหุ้นบวกต้องทำ cover short อีก 46 ล้านหุ้น ส่วนบล.แมคควอรี (ประเทศไทย) ยังต้องซื้อหุ้น JAS ไว้อ้างอิงอีก 92.86 ล้านหุ้น เพื่อออก ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) ปิดท้าย บล.เครดิตสวิส เชียร์ซื้อ เป้าหมาย 9.30 บาท



รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ระบุว่า ยอดการซื้อหุ้นสุทธิผ่านบริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด (NVDR) ตั้งแต่ช่วงวันที่ 2-15 มกราคม 2557 รวมระยะเวลา 10 วันทำการ พบว่า มียอดการซื้อหุ้นบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS จำนวน 111,020,900 หุ้น หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 700 ล้านบาท

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่ง กล่าวว่า แม้ช่วงที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติจะมีการซื้อขายหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา แบบไม่แน่นอน แต่ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา หุ้น JAS มีแรงซื้อกลับมาติดต่อกันต่อเนื่องหลายวันทำการ แม้ตลาดหุ้นจะมีความผันผวนก็ตามที

“นักลงทุนต่างชาติที่ซื้อหุ้นผ่านไทยเอ็นวีดีอาร์ช่วงนี้ส่วนใหญ่จะเลือกเล่นเป็นรายตัว โดยจะเน้นเลือกหุ้นพื้นฐานดีราคาปรับตัวลงมาต่ำ และมีสภาพคล่องสูง ซึ่งหุ้น JAS ถือเป็นหนึ่งในหุ้นยอดนิยมของนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจะดูได้จากยอดการซื้อขาย รวมถึงยอดการชอร์ตเซล ที่ติดอันดับ 1 ใน 20 รายแรก และมีปริมาณการยืมหุ้นมาชอร์ตไม่น้อยเลยทีเดียว” นักวิเคราะห์ กล่าว

ทั้งนี้ การเข้ามาซื้อสุทธิของ NVDR ถือเป็นเกณฑ์หนึ่งที่สามารถชี้นำการเข้าซื้อหุ้นกลับคืน หลังจากที่ก่อนหน้านี้เทขายหนัก จากนักลงทุนต่างชาติได้ และเป็นที่น่าสังเกตว่านักลงทุนต่างชาติที่ซื้อหุ้นผ่าน NVDR รอบนี้ ส่วนใหญ่จะซื้อหุ้นสื่อสารเป็นหลัก

สำหรับข้อมูลการชอร์ตเซล หุ้น JAS ช่วงวันที่ 2-15 มกราคม 2557 มีปริมาณหุ้นที่ขายชอร์ตออกไปจำนวน 46,910,500 หุ้น หรือคิดเป็นมูลค่า 301,541,640 บาท ซึ่งหากราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมา ทำให้นักลงทุนที่ชอร์ตเซลหุ้นออกไป ต้องรีบซื้อหุ้นคืนกลับมา เพื่อปิดสถานะ ไม่เช่นนั้นอาจจะได้รับผลกระทบจากหุ้นที่ถูกชอร์ตออกไปโดยยังไม่ปิดสถานะ หรือซื้อหุ้นคืน

ดังนั้น การปรับตัวขึ้นมาของหุ้น JAS รอบนี้ นอกจากการเข้าซื้อของนักลงทุนต่างชาติผ่านไทยเอ็นวีดีอาร์แล้ว ยังมียอดการซื้อหุ้นคืน (Cover short) จากก่อนหน้าที่มีการชอร์ตขายหุ้นออกไปเกือบ 50 ล้านหุ้น ประกอบกับ บล.เครดิต สวิส จำกัด ระบุว่า ปรับเป้าหมายราคาหุ้น JAS ใหม่ โดยราคาหุ้นต่ำกว่าพื้นฐาน (outperform) โดยมีมุมมองเชิงบวก ราคาเป้าหมาย 9.30 บาท

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะการที่บริษัทหลักทรัพย์ แมคควอรี (ประเทศไทย) จำกัด (MSTL) ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (DW) ที่อ้างอิงหุ้น JAS ที่มีชื่อว่า JAS28C1406B โดยจะมีกำหนดวันที่เริ่มทำการซื้อขาย วันที่ 17 มกราคม 2557 จำนวน 325 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นมูลค่า 328.25 ล้านบาท อัตราการใช้สิทธิ (DW : หุ้นสามัญอ้างอิง) สัดส่วน DW 3.50 หน่วยต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคาการใช้สิทธิ 7 บาท

posted from Bloggeroid

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

SCBแชมป์กำไรกลุ่มแบงก์ งบทั้งปีโกยไป5หมื่นล้าน

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: SCBแชมป์กำไรกลุ่มแบงก์
งบทั้งปีโกยไป5หมื่นล้าน
แบงก์ไทยพาณิชย์ฝีมือโชว์กำไรปี 2556 สูงสุดในกลุ่มแบงก์ กว่า 5 หมื่นล้านบาท รองลงมากสิกรไทย และแบงก์กรุงเทพ ทหารไทยกำไรโตมากสุดกว่า 263% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ 9 แบงก์กำไรสุทธิรวม 1.95 แสนล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 21.72%



นายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กรุงศรี กล่าวว่า ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 4/56 ของกลุ่มจะไม่โดดเด่น แต่เป็นเพราะปัจจัยฤดูกาลที่ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มสูงสุด ประกอบกับการตั้งสำรองหนี้เพิ่มขึ้น ด้านการลงทุนให้น้ำหนักการลงทุนในเรื่องแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 57 และผลตอบแทนในการลงทุนมากกว่า

แม้ว่าผลการดำเนินงานปี 57 ของกลุ่มจะเติบโตอัตราชะลอตัวเทียบกับในปี 56 แต่หุ้นธนาคารมีความน่าสนใจลงทุนจากมุมมองด้านการประเมินมูลค่า (Valuation) และงบดุลที่แข็งแกร่งคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคารเท่ากับตลาดเลือก KBANK KTB เป็น Top pick

สำหรับกำไรสุทธิรวมงวดไตรมาส 4/56 ต่ำสุดของปี แต่ยังเพิ่มขึ้นแข็งแกร่ง 48.7% จากปีก่อนหน้า โดยกำไรสุทธิรวมของ 9 ธนาคาร (BBL, KBANK, KK, KTB, LHBANK, SCB, TCAP, TISCO, TMB) ต่ำที่สุดของปีที่ 4.09 หมื่นล้านบาท ลดลง 13.3% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมาจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ KTB ที่คาดว่าจะมีการตั้งสำรองหนี้พิเศษ และค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มขึ้นตามปัจจัยฤดูกาล

อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิของกลุ่มจะเติบโตสูง 48.7% จากปีก่อนหน้า ซึ่งมาจากหลายปัจจัยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิขยายตัวตามสินเชื่อ รายได้ค่าธรรมเนียม รายได้จากธุรกิจประกันเพิ่มขึ้น กำไรจากเงินลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ KTB, SCB, TCAP รับรู้กำไรจากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนวายุภักษ์ที่สิ้นสุดโครงการสิ้นเดือนพ.ย. 56 รวมกว่า 4 พันล้านบาท

ส่วนผลการดำเนินงานทั้งปี 56 คาดการณ์กลุ่มจะมีกำไรสุทธิรวม 1.95 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% จากปีก่อนหน้ามาจากการเติบโตของรายได้หลัก เช่น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ และรายได้ค่าธรรมเนียม โดยเฉพาะธุรกิจ bancassurance กองทุนรวม และหลักทรัพย์

ด้านคุณภาพสินเชื่อ แม้หนี้เสียยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นเป็นไตรมาสที่ 4 ติดต่อกัน ส่วนใหญ่จากสินเชื่อบุคคล และสินเชื่อ SME ขนาดเล็กที่ค่อนข้างอ่อนไหวกับเศรษฐกิจ แต่ในภาพรวมคุณภาพสินเชื่อยังอยู่ในการควบคุม และ NPL ratio น่าจะทรงตัวที่ 3% ขณะที่การตั้งสำรองหนี้เพิ่มในไตรมาส 4 จะทำให้ coverage ratio ปรับขึ้นเป็น 136%

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) คาดการณ์กำไรไตรมาส 4/56 อยู่ที่ 12,080 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 9,307 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 30% แต่ถ้าเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 12,721 ล้านบาท ลดลง 5%

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คาดการณ์กำไรไตรมาส 4/56 อยู่ที่ 8,883 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 7,692 ล้านบาท หรือ 15% แต่ถ้าเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 10,713ล้านบาท ลดลง 17%

ธนาคารกรุงเทพ (BBL) คาดการณ์กำไรไตรมาส 4/56 อยู่ที่ 8,094 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 7,419 ล้านบาท หรือ 9% แต่ถ้าเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 8,955 ล้านบาท ลดลง 10%

ธนาคารกรุงไทย (KTB) คาดการณ์กำไรไตรมาส 4/56 อยู่ที่ 6,486 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 719 ล้านบาท หรือ 803% แต่ถ้าเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าอยู่ที่ 8,912 ล้านบาท ลดลง 27%

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กำไรสุทธิไตรมาส 4/56 จะอยู่ที่ 3,435 ล้านบาท ลดลง 9.5% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 8.5% จากปีก่อนหน้า โดยสินเชื่อเติบโตสูงที่ 3.9% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกลุ่มสินเชื่อธุรกิจ

ธนาคารทหารไทย (TMB) คาดการณ์กำไรไตรมาส 4/56 อยู่ที่ 1,697 ล้านบาท พลิกมีกำไรจากขาดทุนในไตรมาส 4/55 เนื่องจากตั้งสำรอง แต่ถ้าเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าลดลง 9% อยู่ที่ 1,870 ล้านบาท

ทุนธนชาต (TCAP) คาดการณ์กำไรไตรมาส 4/56 อยู่ที่ 1,613 ล้านบาท ลดลง 5% จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้าที่ทำได้ 1,696 ล้านบาท แต่ถ้าเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าลดลง 3% ที่ทำได้ 1,661 ล้านบาท

ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) มีกำไรสุทธิไตรมาส 4/13 ที่ 804 ล้านบาท ลดลง 29% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 19% จากปีก่อนหน้า โดยทำให้กำไรสุทธิรวมรายปี 56 อยู่ที่ 4,249 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.68% จากปีก่อนหน้า

ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) คาดการณ์กำไตรมาส 4/56 อยู่ที่ 909 ล้านบาท ลดลง 15% จากปีก่อนหน้าที่ทำได้ 1,069 ล้านบาท แต่ถ้าเทียบจากไตรมาสก่อนหน้าลดลง 8% จากที่ทำได้ 990 ล้านบาท



ตารางสรุปผลประกอบการแบงก์ปี 2556

แบงก์

Q4/56

Q4/55

-+/YoY

ทั้งปี 56

ทั้งปี 55

-+/YoY

posted from Bloggeroid

ปิดมา 3 วัน แล้วยังไง?

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: ปิดมา 3 วัน แล้วยังไง?

คอลัมน์ วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 5 คน
สิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็น และก็ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะได้เห็น ก็ได้เห็นกันไปแล้ว นั่นคือ ปฏิบัติการปิดเมืองหลวงของสุเทพ เทือกสุบรรณ

ผ่านครบมา 3 วันแล้ว กระทบกระทั่งกันเพียงเล็กน้อย ไม่เกิดเหตุรุนแรงถึงขั้นให้ทหารออกมาปฏิวัติ การจราจรของประชาชนติดขัดบ้าง แต่ก็ไม่ถึงขั้นเป็นอัมพาต เดินทางไปไหนไม่ได้

หน่วยราชการก็ยังพอทำงานได้เป็นปกติ แม้จะถูกปิดล้อมรบกวน แต่ก็สามารถจะเคลื่อนย้ายที่ทำงานไปที่อื่นได้ และข้าราชการส่วนที่มาทำงานไม่ได้ ก็ยังสามารถนั่งทำงานอยู่ที่บ้านได้

ตลาดหุ้นก็ยังพอไปได้ครับ 3 วันทำการ แทนที่หุ้นจะถูกถล่มทลาย กลับปรับตัวสวนกระแสขึ้นมาได้ 21 จุด เงินบาทที่เคยอ่อนยวบยาบทะลุ 33 บาท/ดอลลาร์ไปแล้ว ก็แข็งค่าขึ้นมาอยู่ในระดับ 32.80/32.90 บาท

ถามว่า ยึดเมืองหลวงไปแล้ว 3 วัน ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ดังปรากฏ แล้วไงต่อ! กปปส.จะเดินหน้ากดดันรัฐบาลให้ลาออก ตั้งนายกฯคนดี และสภาคนดีต่อไปอย่างไร

นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะรัฐบาลจะลาออกก็ลาไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญ (ที่สุมหัวร่างกันมา) กำหนดล็อกให้รัฐบาลรักษาการต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารงาน

ถ้ารัฐบาลลาออกก่อน ก็คงหนีไม่พ้นจะโดนมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อีกอย่างไม่ต้องสงสัย

เรียกว่ามีแต่โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง

ถ้าไม่ลาออกก็โดนบีบจากกปปส.ซึ่งนับวันจะประกาศยกระดับการต่อสู้ขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้ายอมลาออกก็คงจะโดนกระบวนการสมคบคิดเล่นงานมาตรา 157 แน่นอน ตามยุทธศาสตร์ล้างเผ่าพันธุ์ระบอบทักษิณ

ส่วนจะเลื่อนการเลือกตั้งออกไป ก็ไม่มีกฎหมายใดรองรับไว้ให้อีก เพราะเมื่อมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯและกำหนดวันเลือกตั้ง 2 ก.พ.เอาไว้แล้ว

กฎหมายรัฐธรรมนูญ(ที่สุมหัวกันยกร่างมา) ก็ล็อกเอาไว้อีกว่า กกต.จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน หรืออย่างช้าภายในไม่เกิน 60 วัน

ยกเว้นมีเหตุภัยพิบัติหรือเหตุจากการจลาจล

แต่นี่ไม่มีเหตุจากภัยพิบัติแน่นอน เหตุการณ์ที่อาจเข้าข่ายการจลาจล ก็มีเพียงแค่ 8 จังหวัดภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร (ซึ่งก็รับสมัครได้ครบถ้วนทั้งส.ส.แบบบัญชีรายชื่อและส.ส.เขตเลือกตั้ง)

ส่วนที่เหลืออีก 68 จังหวัดในภาคเหนือ อีสาน และภาคกลางก็ยังเปิดรับสมัครได้สบายบรื๋อ เรียกว่าพื้นที่ฝ่ายข้างมากพร้อมแล้วสำหรับจัดการเลือกตั้ง

รัฐธรรมนูญ (ที่สุมหัวร่างกันมา) ยังมีบทบัญญัติผ่อนปรนให้มีการจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 180 วันสำหรับพื้นที่ซึ่งไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้เอาไว้ด้วย

ข้อเรียกร้องให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไปไม่ว่าจากฝ่ายใด จึงมีน้ำหนักน้อยกว่ามาก

รัฐบาลเหลือภูมิคุ้มกันเพียงอย่างเดียว คือ การยึดกุมความถูกต้องตามกฎหมาย แต่ที่ยังมีฤทธิ์ ออกอาละวาดปิดบ้าน ยึดเมืองกันได้ทุกวันนี้ ก็เพราะกระบวนการยุติธรรมอ่อนแอ

อุ้มชูกฎหมู่ให้เป็นกฎหมายอยู่ได้เท่านั้น

ฉะนั้น เมื่อรัฐบาลไม่ยอมลาออกให้มีระบอบการปกครองอันไม่พึงประสงค์เข้ามา และไม่ยอมเลื่อนการเลือกตั้ง (เพราะไม่มีกฎหมายข้อใดให้ทำได้)

กปปส.ของสุเทพก็ต้องยกระดับความรุนแรงในการต่อสู้เพิ่มขึ้นๆ โดยไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ อีกต่อไปแล้ว

เนื่องจากมีกระบวนการยุติธรรมลำเอียงให้ท้ายโดยตลอด

ตัดน้ำตัดไฟบ้านรัฐมนตรีก็ทำมาแล้ว ล่าสุดก็ประกาศจะจับตัวนายกฯยิ่งลักษณ์และรัฐมนตรีที่หมายหัวไว้อีก 7-8 คน

สุเทพเขาเป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่จะทำอะไรก็ได้ไปแล้ว

ผมเองก็อยากเห็น นายกฯหรือรัฐมนตรีสักรายสองราย ถูกสุเทพจับเหมือนกัน เพื่อจะได้พิสูจน์ความเสื่อมทรามของสถาบันยุติธรรมในประเทศนี้

posted from Bloggeroid

เก็งหุ้นอสังหา-ปันผล รับกนง.ลดดอก0.25%

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: เก็งหุ้นอสังหา-ปันผล
รับกนง.ลดดอก0.25%
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 6 คน
โบรกฯแนะทยอยเก็บสะสมหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์-ปันผลสูง รับประชุมกนง. วันที่ 22 มกราคมนี้ คาดรอบนี้ปรับลดอีก 0.25% กระตุ้นเศรษฐกิจ หุ้นอสังหาฯ LH, QH, LPN, SPALI เด่น ส่วนปันผลสูง แนะซื้อ SIRI, TICON, PYLON, DELTA, KTB, TOP, SRICHA

บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต แนะทยอยเก็บหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และหุ้นกลุ่มที่จ่ายปันผลสูง รับการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ซึ่งประเมินว่า กนง. มีโอกาสปรับลดดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุม 22 ม.ค.นี้ ด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอ และอัตราเงินเฟ้อในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำทำให้หุ้นที่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูง 6-7% อย่าง SAMART, BTS, INTUCH, HEMRAJ, ADVANC และ DCC มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นในเชิงเปรียบเทียบกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตร/เงินฝากประจำ โดยแนะนำให้ทยอยสะสมหุ้นอสังหาฯ จากคาดการณ์การประชุม กนง.วันที่ 22 ม.ค.นี้ น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เป็น 2.00% ชอบ LH, QH, LPN, SPALI และ ANAN สำหรับนักลงทุนที่ชื่นชอบหุ้นปันผล เริ่มทยอยเก็บได้ หุ้นที่อยู่ภายใต้การวิเคราะห์และคาดว่าจะให้ yield ที่เหลือสำหรับปี 56F ระหว่าง 4-9% (หักการจ่ายปันผลระหว่างกาลไปแล้ว) แนะนำ SIRI, TICON, PYLON, DELTA, KTB, TOP, SRICHA, SPALI, MCOT และ KKP

นายอธิป พีชานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI เปิดเผยว่า หากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากระดับปัจจุบัน จะส่งผลบวกให้เกิดการกระตุ้นกำลังซื้อในตลาดอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่อลดดอกเบี้ยจะช่วยลดภาระลูกค้า

โดยบริษัทเชื่อว่าปัจจุบันกลุ่มลูกค้าตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังมีกำลังซื้ออยู่มาก เพราะถึงแม้จะเกิดปัญหาการเมือง แต่ภาพรวมของเศรษฐกิจยังเดินหน้าต่อไปได้ ประกอบกับผู้คนส่วนใหญ่ยังมีรายได้อยู่ในระดับเท่าเดิมและไม่ได้ถูกปรับลดเงิน ดังนั้น ปัญหาการเมืองจึงอาจส่งผลต่อลูกค้าเกิดความไม่สะดวกในการเดินทางบ้างเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม บริษัทจะยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์การเมืองต่อเนื่อง เพื่อสามารถวางแผนและปรับกลยุทธ์ได้สอดคล้องต่อภาวะ ซึ่งเชื่อว่าหากไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรง ในเชิงระยะยาวแล้วภาพรวมของตลาดไม่น่าจะประสบปัญหาอะไรนัก

ด้านนายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI ประเมินว่า หากกนง.ปรับลดดอกเบี้ยลง จะส่งผลบวกกระตุ้นกำลังซื้อในระดับหนึ่ง เพราะจะช่วยลดค่าใช้จ่ายของลูกค้าลง แต่คงไม่ถึงขั้นกระตุ้นกำลังซื้อเพิ่มขึ้นได้ขนาดใหญ่มากนัก

นายกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ที่ผ่านมาตลาดมีการปรับตัวขึ้นมามากพอสมควร โดยให้แนวรับไว้ที่ 1,240-1,250 จุด ซึ่งมีโอกาสที่ดัชนีจะหลุดลงมาถึง 1,200 จุดได้ โดยถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากเกิดการ Take Profit (ทำกำไรในจุดที่เหมาะสม) ซึ่งปัจจัยทางการเมืองยังกดดันบรรยากาศการลงทุนต่อไป ประกอบกับ QE ยังส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเป็นครั้งคราว

สำหรับกลยุทธ์ระยะสั้นระวังแรงทำกำไร SET ปรับขึ้นมาใกล้กรอบแนวต้าน 1,310-1,320 จุด การเก็งกำไรเน้นหุ้น PBV ต่ำปันผลสูง KTB, TICON และ PS สำหรับระยะกลางยังคงมุมมองบวกเพียงแต่อยากให้สะสมหุ้นพื้นฐานดีในจังหวะอ่อนตัวมากกว่าไล่ราคาขึ้นไป โดยเฉพาะเกิน 1,300 จุดขึ้นไป

“ตลาดขึ้นมาเยอะ ปรับลงไป 1,250 จุดเป็นเรื่องธรรมดา เรามองว่าเกิดจาก Take Profit อีกอย่างการเมืองยังไม่จบง่ายๆ การลด QE ก็เข้ามากระแทกเป็นครั้งคราว โดยภาพรวมการลด QE เกิดขึ้นแน่ๆ ซึ่งหุ้นอาจมีการปรับฐานดัชนีอยู่ที่ 1,250 จุด โดยอาจมีลุ้นเด้งกลับขึ้นไปใหม่ได้ หรือ อาจลดมาถึง 1,200 จุดก็ไม่ใช่เรื่องแปลก” นายกวี กล่าว

posted from Bloggeroid

พยากรณ์โรคประเทศไทย ...หมดหวัง..แต่เพราะอะไร?

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: พยากรณ์โรคประเทศไทย ...หมดหวัง..แต่เพราะอะไร?

ต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 0 คน
บทความต่อไปนี้เป็นความเห็นของแอนดรูว์ แมคเกรเกอร์ มาร์แชล นักข่าวอิสระและนักเขียนที่โฟกัสเกี่ยวกับการเมืองไทย ซึ่งได้ตีพิมพ์ลงในเว็บไซต์ของซีเอ็นเอ็นเมื่อวันที่ 14 มกราคม ซึ่งมีใจความดังต่อไปนี้

ผู้ประท้วงยืนกรานว่าพวกเขาไม่ได้ต่อต้านประชาธิปไตย แต่ต้องการให้มีการปฏิรูปอย่างกว้างขวางเพื่อสะสางการเมืองไทยและถอนรากถอนโคนการคอร์รัปชั่นก่อนที่จะจัดให้มีการเลือกตั้ง สโลแกนของพวกเขาคือ “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” พวกเขาประดับประดาตัวเองอย่างโอ้อวดด้วยสีแดง สีขาวและสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีของธงชาติไทย และได้เป่านกหวีดดังๆเพื่อส่งสารถึงรัฐบาลว่า ”ออกไป”

“ม็อบนกหวีด” ที่มีสไตล์ของตนเองมาจากคนสองกลุ่มในสังคม คือ คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ที่มีฐานะมั่งคั่งกว่า ซึ่งเป็นชนชั้นกลางและชนชั้นสูง กับคนไทยที่มาจากภาคใต้ของประเทศซึ่งได้เดินทาง มายังเมืองหลวงเพื่อร่วมการประท้วง ส่วนสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำของพวกเขาเป็นนักการเมืองไทยในภาคใต้ที่ได้เป็นคนกลางในการต่อรองอำนาจที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งมานานในพรรคประชาธิปัตย์

ผู้ประท้วงได้นำสัญลักษณ์ในการประท้วงทางการเมืองในที่อื่นๆของโลกมาใช้มาก โดยสวมหน้ากากกาย ฟอกส์ (Guy Fawkes) และเรียกร้องให้ยึดกรุงเทพฯ หรือปิดเมืองหลวงตามที่ได้วางแผนไว้ อย่างไรก็ดี มีความแตกต่างจากการเคลื่อนไหวประท้วงทั่วโลกมาก เมื่อเทียบกับ ”หนึ่งเปอร์เซ็นต์” ที่ผู้ประท้วงชาวไทยได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกในสังคมที่มีความมั่งคั่งมากกว่าและเป็นกลุ่มชาตินิยม ชนชั้นสูง และผู้นำที่มีความจงรักภักดี พวกเขายังสนับสนุนทหารซึ่งได้มีพฤติกรรมในการปฏิวัติเพื่อโค่นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วย และผู้ประท้วงจำนวนมากได้เรียกร้องอย่างเปิดเผยให้ปฏิวัติเพื่อขับยิ่งลักษณ์

พวกเขาให้เหตุผลว่าคนไทยที่ยากจนกว่าโดยเฉพาะในชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ไม่มีการศึกษาและขายเสียงให้กับผู้ที่ให้ราคาสูงสุดในการเลือกตั้ง ทำให้ทักษิณ ชินวัตร พี่ชายของนายกรัฐมนตรี ครอบงำประเทศแม้ว่าได้หนีไปต่างประเทศเมื่อปี 2551เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดในคดีคอร์รัปชั่น

ผู้ประท้วงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเพียงไร?

ผู้สนับสนุน ม็อบนกหวีด ยืนยันว่าพวกเขาเป็นตัวแทนของ ”ประชาชน” และได้อ้างมากกว่าจริงเกี่ยวกับจำนวนผู้ประท้วงที่ได้เข้าร่วมการชุมนุมครั้งใหญ่ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา โดยกล่าวว่า คนไทยหลายล้านคนได้ออกมาบนท้องถนนเป็นประจำเพื่อเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงทางการเมือง

ความจริงแล้ว พวกเขาเป็นตัวแทนของคนกลุ่มน้อยชาวไทยและนี่คือปัญหาของพวกเขา ในการเลือกตั้งทั่วไปทุกครั้งที่จัดขึ้นในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2544 พรรคประชาธิปัตย์ถูกพรรคการเมืองของทักษิณเฆี่ยน และแน่นอนว่าจะต้องได้ผลแบบเดียวกันหากการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์เดินหน้าต่อไป

ความสามารถของทักษิณที่จะครอบงำการเมืองเลือกตั้งเพราะว่าเขาได้รับการสนับสนุนมากจากคนในชนบทและในเมือง ได้เป็นสาเหตุให้เกิดความไม่พอใจมากในหมู่คนที่รวยกว่าในกรุงเทพฯ ซึ่งเชื่อว่าพวกเขาควรจะเป็นคนตัดสินใจ

นอกจากการแบ่งชนชั้นที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ยังมีปัญหาในภูมิภาคเช่นกัน จังหวัดในภาคใต้ของไทยที่ค่อนข้างมั่งคั่ง สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์อย่างซื่อสัตย์ ในขณะที่การสนับสนุนทักษิณ สูงสุดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คนไทยที่ร่ำรวย คัดค้านที่จะให้ตัวเลือกในการเลือกตั้งของพวกเขา ถูกกลบด้วยเสียงโหวตของมวลชน และคนไทยในภาคใต้ไม่ชอบที่พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทุกครั้งต่อเสียงโหวตของคนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากกว่าแต่ยากจนกว่า

ฝ่ายตรงข้ามกับผู้ประท้วงรวมถึงการเคลื่อนไหวของ”เสื้อแดง”ที่สนับสนุนทักษิณ และคนไทยหัวก้าวหน้าในกรุงเทพฯที่สนับสนุนประชาธิปไตย ซึ่งได้จัดให้มีการจุดเทียนหลายครั้งเพื่อเรียกร้องสันติภาพและใช้สโลแกนว่า ”Respect My Vote” พวกเขาแย้งว่า การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของไทยสามารถเยียวยาได้ด้วยการเปิดรับประชาธิปไตยเท่านั้น และกล่าวว่าการยกเลิกการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์จะเป็นการก้าวถอยหลังที่สร้างความหายนะ

นักวิจารณ์หลายคนได้เปรียบเทียบระหว่างม็อบนกหวีดกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มที ปาร์ตี้ในสหรัฐ ทั้งสองกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นในบางส่วนของประเทศและในหมู่กลุ่มทางสังคมบางกลุ่ม แต่ไม่สามารถเอาชนะการเลือกตั้ง แห่งชาติได้ ดังนั้นจึงได้ใช้แทคติคส์ที่สร้างความยุ่งเหยิงมากขึ้นในการตอบโต้

อะไรกำลังเกิดขึ้นหลังฉาก?

เหตุผลหนึ่งที่ความขัดแย้งของคนไทยมักดูเหมือนว่าจะทำให้เกิดความงุนงงสับสนคือ องค์ประกอบที่สำคัญของเรื่องถูกละเลยไว้เป็นประจำ ข้อห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของไทยอย่างหนึ่งห้ามถกเถียงเกี่ยวกับการสืบสันตติวงศ์และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของประเทศได้จำคุกเป็นเวลานานต่อผู้ที่ถกเถียงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับกษัตริย์

ประเทศไทยได้ถูกครอบงำโดยการปกครองของคนบางกลุ่ม ซึ่งเป็นตระกูลที่มีความร่ำรวยมหาศาลที่มีสายสัมพันธ์กับวังโดยผ่านการสมรสและการตกลงทำธุรกิจกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ชนชั้นนำของไทยกลุ่มนี้กลัว การเติบโตของผู้นำการเมืองและผู้นำธุรกิจใหม่ที่อยู่รอบๆตัวทักษิณ ซึ่งจะส่งผลให้การครอบงำของผู้นำเก่าถึงจุดจบ

จะมีความรุนแรงหรือไม่?

โชคไม่ดีที่ดูเหมือนว่าเรื่องนี้จะเป็นไปได้ ประชาชนหลายคนได้ถูกฆ่าและบาดเจ็บในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ และยอดผู้เสียชีวิตน่าจะเพิ่มขึ้นมากหลังจากมีการปิดกรุงเทพฯ

ทั้งสองฝ่ายที่อยู่ในความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำเก่าของไทยกับผู้นำใหม่ที่เป็นพันธมิตรกับทักษิณ ได้หาทางยั่วยุให้เกิดความวุ่นวายและเกิดการนองเลือดในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เป้าหมายดังกล่าวก็เพื่อยุให้เกิดการกวาดล้างจากอีกฝ่ายอย่างรุนแรงจนก่อให้เกิดความรู้สึกว่าได้สูญเสียความชอบธรรมทางกฎหมายและกลายเป็นทรราชย์ ฝ่ายตรงข้ามทักษิณปิดกั้นสนามบินในกรุงเทพเมื่อปลายปี 2551 และประสบความสำเร็จในการโค่นรัฐบาล ผู้สนับสนุนทักษิณยึดใจกลางเมืองหลวงในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ในปี 2553 และทักษิณได้ถูกกล่าวหาอย่างกว้างขวางว่าสนับสนุนเงินให้ทหารนอกกฎหมายที่ทำให้เกิดความยุ่งเหยิงมากขึ้น แม้ว่าเขาได้ปฏิเสธหลายครั้งว่าไม่ได้สนับสนุนความรุนแรง

การประท้วงครั้งล่าสุดนี้จะใช้แทคติคส์จากคู่มือแบบเดียวกัน ด้วยการทำให้กรุงเทพฯ เป็นอัมพาต ผู้นำในการเคลื่อนไหวหวังว่าจะทำให้คณะบริหารของยิ่งลักษณ์ตอบโต้อย่างรุนแรงหรือเพื่อทำให้เกิดความรุนแรงในหมู่ผู้สนับสนุนเสื้อแดงของรัฐบาล จากนั้นพวกเขาตั้งใจที่จะหาประโยชน์จากความวุ่นวายเพื่อประกาศว่ารัฐบาลไม่สามารถปกครองได้อย่างชอบธรรมอีกต่อไป และเพื่อเตรียมข้ออ้างให้ทหารหัวเก่าทำการปฏิวัติอีกครั้ง พวกเขารู้ว่าพวกเขาไม่สามารถชนะการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์นี้ได้ ดังนั้นจึงทำทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเลือกตั้ง

หากพวกเขาทำสำเร็จ จะยิ่งจุดความไม่พอใจให้กับคนไทยที่ยากจนกว่าที่เชื่อว่าชนชั้นผู้นำละเลยอยู่เป็นประจำต่อความปรารถนาในการเลือกตั้งของพวกเขา หากพวกเขาพ่ายแพ้ พวกเขาก็จะเริ่มสร้างความยุ่งเหยิงมากยิ่งขึ้นในวันข้างหน้าจนกว่าการต่อสู้จะพัฒนาไป แต่ไม่ว่าจะเป็นไปในทางไหน การพยากรณ์โรคของประเทศไทย คือสิ้นหวังอย่างน่าหดหู่ใจ

posted from Bloggeroid

SIRIกำไรปี56เกิน1,700ล้าน

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: SIRIกำไรปี56เกิน1,700ล้าน

บริษัทจดทะเบียน วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 3 คน
"แสนสิริ" ลุ้นกำไรสุทธิปี 56 พุ่งเกิน 1,700 ล้านบาท พ่วงจ่ายปันผล 9 สตางค์ต่อหุ้น งวดปี 57 เปิดตัวโครงการใหม่ 19 โครงการ โชว์แบ็กล็อกในมือทะลัก 6.2 หมื่นล้านบาท



นายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI เปิดเผยว่า โดยในช่วงปี 2557 บริษัทคาดจะเปิดตัวโครงการประมาณ 19 โครงการ น้อยกว่าปี 2556 ที่เปิดตัวไปถึงประมาณ 48 โครงการ ซึ่งสาเหตุที่เปิดตัวโครงการลดลง เพราะมีปัญหาการเมืองและภาวะเศรษฐกิจที่อาจไม่ดีนัก โดยทั้งหมด 19 โครงการ จะมีทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียมในสัดส่วนใกล้เคียงกัน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้บริษัทมียอดขายที่รอรับรู้รายได้จากการโอน (Backlog) สูงถึง 6.2 หมื่นล้านบาท โดยน่าจะรับรู้รายได้เข้ามาในช่วงปี 2557 ไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนทำธุรกิจให้รัดกุมพร้อมมุ่งเน้นเปิดตัวโครงการในจุดที่มีโอกาสขายได้สูงเป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ส่วนในไตรมาสแรกของปี 2557 บริษัทยังมีแผนเปิดตัวโครงการเหมือนเช่นเดิม เพียงแต่จะต้องประเมินสถานการณ์เพื่อหาช่วงจังหวะที่เหมาะสม ขณะที่ยอดขายงวดปี 2556 คาดว่าจะทำได้สูงเกินระดับ 4 หมื่นล้านบาท แต่อาจไม่มากถึงระดับ 4.5 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีการเลื่อนเปิดตัวโครงการออกไปบางส่วน

“ปีนี้เราจะเน้นการวางแผนธุรกิจแบบรัดกุมและมุ่งเดินหน้าเปิดโครงการในพื้นที่มีศักยภาพ แต่การเปิดตัวโครงการจะต้องประเมินถึงสถานการณ์และช่วงเวลาที่เหมาะสมควบคู่ไปด้วย ปัจจุบัน SIRI มีแบ็กล็อกอยู่ที่ประมาณ 6.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเราจะรับรู้เข้ามาเกินกว่า 3 หมื่นล้านบาท” นายวันจักร์ กล่าว

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกของ SIRI มีรายได้รวม 20,067 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 872 ล้านบาท ส่วนภาพรวมผลการดำเนินงานงวดปี 2555 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวมทั้งสิ้น 30,086 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิรวมจำนวน 3,018 ล้านบาท

ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด ประเมินว่า ผลการดำเนินงานงวดปี 2556 ของ SIRI คาดกำไรสุทธิรวม 1,722 ล้านบาท และคาดจ่ายเงินปันผลทั้งปี 0.09 บาท ปรับลดลงจากงวดปี 2555 ที่มีกำไรสุทธิ 3,018 ล้านบาท และจ่ายปันผล 0.17 บาท ส่วนงวดปี 2557 ประเมินกำไรสุทธิรวม 2,587 ล้านบาท คาดจ่ายเงินปันผลทั้งปี 0.14 บาท กำหนดคำแนะนำ “ซื้อ” ปรับลดราคาเหมาะสมเหลือ 2.44 บาท จากเดิมกำหนดไว้ 3 บาท

โดยในช่วงปี 2557 บริษัทมีแผนเปิดโครงการใหม่ 19 โครงการ มูลค่ารวม 3.3 หมื่นล้านบาท จากที่เปิด 48 โครงการ มูลค่ารวม 6 หมื่นล้านบาทในปี 2556 โดยจะเปิดในต่างจังหวัดเพียง 3 โครงการ จากความกังวลด้านการเมืองและความระมัดระวังด้วยการเปิดขายเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมที่ได้รับใบอนุญาต EIA

อีกทั้งไม่จัดงาน Life Come Home ซึ่งจะมีผลดีในการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขาย ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายขายและบริหารต่อรายได้รวมสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม โดยตั้งเป้ายอดขาย presale ที่ 3.4 หมื่นล้านบาท ลดลง 29% เมื่อเทียบกับงวดปีก่อน

posted from Bloggeroid

SCCกำไร 3.5หมื่นล้าน ลุ้นปันผลอีก5.50บาท

ข่าวหุ้น - กระบอกเสียงอิสระแห่งตลาดทุน:: SCCกำไร 3.5หมื่นล้าน
ลุ้นปันผลอีก5.50บาท
ข่าวหน้าหนึ่ง วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม 2557
ผู้เข้าชม : 5 คน
"SCC" ลุ้นปันผลครึ่งปีหลังอีก 5-5.50 บาท จากงบทั้งปี 2556 คาดฟันกำไรสุทธิ 35,442 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50% เชื่อประกาศจ่ายพร้อมแจ้งงบการเงินช่วงปลายม.ค.นี้ โบรกฯ พร้อมใจเชียร์ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 500 บาท/หุ้น



บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC มีแนวโน้มจะจ่ายปันผลงวดครึ่งปีหลังอีกประมาณ 5-5.50 บาท จากเมื่อปี 2556 มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลไปแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งเป็นรอบผลประกอบการวันที่ 1 ม.ค.-30 มิ.ย. 56 โดยจ่ายเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 56 ในอัตราเงินปันผล 5.50 บาทต่อหุ้น และจ่ายปันผลพิเศษเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 56 อีก 3 บาทต่อหุ้น รวมแล้วมีการจ่ายเงินปันผลในช่วงระหว่างกาล 8.50 บาทต่อหุ้น

บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) ระบุว่า SCC แนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/56 เป็นไปตามความคาดหมายก่อนหน้า ที่คาดลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยเป็นผลจาก Shut Down – MOC 45 วัน เมื่อช่วงปลายปี 2556 แต่คาดภาพรวมทั้งปี 2556 เป็นไปตามประมาณการ โดยคาดรายได้อยู่ที่ 432,725 ล้านบาท เติบโตประมาณ 6% คาด EBITDA Margin เฉลี่ย 15% และคาดกำไรสุทธิ 35,442 ล้านบาท (รวมเงินปันผลที่เกิดขึ้นในไตรมาส 2/56 และกำไรจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนที่เกิดขึ้นในไตรมาส 3/56 ประมาณ 2,000 ล้านบาท และ 1,700 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 50% หรือ 29.53 บาท

โดยภายใต้สัดส่วนการจ่ายเงินปันผลในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2556 ประมาณ 35% หรือ 5.50 บาท คาดคงเหลือจ่ายในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2556 ประมาณ 5–5.50 บาท ซึ่งคาดประกาศจ่ายพร้อมงบการเงินช่วงปลายเดือนม.ค.นี้ และเมื่อรวมเงินปันผลพิเศษ (SCG ครบรอบ 100 ปี) จำนวน 3 บาทต่อหุ้น เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้คาดเงินปันผลทั้งปี 2556 อยู่ที่ 13.50–14 บาท

ทั้งนี้ ประเมินราคาเป้าหมายปี 2557 ที่ 500 บาท อิงอัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (PE) เฉลี่ย (ซื้อขายในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา) 16 เท่า และคงคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับการลงทุนระยะยาว โดยอัตราผลตอบแทนของเงินปันผล ( Dividend Yield) ที่ 3.5%

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ประมาณการณ์กำไรสุทธิ SCC ในไตรมาส 4/56 เท่ากับ 7,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลง 29% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน) ลดลงเป็นไตรมาสต่ำสุดของปี เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงโรงงานมาบตาพุดโอลิฟินส์เป็นระยะเวลา 45 วัน นับตั้งแต่กลางเดือนพ.ย. 56 กระทบรายได้ของธุรกิจปิโตรเคมีของบริษัท และไม่มีการบันทึกกำไรพิเศษในไตรมาส 4/56 ขณะที่บริษัทบันทึกกำไรพิเศษจากการปรับเพิ่มมูลค่าการลงทุนในบริษัทร่วมในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง (เครื่องสุขภัณฑ์) ให้เป็นมูลค่าตลาดในไตรมาส 3/56

แม้ว่าผลประกอบการมีแนวโน้มชะลอในไตรมาส 4/56 แต่ภาพรวมผลประกอบการทั้งปี 2556 ของบริษัทจะเติบโตโดดเด่นซึ่งคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2556 ไว้ 35,514 ล้านบาท เติบโตสูงถึง 51% เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลจากธุรกิจหลัก ได้แก่ ปิโตรเคมี ปูนซีเมนต์ และวัสดุก่อสร้าง มีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งโดยเฉพาะในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 ดังนั้น จึงประเมินมูลค่าพื้นฐานหุ้น SCC เท่ากับ 500 บาท คงคำแนะนำ “ซื้อ” และคาดการณ์อัตราตอบแทนเงินปันผล 4.4% ต่อปี

บริษัทหลักทรัพย์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง จำกัด (มหาชน) ระบุว่า SCC น่าจะมีกำไรในไตรมาส 4/56 ชะลอตัวลงเหลือ 6,443 ล้านบาท (ลดลง 34% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและลดลง 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) ถูกกระทบหลักจากโรงงานปิโตรเคมีมีการปิดซ่อมบำรุง 45 วัน แต่รวมแล้วในปี 2556 จะเป็นปีที่มีกำไรโดดเด่นสูงถึง 34,956 ล้านบาท เติบโต 48%

ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการในปี 2557 คาดกำไรจะยังเติบโต 10% สู่ระดับ 38,514 ล้านบาท โดยได้แรงหนุนจากธุรกิจปิโตรเคมีที่ได้เข้าสู่วัฏจักรขาขึ้นต่อเนื่อง แรงหนุนเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ขณะที่ชัพพลายใหม่เพิ่มไม่มากเพียง 3% ช่วยชดเชยผลประกอบการธุรกิจปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างจะถูกกระทบจากความล่าช้าโครงการของรัฐบาล จึงปรับประมาณการลดลง ตั้งเป้าลงทุนปีนี้ 40,000-50,000 ล้านบาท ภายใต้แผน 5 ปี 2.5 แสนล้านบาท สนับสนุนการเติบโต คงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 500 บาท

posted from Bloggeroid