วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

DELTAกำไรทะลุพันล้าน


DELTAกำไรทะลุพันล้าน

ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 30 เมษายน 2556 
ผู้เข้าชม : 44 คน 

DELTA จ่อประกาศงบไตรมาสแรก 3 พ.ค.นี้ ลุ้นกำไรทะลุ 1,100 ล้านบาท โตขึ้น 66% จากไตรมาส 1/55 กำไรขั้นต้นพุ่ง 27% โบรกฯแนะ "ซื้อ" เคาะราคาเป้าหมายใหม่ 43 บาท ขานรับพื้นฐานแกร่ง

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ประเมินว่าผลการดำเนินงานในไตรมาสแรกของบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ที่ประกาศออกมาในช่วงวันที่ 3 พ.ค.นี้ จะรายงานกำไรสุทธิอยู่ที่ระดับ 1,181 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 66% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ได้ 713 ล้านบาท และเพิ่มขึ้น 45% จากงวดก่อนหน้าที่ได้ 814 ล้านบาท
สำหรับปัจจัยสนับสนุนการเติบโตจะมาจากอัตรารายได้ไตรมาสแรกที่ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 320 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าปีก่อน 14% โดยยังคงสามารถรักษาระดับยอดขายเพาเวอร์ซัพพลายสำหรับ Data Center ไว้ได้ ถึงแม้จะอยู่ในระหว่างการเปลี่ยน Platform ใหม่ของอุปกรณ์ก็ตาม ประกอบกับธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์จอภาพ Display และ Video Wall ในอินเดียยังมีแนวโน้มดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
ส่วนการแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยน จะทำให้รายได้สกุลเงินบาทเท่ากับ 9,760 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12% จากปีก่อน แต่จะลดลง 6% จากงวดก่อนหน้า ขณะที่ส่วนผสมยอดขายซึ่งมาจากเพาเวอร์ซัพพลายสำหรับ Data Center และธุรกิจจัดจำหน่ายในประเทศอินเดียให้มาร์จิ้นสูง จึงคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะขยายตัวเป็น 27% สูงกว่าปีก่อนที่ระดับ 25.7% และมากกว่างวดก่อนหน้าที่ได้ 24.1% ด้านกำไรพิเศษจากอัตราแลกเปลี่ยนจะอยู่ที่ 10 ล้านบาท
นักวิเคราะห์ยังกล่าวอีกว่า สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 จะมีแนวโน้มอ่อนตัวลงจากฐานกำไรสูงในไตรมาสแรก แต่จะกลับมาเติบโตได้โดดเด่นอีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่ออุปกรณ์ Data Center ได้ออก Platform ใหม่ในช่วงกลางปี 2556 ซึ่งทำให้บริษัทเริ่มขายเพาเวอร์ซัพพลายกลุ่มนี้ได้มากขึ้น (45% ของยอดขายรวม) และจะเป็นปัจจัยกระตุ้นยอดขายและรักษาอัตรากำไรขั้นต้น โดยถึงแม้ผลิตภัณฑ์ Solar Inverter (สัดส่วน 8% ของยอดขายรวม) ที่ให้อัตรากำไรสูง จะประสบปัญหาการแข่งขันด้านราคาในกลุ่มลูกค้าใหม่ที่บริษัทเข้าไปทำตลาดได้สักระยะ 
นอกจากนี้ DELTA ยังมีความสามารถในการควบคุมค่าใช้จ่ายการขายและการวิจัยและพัฒนาได้ดีอย่างต่อเนื่อง ภายหลังการปรับปรุงโครงสร้างองค์กร และปรับงบประมาณมาเน้นการพัฒนาและปรับปรุงสินค้าปัจจุบันมากขึ้น จะเป็นปัจจัยหลักผลักดันกำไร
อีกทั้งบริษัทยังตั้งเป้าลดอัตราส่วนค่าใช่จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) ต่อยอดขาย จาก 17% ในปี 2555 มาอยู่ที่ 15% ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ด้วยแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีกว่ามุมมองเดิม ทางฝ่ายวิเคราะห์จึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2556-2557 ขึ้น 7% โดยในงวดปี 2556 จะมีกำไรสุทธิ 4,141 ล้านบาท และปี 2557 จะมีกำไรสุทธิ 4,537 ล้านบาท
กำหนดคำแนะนำ “ซื้อ” หลังจากผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในไตรมาสแรก และยังสามารถเร่งตัวขึ้นในงวดครึ่งปีหลัง จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนระยะสั้น นอกจากนี้ ยอดขายผลิตภัณฑ์เพาเวอร์ซัพพลายสำหรับ Data Center และพาวเวอร์ซัพพลายสำหรับ Telecom และ Automotive ที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว
โดย DELTA ยังมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และช่วยสนับสนุนการเติบโตต่อเนื่องของผลประกอบการหลังปี 2556 มีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลราว 5-6% ต่อปี จึงยังจูงใจสำหรับการลงทุนระยะยาว ปรับเพิ่มมูลค่าพื้นฐานปี 2556 ขึ้น 15% จากรายงานครั้งก่อนมาอยู่ที่ระดับ 43 บาท และปรับเพิ่ม P/E เป้าหมายจาก 12  เท่า เป็น 13 เท่า
ทั้งนี้ นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการ DELTA กล่าวในช่วงที่ผ่านมาว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานทั้งปี 2556 บริษัทยังคงตั้งเป้าหมายอัตรากำไรดำเนินงานทั้งปีจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นสองหลักเมื่อเทียบกับงวดปี 2555 นอกจากนี้ บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า เนื่องจากมีแนวทางบริหารไว้ครอบคลุมทั้งการซื้อมาขายไปด้วยสกุลเงินดอลลาร์และทำประกันความเสี่ยงค่าเงินล่วงหน้า

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556

จีนผงาดมหาอำนาจพลังงานทดแทน


 จีนผงาดมหาอำนาจพลังงานทดแทน

จีนกลายเป็นมหาอำนาจพลังงานทดแทนของโลก หลังรายงานจากออสเตรเลียระบุว่าจีนมีอัตราการใช้พลังงานทดแทนมากที่สุดในโลก
ชื่อ:  news_img_502998_1.jpg
ครั้ง: 1196
ขนาด:  26.9 กิโลไบต์

รายงานที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการด้านภูมิอากาศของรัฐบาลออสเตรเลีย ระบุว่า จีนได้เพิ่มปริมาณการใช้พลังงานทดแทนเพื่อให้เป็นไปตามพันธสัญญาสากลว่าด้วยการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน

ในรายงานดังกล่าวซึ่งมีชื่อว่า "ทศวรรษแห่งวิกฤติ: การริเริ่มลงมือต่อสู้กับภาวะโลกร้อน" แสดงให้เห็นว่า 2 ชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง จีนและสหรัฐ กำลังดำเนินการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนให้เป็นไปตามพันธสัญญาสากล

รายงานระบุว่า จีนได้ลดปริมาณความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนในเศรษฐกิจเมื่อปีที่แล้ว มากกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ อีกทั้งการขยายตัวของความต้องการใช้ไฟฟ้ายังลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง อีกทั้งหลังจากมีการใช้พลังงานถ่านหินอย่างหนักมาหลายปี ปรากฏว่าอัตราการเติบโตของพลังงานชนิดนี้ก็เริ่มลดลงอย่างมาก
นอกจากนี้ จีนยังเป็นที่รู้จักในฐานะมหาอำนาจด้านพลังงานทดแทนของโลก โดยมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่จะเพิ่มพลังงานทดแทนให้กับพลังงานที่หลากหลายในประเทศ

จากตัวเลขในรายงานฉบับนี้ระบุว่า ระหว่างปี 2548 ถึง 2555 จีนได้เพิ่มกำลังการผลิตพลังงานลมเกือบ 50 เท่า โดยปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตมาจากพลังงานลมในปี 2555 สูงกว่าในปี 2554 ประมาณ 36% นอกจากนี้ กำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ก็เพิ่มขึ้น 75% ในปีนี้ และคาดว่าศักยภาพในการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จะเพิ่มขึ้น 3 เท่าเป็นกว่า 21,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2558

คณะกรรมาธิการด้านภูมิอากาศของออสเตรเลียยังชี้ให้เห็นว่า จีนลงทุนไป 6.51 หมื่นล้านดอลลาร์ในพลังงานสะอาดเมื่อปี 2555 ซึ่งนับว่ามากกว่าในปี 2554 ถึง 20% ตัวเลขดังกล่าวเทียบไม่ได้กับประเทศไหนในโลก รวมถึงกลุ่มประเทศจี 20 ที่นับรวมทั้งกลุ่มแล้วมีการลงทุนในพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นเพียง 30% ในปี 2555


โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

“ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์”เชียร์เล่นหุ้นนอก“ถูก&ดี” มีเพียบ


 “ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์”เชียร์เล่นหุ้นนอก“ถูก&ดี” มีเพียบ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

พลิกตำรา“เล่นหุ้นมะกัน”“หนุ่มนักเรียนนอก”วัย 31 ปี“ราคาถูก งบสวย"เชื่อมั้ยมีเกลื่อนตลาดสหรัฐฯ “ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์”เปรยก่อนสไตล์ลงทุน
ชื่อ:  news_img_502484_1.jpg
ครั้ง: 759
ขนาด:  51.7 กิโลไบต์

คอนเซ็ป “walk the talk" ทำในสิ่งที่คนอื่นพูดแล้วประสบความสำเร็จ ถือเป็นวิถีแห่งเซียนที่ “เผ่า” ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ใช้เลือกเดิน เพื่อแสวงหาการลงทุนที่ “แสนมั่นคง” ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา!! คือ หนทางที่ชายหนุ่ม “คลิกไลค์” แบบไม่ได้โม้

“ชิมลาง” เล่นหุ้นครั้งแรกสมัยเรียนปริญญาโท ณ University of Southern California ควบคู่ไปกับทำงาน “ที่รัก” ธุรกิจบนโลกออน ไลน์ ด้วยการแนะนำลูกค้าผ่านเวปไซด์ให้ไปซื้อสินค้าตามเวปไซด์ดังๆ ช่วงนั้นโกยเงินจน “เป๋าตุง”

“ชายวัย 31 ปี” เติบโตมาพร้อมๆ กับพี่ชายที่อายุห่างกัน 3 ปี และพี่สาวที่ห่างกัน 2 ปี ธุรกิจขนส่งและห้องแช่เย็น คือ อาชีพที่เลี้ยงดูคนทั้งครอบครัว หลังเรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บัณฑิตปริญญาตรี เขาเลือกจะออกไปตามหาประสบการณ์นอกบ้าน ด้วยการนั่งทำงานในบริษัทที่เกี่ยวกับไฟเบอร์ออฟติก 6 เดือน ก่อนจะเหินฟ้าไปเรียนต่อปริญญาโท และเมินที่จะต่อปริญญาเอก ตามคำขอของผู้เป็นพ่อที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปีก่อน

“ผมอยากเป็นเจ้าของธุรกิจ” เขาแสดงเจตนารมณ์ ในช่วงที่พ่อยังมีชีวิต...

“ถูกทางแล้ว” สมองกลั่นความคิด!! ปัจจุบัน “เผ่า” เป็นเจ้าของธุรกิจออนไลน์ 4-5 เวปไซด์ ล่าสุดเพิ่งผุด www.jitta.comเวปที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาทั้งหมด 3,800 บริษัท พนักงาน 5 คน คือ “ฟันเฟือง” สำคัญที่ "หนุ่มเผ่า" มอบหมายให้ช่วยขับเคลื่อนเวปไซด์

“สั่งลูกน้องเล่นหุ้นนอก” คือ ความรู้ที่เขาพยายามมอบให้เด็กๆที่อยู่ภายใต้อาณัติทางอ้อม “เผ่า” ควักเงินลงทุนให้ครึ่งหนึ่ง และหักจากเงินเดือนลูกน้องอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้ลูกน้องคนสนิททั้ง 5 นำไปซื้อหุ้นต่างประเทศ 1 ตัว หวังให้เป็น "สมบัติติดตัว" “ทำเวปหุ้นต้องรู้เรื่องการลงทุน” วีไอหนุ่ม เชื่อแบบนั้น
“ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์” ในฐานะ “เซียนวีไอหุ้นนอก” หันไปหยิบ Notebook ยี่ห้อ Apple เพื่อเปิดให้ดูหน้าตาเวปไซด์ “จิตต ดอทคอม” พรางเล่า “จุดเริ่มต้น” การลงทุนในตลาดหุ้นให้ “กรุงเทพธุรกิจ BIZ Week” ฟังว่า ก่อนจะบินไปเรียนต่อปริญญาโท เพื่อนที่ทำงานเป็นมาร์เก็ตติ้งในบล.ธนชาติ โทรมาชวนให้เปิดพอร์ตลงทุนประมาณหลักแสนบาท (ทำท่าคิด)

จำไม่ได้ว่าซื้อหุ้นตัวไหนบ้าง ฝังใจ!!เพียงตัวเดียว เพราะซื้อตามเพื่อนที่เป็นมาร์เก็ตติ้งแนะนำ นั่นคือ หุ้น อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น (IRCP) ซื้อมา 14 บาท แล้วก็ทิ้งไว้เฉยๆ กลับมาเมืองไทยอีกที แทบกริ๊ด!! เจ็บใจมาก(ลากเสียงยาว) ราคาหุ้นเหลือแค่ 3 บาท คุณพระ!! สุดท้ายจำยอมขายไปตอน 6 บาท 

“เพื่อนทำขาดทุน”...

ช่วงเรียนปริญญาโทอยู่เมืองนอก มีโอกาสลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา บังเอิญ (เสียงสูงทนไม่ได้ที่จะให้เงินเก็บนอนกองในแบงก์เฉยๆ ตอนนั้นน่าจะปี 2550 รวมพอร์ตในเมืองไทยและต่างประเทศน่าจะอยู่ “หลักล้านบาท”
"ผมซื้อหุ้นต่างประเทศหนักจริงๆ" คิดเป็น 80% ของพอร์ตลงทุนได้มั้ง พอปี 2551 เจอ “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” พอร์ตติดลบทันที 40% (ทำตาโต) ทั้งๆที่เลือกหุ้นดี๊ดี ซวยจริงๆ


ทำใจนานมั้ย?? โชคดีที่เป็นคนใช้เวลารักษาแผลใจไม่นาน บังเอิญชอบเสี่ยงและเรียนรู้ ฉะนั้นมีเงินเท่าไร ก็ใส่เข้าไปในตลาดหุ้นเหมือนเดิม เพราะของดีจริงเดี๋ยวราคาก็ Comeback!!

ช่วงนั้นปรับกลยุทธ์การลงทุนใหม่ยกแผง หลังเข้าใจหลักการลงทุน ผมเริ่มหันมาใส่ใจงบการเงินมากขึ้น จากไม่ค่อยได้สนใจเท่าไร ว่างๆ ก็จะหยิบหนังสือเกี่ยวกับธุรกิจมาอ่าน เรียกว่าเปิดถี่มากขึ้นจะดีกว่า (หัวเราะ) ทำให้การลงทุนในช่วงนั้น เดินตามคำแนะนำของหนังสือล้วนๆ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เขาสามารถสร้างเงินเป็นพันเป็นหมื่นล้านได้ในตลาดหุ้น ฉะนั้นเขาทำได้

“ผมก็ต้องทำได้”!! 

เมื่อก่อนชอบอ่านหนังสือเรื่อง “ศาสตร์แห่งบัฟเฟตต์” (Buffettology) ทุกวันนี้ก็พยายามคิดว่า ถ้าเราเป็น “วอร์เรน” จะซื้อหรือไม่ซื้อหุ้นตัวนี้ เมื่อปี 2530 “วอร์เรน” ซื้อหุ้น The coca cold (KO) ตอนนั้น P/E ประมาณ 16 เท่า ตลาดอยู่ในช่วงลง แต่เขารู้ว่าอนาคตของโค้กจะแข็งแกร่ง ซื้อแล้วจะพบหนทางแห่ง “ความคุ้มค่า” ทุกวันนี้เป็นงัย..อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อยู่สูงถึง 33% ขณะที่อัตรากำไรต่อหุ้น (ESP) ยืนระดับ 30% เรียกว่าเดินมาถูกทาง...

“วอร์เรน” ซื้อหุ้นโค้ก เพราะรู้ว่าราคาหุ้นไม่มีทางถูกกว่านี้อีกแล้ว มันเป็น “จุดต่ำสุด” แล้ว สุดท้ายก็เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะวันนี้ราคาหุ้นโค้กขึ้นไปเยอะมาก หรือแม้กระทั่ง “ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร” ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น “วอร์เรน บัฟเฟตต์” เมืองไทย ก็เคยซื้อหุ้น ซีพี ออลล์ (CPALL) ในปี 2551 ตอนค่า P/E อยู่ที่ 12 เท่า ทั้งๆที่มีหุ้นที่มีค่า P/E ประมาณ 5-6 เท่า เยอะแยะ แต่อาจารย์ไม่ซื้อ เพราะรู้เต็มอกว่า นี่คือ “หุ้นซูปเปอร์สต็อก” ที่ “วอร์เรน” เคยพูดไว้
ถามถึงกลยุทธ์การลงทุน?? เขาตอบว่า ผมเดินทางนี้มาจนถึงวันนี้ นั่นคือ การเน้นดูงบการเงิน 2 ตัวหลักๆ ประกอบด้วย 1.อัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (ESP) บริษัทที่ดีต้องมี ESP เติบโตสม่ำเสมอ หากทำได้เฉลี่ย 20% ทุกปีจะดีมาก สุดท้าย คือ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ต้องขยายตัวตลอด เรียกว่ายิ่งมากยิ่งดี ตัวเลขสวยๆควรยืนระดับ 20%
แต่หากให้พิจารณาในแง่ของพื้นฐาน ผมจะกลับไปดูว่าที่ผู้บริหารพูดมาทั้งหมด เขาทำได้จริงหรือไม่

"เผ่า" อธิบายพรางเปิดข้อมูลในเวปไซด์ Jitta.com ให้ดูตลอด เมื่อก่อนไม่เข้าใจเรื่องงบการเงิน แต่ผมจะหาความรู้จากหนังสือเรื่อง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” และการตีความงบการเงิน ที่เขียนโดย “แมร์รี่ บัฟเฟตต์” อดีตลูกสะใภ้ของ “วอร์เรน”

วิถีลงทุนลักษณะนี้ทำให้ผมมี “ผลตอบแทนทบต้น” ในตลาดหุ้นไทย 60-70% และหุ้นต่างประเทศ 40%
ถามถึงเป้าหมายการลงทุนอนาคต?? “หนุ่มเผ่า” ตอบว่า 1,000 ล้านบาท!!

ผมอยากได้ตัวเลขนี้มาก เมื่อไร “ไม่รู้” ตอนนี้พอร์ตหลักเท่าไร “ไม่บอก” (ยิ้ม) แต่หากสามารถสร้างผลกำไรทบต้นได้ปีละ 26% ต่อเนื่อง ตัวเลขนี้ไม่ไกลเกินเอื้อม ขนาด “วอร์เรน” ยัง “ปักธง” กำไรทบต้น แค่ปีละ 23% เอง
ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาจะทำให้ “ฝัน” ของผมเป็นจริง!! เขาเชื่อเช่นนั้น


ผมชอบเล่นหุ้นต่างประเทศ อย่างน้อยวันนี้เวปไซด์ JITTA.COM ที่ตัวเองเป็นคนก่อตั้ง เมื่อกลางปี 2555 ก็รวบรวมข้อมูลทุกอย่างของหุ้นสหรัฐอเมริกา 3,800 บริษัท เรียกว่าข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี เวปไซด์ของเรามีหมด คุณสามารถเลือกหุ้นมาทำพอร์ตหุ้นจำลองได้ โปรแกรมจะคำนวณให้ว่า หากลงทุนหุ้นตัวนี้จะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยเท่าไร แต่เวปจะไม่มีการวิเคราะห์ผลประกอบการ และราคาหุ้นล่วงหน้า เพราะเน้นลงทุนระยะยาวสไตล์ “วอร์เรน” อีกอย่างไม่มีคนทำงานส่วนนี้ด้วย

ส่วนตัวไม่ค่อยซื้อหุ้นไทยเท่าไร นั่นเป็นเพราะยังไม่มีบริษัทไหนถูกใจ ถามว่าหุ้นไทยที่ดีต้อง “เฟอร์เฟค” ขนาดแค่ไหน?? เขาบอกว่า “สวยข้อแรก” บริษัทต้องซื้อขายเป็นเงินสด ต้องมีกำไรจากการดำเนินงาน ที่สำคัญกำไรต้องไม่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และบริษัทต้องมีลูกค้าจำนวนมาก เพราะหากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝัน คุณจะได้ปลอดภัย
“สวยข้อสอง” บริษัทสามารถขึ้นราคาสินค้าได้ตามเงินเฟ้อ ยกตัวอย่าง “โค้ก” ที่สามารถขึ้นราคาขายได้ปีละประมาณ 10% ขณะที่กำลังซื้อ และมาร์เก็ตแชร์เท่าเดิม แต่เขาสามารถทำกำไรให้เติบโตได้ปีละ 10% ความลับนี้ไม่ค่อยมีใครรู้ แต่ “วอร์เรน” รู้ เขาวิเคราะห์..

หุ้นไทยพอมีสเปคแบบนี้มั้ย?? “มีแต่แพง” พฤติกรรมการซื้อหุ้นของ "วอร์เรน" เขามักชอบกลุ่มค้าปลีก แต่หุ้นกลุ่มนี้ในเมืองไทยมีราคาสูงมากแล้ว ฉะนั้นต้องหาราคาเหมาะสม กลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มสื่อ และกลุ่มอาหาร พวกนี้เข้าข่ายหุ้นสวยแบบ “วอร์เรน” เมื่อคุณรู้กลุ่มแล้ว ก็จงไปเลือกช้อนที่ดีที่สุดเอาเอง

ส่วนตัวจะไม่ซื้อหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์ เคยไปอ่านงบการเงินแล้วเห็นภาพ สัตว์โดนแขวน รู้สึกไม่อิน ไม่ดี อย่าดีกว่า ไปซื้อกลุ่มประกันชีวิตดีกว่าได้ช่วยคนด้วย

เขาเล่าถึงความสนใจใหม่ๆว่า อยากเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเยอรมันที่มีหุ้นซื้อขายอยู่ราวๆ 3,000 ตัว ผมเพิ่งเรียนภาษาเยอรมันทางออนไลน์วันละ 1 ชั่วโมง ใช้เวลาเรียนประมาณ 5 เดือน

ถามว่าทำไมถึงชอบหุ้นเยอรมัน?? มันง่ายมาก ตลาดหุ้นยุโรปล่วงหมด แต่เศรษฐกิจเยอรมัน “แข็งแรง” อยู่คนเดียว โครงสร้างหลายๆอย่างของเขายังดีอยู่ สเปคลงทุนเหมือนที่คิดในใจ แต่สุดท้ายจะโดดไปซื้อเมื่อไร ขอไปศึกษาหุ้นให้ละเอียดก่อน

“เผ่า” เล่าต่อว่า ตอนนี้ถือหุ้นสหรัฐไม่เยอะเท่าไร ส่วนใหญ่เป็น “หุ้นซูเปอร์สต็อก” ประมาณ 10 ตัว มีหุ้นอยู่ตัวนึ่ง ผมไม่คิดจะขายชั่วชีวิต เพราะเชื่อว่า เมื่อเวลาผ่านไปหุ้นตัวนี้จะสามารถสร้างเงินให้ได้เป็น “พันล้าน”
หุ้น แอปเปิล (APL) ผมก็มีนะ ซื้อมานานแล้ว ตอนนี้กำลังคิดว่าจะขายดีหรือเปล่า เพราะราคาขึ้นมา 700 เหรียญต่อหุ้น ดีใจไม่นานย่อตัวลงสะงั้น จริงๆเหตุผลที่ยังไม่ปล่อย เพราะผลประกอบการของเขายังดีเยี่ยม บริษัทมีเงินสดประมาณ 100,000 ล้านดอลลาร์ เขาแบ่งมาจ่ายปันผลบ้างแล้ว


ที่สำคัญบริษัทไม่มีหนี้สิน แถมมี “อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น” เฉลี่ย 25-33% ความเสี่ยงของหุ้น APL มีอย่างเดียวที่ไม่เข้าข่ายหุ้นซูปเปอร์สต็อก คือ เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ากำไรสทุธิจะเติบโตขึ้นได้มากขนาดไหน เพราะไม่สามารถหยั่งรู้ได้ว่า สินค้าตัวใหม่ๆจะได้รับความนิยมอีกหรือไม่ ตรงข้ามกับของกินที่ต้องใช้บริการทุกวัน

ล็งจะช้อนกลุ่มไหนต่อ?? “มีอีกเพียบ" ไล่มาตั้งแต่หุ้น Chipotle Mexican Grill (CMG) ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารประเภทกินง่าย มีประโยชน์ เขาเปิดเวปไซด์เกี่ยวกับร้านอาหาร CMG ให้ดู พร้อมอธิบายว่า คนต่อคิวซื้อเยอะมาก คุณดูสิ เพราะเขาไม่ใช้สารยาฆ่าแมลง และอาหารมีรสชาติอร่อย ในปี 2555 เขามีร้านอาหารอยู่ในหลายๆรัฐของสหรัฐอเมริกประมาณ 422 สาขา เพิ่มขึ้นจาก 46 สาขา ในปี 2549 เขาเน้นเปิดเองไม่มีขายแฟรนไชส์

ที่ผ่านมาผลประกอบการของหุ้น CMG “สวยงามมาก” เขามีกำไรสุทธิเฉลี่ย 200 ล้านบาท เติบโตปีละ 32% อัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (ESP) 32% รายได้ขยายตัวเฉลี่ย 21% และมี ROE ระดับ 22% ที่สำคัญมีหนี้สินต่ำเพียง 3 ล้านบาทเท่านั้น

ดูแล้วดีทุกอย่าง เสียอย่างเดียว!! ราคาหุ้น “โหด” มากเฉลี่ย 318.91 เหรียญ (หัวเราะ) ราคาเคยขึ้นไปสูงถึง 400 เหรียญ แต่มันเกินมูลค่าพื้นฐานไปเยอะราคาเลยย่อตัวลงมา หากราคาหุ้นลงมาแตะ 200-250 เหรียญ ผมโดดไปเก็บแน่นอน...


หุ้น Tractor Supply Company (TSCO) ผู้จำหน่ายอุปกรณ์ทำฟาร์ม ในสหรัฐอเมริกามีกลุ่มคนทำอาชีพลักษณะนี้เยอะมาก “จุดเด่น” ของหุ้น TSCO คือ เป็นเจ้าใหญ่ที่สุดที่ขายอุปกรณ์ทำฟาร์ม ความเป็น “ขั้นเทพ” ของ TSCO ยังไม่หมด เขามี “มาร์เก็ตแชร์ใหญ่เป็น 3 เท่า” ของจำนวนคู่แข่งที่เหลืออยู่ในตลาด 5 ราย คู่แข่งอันดับ 2 มีสาขาเพียง 154 สาขา ขณะที่บริษัทมีจำนวนสาขามากถึง 1,151 สาขา ใน 45 รัฐ

ความมหัศจรรย์!! ของ TSCO ยังมีอีก เขาตั้งเป้าหมายว่าอนาคตจะมีสาขาทั้งสิ้น 2,100 แห่ง เรียกว่าเติบโตอีกเท่าตัว ภายในเมื่อไรเขาไม่ได้บอก แล้วบริษัทยังมีแผนจะเพิ่มพื้นที่ขายอีกประมาณ 8% ต่อปี กระจายไปในแต่ละรัฐของอเมริกา ดูข้อมูลเพียงเท่านี้ เราก็แฮปปี้แล้ว แทบจะหลับตาลงทุนได้เลย เขามีแผนงานชัดเจน พรางเปิดข้อมูลให้ดู โอกาสขาดทุนแทบไม่ดี

เหตุผลเดียวที่ยังไม่ซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะราคาแพง ถ้าจะซื้อคงรอให้ลงมา 75 เหรียญ เรียกว่าเซฟสุดๆ เพราะผมเชื่อว่าเขาจะมีกำไรเติบโตปีละ 15% ตอนนี้หุ้น TSCO ซื้อขายเฉลี่ย 100 เหรียญต่อหุ้น ถามว่าราคานี้ซื้อไม่ได้หรอ!! ก็พอได้ แต่นั่นแปลว่า คุณต้องมั่นใจว่าเขาจะมีอัตราเติบโตปีละ 20% แต่ผมคิดว่าเขาจะโต 15% ฉะนั้นรอดีกว่า

หุ้น TSCO มีหนี้สินแค่ 1 ล้านเหรียญ ขณะที่มีเงินสดหมุนเวียน 570 ล้านเหรียญ เห็นมั้ยแทบไม่มีความเสี่ยง ในขณะที่เขามีกำไรสุทธิ 275 ล้านเหรียญ เรียกว่าขยายสาขาใหม่แบบไม่ต้องกู้เงินเลย เขายังมีอัตราการหมุนเวียนของเงินดีมาก คือ ได้เงินสดมาก่อน แล้วอีก 3 เดือน ค่อยเอาไปจ่ายซัพพายเออร์ เท่ากับว่ามีเงินหมุนเวียนมหาศาลราวๆ 200-300 ล้านเหรียญ เขาใช้หลักการเดียวกับ “แม็คโคร-เซเว่น-เทสโก้ โลตัส”

ในมุมของผม มองว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯดีมาก เขายังมีหุ้นดีๆให้คุณลงทุนอีกเพียบ และยังมีบริษัทที่มีมูลค่ามาร์เก็ตแคป 300,000 ล้านบาท เกลื่อนตลาด ไม่เหมือนบ้านเรามีไม่กี่บริษัท เรามีเงิน 100-1,000 ล้านบาท ไปลงทุนตลาดนอกได้สบายใจ ฉะนั้นมั่นใจว่าลงทุนตลาดหุ้นต่างประเทศในระยะยาว นอกจากชีวิตจะสุขสบายแล้ว ยังสนุกสนานอีกด้วย
หลายคนคงคิดว่า ผมจะไม่เหลียวแลหุ้นไทยอีกแล้ว คงไม่ขนาดนั้น ถ้าวันหนึ่งหุ้น ซีพี ออลล์ (CPALL) มีค่า P/E เหลือแค่ 7 หรือ 10 เท่า ผมก็ซื้อนะ หรือถ้าตลาดหุ้นเยอรมันดีจริงๆก็มุ่งหน้าไปซื้อโลด ตอนนี้ผมลงทุนในตลาดหุ้นนอกประมาณ 70-80% ที่เหลือเป็นเงินสด และลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ในอดีตเคยลงทุนหุ้น 100%

“เซียนหุ้นวีไอ” จบบทสนทนาว่า นักลงทุนที่ดี ต้องอย่าหวั่นไหวกับราคา หากมั่นใจว่าพื้นฐานดีจริง เว้นเสียแต่ว่า เจอผู้บริหารขี้โม้ หมกเม็ด เพิ่มทุนทุกปี คุณก็จงติดเครื่องหนีออกมาสะ แต่ถ้าเป็นธุรกิจที่ดี เรียกว่ายังพอเห็นแสงสว่าง คุณก็ไม่จำเป็นต้องปล่อยของหมด เหลือติ่งไว้นิดหนึ่ง เผื่อ "ลุ้น"

เส้นทางที่เลือกเดิน ผมคัดสรรมา
ดีแล้ว "นี่แหละเหมาะสมกับชีวิตเผ่าสุดๆ" ทุกวันนี้พ่อ-แม่ ท่านดีใจ ไม่มีอะไรต้องห่วงผู้ชายชื่อ “ตราวุทธิ์" อีกแล้ว...

BTSขึ้นค่ารถ กำไรพุ่งเกิน11% รับปันผล0.18บ.


BTSขึ้นค่ารถ
กำไรพุ่งเกิน11%
รับปันผล0.18บ.

ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 30 เมษายน 2556 
ผู้เข้าชม : 17 คน 

BTS ปรับขึ้นค่าโดยสารสูงกว่าคาด 11.1% เริ่ม 1 มิ.ย.นี้ ดันกำไรเข้า BTSGIF กับ BTS ทันที ลุ้นรับปันผลระหว่างกาล 0.18 บาท ก่อนขึ้นเครื่องหมายXD 2 พ.ค.นี้

                นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประเมินว่าการปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ถือเป็นการปรับราคามากกว่าที่เคยคาดไว้ โดยราคาตั๋วเดี่ยว (Single journey ticket ) จะถูกปรับขึ้นสูงสุด 10-25% ส่วนประเภทตั๋วเดือน 30 วัน สำหรับบุคคลทั่วไป (Adult 30-day trips) ปรับขึ้น 8-10% ส่วนของนักเรียนปรับขึ้น 5-7%
                จากโครงสร้างตั๋วเดี่ยว 46% ตั๋วเดือนประชาชนทั่วไป 29% ตั๋วเดือนนักเรียน 8% และบัตรเติมเงิน 16% จะเห็นการปรับตัวค่าตั๋วครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ตั๋วเดี่ยว และตั๋วเดือน 30 วัน สำหรับบุคคลทั่วไป รวมสัดส่วน 75% และเมื่อประเมินในลักษณะของค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักแล้วจะพบว่า ค่าตั๋วโดยรวมเบื้องต้นจะถูกปรับขึ้นประมาณ 11.1% ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป
                ทั้งนี้ ค่าโดยสารจะปรับขึ้นเต็มที่ประมาณ 13.9% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557  เมื่อตั๋วประเภทเติมเงินมีผลบังคับใช้กับอัตราใหม่นี้ คาดว่าตลาดจะปรับประมาณการกำไรของ BTSGIF กับ BTS ขึ้นได้อีก นอกจากนี้ ยังมีการจ่ายปันผลระหว่างกาลไตรมาส 3/55-56  จำนวน 0.18 บาท จะขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 2 พฤษภาคม 2556 นี้
                ฝ่ายวิเคราะห์มีความเห็นเป็น “บวก” กับการปรับราคานี้  (มีผลตั้งแต่ 1 มิ.ย. 2556) โดยหากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า BTS เลือกปรับในสถานีที่มีความหนาแน่นสูง เช่น สถานีที่ 2-9 ซึ่งจะเห็นว่ามีช่วงการปรับสูงระหว่าง 10-25% สูงกว่าที่คาดไว้ที่เฉลี่ย 10% พอสมควร
                ขณะที่ตลาดคาดเพียงแค่ 5% เท่านั้น โดย ณ การรายงานล่าสุด 3Q55/56 ค่าเฉลี่ยตั๋ว BTS เฉลี่ยจะอยู่ที่ 25.02 บาท/เที่ยว ซึ่งแสดงชัดเจนว่าการเดินทางของผู้ใช้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 4-5 สถานี ดังนั้น เชื่อว่าตลาดจะมีการปรับประมาณการขึ้นเร็วๆ นี้ เนื่องจากผลของการปรับนี้จะส่งผลบวกต่อ BTSGIF ทางตรงและทางอ้อมต่อ BTS จากการที่ BTS ถือหุ้นใน BTSGIF อยู่ 1 ใน 3 นี้ เราคงคำแนะนำ “ซื้อ” BTS ราคาเหมาะสม 12.30 บาทต่อหุ้น
                 นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  แจ้งว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2556 บริษัทจะปรับราคาค่าโดยสารที่เรียกเก็บสำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสในส่วนของเส้นทางสัมปทานระยะทาง 23.5 กิโลเมตร
                จากสถานีหมอชิตถึงสถานีอ่อนนุช และจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติถึงสถานีสะพานตากสินจาก 15-40 บาท เป็น 15-42 บาท โดยจะเรียกเก็บสถานีแรก 15 บาท สถานีที่สอง ราคา 22 บาท สถานีที่สาม 25 บาท สถานีที่สี่ 28 บาท สถานีที่ห้า 31 บาท สถานีที่หก 34 บาท สถานีที่เจ็ด 37 บาท และจากสถานีที่แปดเป็นต้นไป 42 บาท ซึ่งการปรับราคาค่าโดยสารครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 2 นับจากการเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามาตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2542
                 โดยครั้งแรกปรับจาก 10-40 บาท มาเป็น 15-40 บาท เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2549 นับเป็นเวลากว่า 6 ปีที่บริษัท มิได้มีการปรับราคาค่าโดยสารที่เรียกเก็บ ทั้งนี้ อัตราค่าโดยสารที่เรียกเก็บใหม่นี้จะต่ำกว่าเพดานอัตราค่าโดยสารตามสัญญาสัมปทาน ซึ่งขณะนี้มีเพดานอยู่ที่ 18.79-56.36 บาท และตามสัญญาสัมปทานกำหนดให้บริษัทสามารถปรับอัตราค่าโดยสารที่เรียกเก็บได้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 18 เดือนจากการปรับครั้งก่อนหน้า
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กล่าวว่า บริษัทฯต้องขอความเห็นใจในการขอปรับราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสที่เรียกเก็บจากผู้โดยสารในครั้งนี้ เนื่องจากบริษัทฯไม่ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารที่เรียกเก็บมากว่า 6 ปี แล้ว ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทมีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมากเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสาร โดยเฉพาะการลงทุนซื้อขบวนรถไฟฟ้าเพิ่ม 35 ตู้ เพื่อนำมาต่อพ่วงเข้ากับขบวนรถที่มีอยู่เดิม 35 ขบวน 3 ตู้ ให้เป็นแบบ 4 ตู้ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
รวมถึงขบวนรถที่สั่งซื้อไปอีก 5 ขบวน 20 ตู้ ที่จะมาถึงปลายปี 2556 นี้   นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้งรั้วกั้นขอบชานชาลา (Platform Screen Door)  9 สถานี เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารในการใช้บริการ  อีกทั้งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เช่น ค่าไฟฟ้า  ค่าจ้างพนักงานรักษาความปลอดภัยและยังค่าจ้างพนักงานทำความสะอาด  และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้นทุกปี
อย่างไรก็ตาม ค่าโดยสารที่เรียกเก็บใหม่นี้ บริษัทฯพยายามคงอัตราค่าโดยสารสูงสุดไม่ให้สูงจนเกินไป คือเพิ่มขึ้นเพียงเที่ยวละ 2 บาท เพื่อไม่ให้ผู้ที่เดินทางไกลไม่ต้องรับภาระมากนัก นอกจากนั้น บริษัทฯยังคงมีโปรโมชั่นเที่ยวเดินทางประเภท 30 วัน ทั้งสำหรับบุคคลทั่วไปและนักเรียนนักศึกษา
โดยได้กำหนดราคาใหม่เป็นดังนี้  สำหรับบุคคลทั่วไป ประเภท 50 เที่ยว ราคา 1,100  บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 22 บาท  ประเภท 40 เที่ยว ราคา 920 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 23 บาท  ประเภท 25 เที่ยว ราคา 625 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 25 บาท และ ประเภท 15 เที่ยว ราคา 405 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 27 บาท
สำหรับนักเรียนนักศึกษา ประเภท 50 เที่ยว ราคา 800 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 16 บาท ประเภท 40 เที่ยว ราคา 680 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 17 บาท  ประเภท 25 เที่ยว ราคา 475 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 19 บาท และ ประเภท 15 เที่ยว ราคา 315 บาท เฉลี่ยเที่ยวละ 21 บาท
อนึ่ง เพื่อเป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในช่วงนี้ บริษัทฯจะยังคงอัตราค่าโดยสารเดิมสำหรับ ผู้โดยสารที่เดินทางด้วยบัตรโดยสารประเภทเติมเงิน ทั้งบัตรแรบบิทและบัตรสกายสมาร์ทพาสเดิม ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 และหลังจากนั้น บริษัทฯจะพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดราคาส่วนลดให้กับบัตรโดยสารประเภทนี้อีกครั้งหนึ่ง  ดังนั้น บริษัทฯจึงขอให้ผู้โดยสารที่เคยซื้อบัตรโดยสารเที่ยวเดียว เปลี่ยนมาใช้บัตรเติมเงินเพื่อความสะดวกและประหยัดในการเดินทาง
สำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป บริษัทฯจะให้ส่วนลดราคาสูงสุดกว่า 50% เมื่อผู้สูงอายุใช้บัตรแรบบิทประเภทผู้สูงอายุ โดยสามารถเดินทางได้ไม่จำกัดเวลา ซึ่งเดิมบริษัทฯ จะลดให้เฉพาะเดินทางในช่วงนอกเวลาเร่งด่วนเท่านั้น โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2556 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 ซึ่งจะเป็นการคิดจากอัตราค่าโดยสารใหม่ของบัตรโดยสารเที่ยวเดียว โดยเริ่มต้นสถานีแรกที่ 7 บาท จนสูงสุด 21 บาท ตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น. ของทุกวัน
สำหรับการปรับลดราคาของสถานีส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ที่กรุงเทพมหานครเรียกเก็บ 15 บาท ตลอดสายมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2555 และมีนโยบายจะเรียกเก็บ 10 บาท ตลอดสายตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2556 นั้น รายได้ในส่วนนี้จะเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเป็นคนละส่วนกับค่าโดยสารในส่วนเส้นทางสัมปทาน 23.5 กิโลเมตร


วิศวกรรมการเงินCP ฟาดกำไรพุ่งขึ้นแรง

วิศวกรรมการเงินCP
ฟาดกำไรพุ่งขึ้นแรง

ข่าวหน้าหนึ่ง วันอังคารที่ 30 เมษายน 2556 
ผู้เข้าชม : 13 คน 

ซีพีวางแผนวิศวกรรมทางการเงิน ดันกำไร CPALL และสยามแม็คโครพุ่ง ระบุหลังถือหุ้นใหญ่ ลดรายจ่ายค่าลิขสิทธิ์ทันที 400 ล้านบาท กำไรอัตราแลกเปลี่ยน 375 ล้านบาท บุ๊คในไตรมาสสาม รวมทั้งกำไรที่ดินหลังลดตั้งค่าเสื่อม ออกกองอสังหาฯ และซื้อหุ้นคืนดันกำไรโตปีละ 30%

                แหล่งข่าวจากที่ปรึกษาทางการเงิน เผยว่า บมจ.ซีพี ออลล์ หรือ CPALL วางแผนวิศวกรรมทางการเงิน ซึ่งจะส่งผลดีต่อดีลซื้อหุ้นบมจ.สยามแม็คโคร หรือ MAKRO ไว้ 5 ประการ อันจะส่งผลให้ผลประกอบการของ CPALL  และ MAKRO มีกำไรเพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต ดังนี้
                ประการแรก บริษัทจะได้ลดค่าใช้จ่ายด้านทรัพย์สินทางการค้าหรือเครื่องหมายทางการค้า ซึ่งแม็คโครคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย และค่าใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์ระหว่างบริษัทลูกและบริษัทแม่แม็คโครที่ต่างประเทศ ซึ่งในปีที่ผ่านมามีค่าใช้จ่ายรวมกว่า 400 ล้านบาท หลังจากซื้อสิทธิ์ขาดมาแล้ว
                ประการที่สอง  CPALL ได้กู้เงินเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ไลบอร์บวก 1.5% ซึ่งจะมีต้นทุนดอกเบี้ยประมาณ 3-4% เท่านั้น และยังปิดความเสี่ยงโดยการแปลงดอลลาร์เป็นเงินบาท โดยจะบุ๊คกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนภายในไตรมาสที่ 3 นี้ ประมาณ 375 ล้านบาท
                ประการที่สาม ได้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาขาของแม็คโครมากกว่า 62 สาขา ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดฯ โดยเฉพาะราคาที่ดินของแต่ละแห่งที่ยังคงใช้ราคาในอดีต ขณะที่ปัจจุบันราคาปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 8-10 เท่า ปัจจุบันในงบการเงิน  MAKRO มีการตั้งค่าด้อยค่าของที่ดินสูงทำให้สินทรัพย์ของบริษัทที่รวมอาคารและที่ดินมีมูลค่ากว่า 3.8 แสนล้านบาท ตั้งด้อยค่าไป 1.8 แสนล้านบาท เหลือมูลค่าสินทรัพย์เพียง 1.19 แสนล้านบาทเท่านั้น แต่อนาคตหลัง CPALL  เข้ามาบริหารการตั้งค่าด้อยค่าที่ลดลงหรือไม่มีจะส่งผลให้มูลค่าสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
                ประการที่สี่ CPALL สามารถนำที่ดินสาขาทั้งหมด ไปตั้งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ขายในตลาดฯและให้แม็คโครซื้อหุ้นคืนจาก CPALL  เพื่อลดรายจ่าย จุดนี้ซีพีจะได้รับส่วนต่างราคาดังกล่าว คล้ายกับกรณีของ JAS โดยออกรีเทลบอนด์
                ประการที่ห้า ซีพีสามารถรุกตลาดในต่างประเทศได้มากขึ้น ได้แก่ ตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย และจีน ซึ่งที่ผ่านมาไม่สามารถใช้แบรนด์เซเว่นอีเลฟเว่นรุกได้ แต่หลังจากได้แบรนด์แม็คโครมาแล้ว สามารถทำได้มากขึ้น
                นอกจากนี้ ในอนาคต CPALL อาจใช้แบรนด์แม็คโครแทนเซเว่นอีเลฟเว่น ที่ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่าค่าบริหารร้านค้าหรือค่าไลเซนส์ ประมาณปีละ 1 หมื่นล้านบาท ที่ต้องจ่ายให้เจ้าของลิขสิทธิ์ที่สหรัฐอเมริกา เพื่อลดต้นทุนในด้านนี้
                โดยที่ปรึกษาทางการเงิน ระบุว่า ตั้งแต่ปี 57 เป็นต้นไป กำไรสุทธิของ CPALL จะเติบโตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเป็นปีละ 30% จากปกติที่เฉลี่ยโต 20%  ซึ่งผู้บริหารมั่นใจว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ CPALL จะอนุมัติให้บริษัทเข้าซื้อหุ้น MAKRO  ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นวันที่ 12 มิ.ย.นี้
                ด้านบล.เอเซีย พลัส ให้มูลค่าพื้นฐานหุ้น CPALL หลังควบรวมกิจการ ที่คำนวณโดยใช้วิธีส่วนลดกระแสเงินสด (DCF) กำหนด WACC 9.5% และ Terminal Growth Rate 2.4% เพิ่มขึ้นจาก 52 บาท มาอยู่ที่ 60 บาท

PSL แกร่ง! กำไร 1Q56 เพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่า


PSL แกร่ง! กำไร 1Q56 เพิ่มขึ้นกว่า 7 เท่า

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2556 เวลา 17:24:26 น. 
ผู้เข้าชม : 1031 คน 

บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ PSL และบริษัทย่อยแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ถึงผลการดำเนินงานไตรมาส 1/56 มีกำไรสุทธิ 276.56 ล้านบาท หรือ 0.27 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 775.23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 40.96 ล้านบาท หรือ 0.04 บาทต่อหุ้น
ทั้งนี้ จาก 1) รายได้จากการเดินเรือสุทธิ (รายได้จากการเดินเรือสุทธิจากรายจ่ายท่าเรือและน้ำมันเชื้อเพลิง) ของไตรมาส 1/56 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 55 ที่ 13% 2) ค่าใช้จ่ายในการเดินเรือเฉลี่ยต่อวันต่อลำเรือลดลงจาก 4,390 เหรียญสหรัฐในไตรมาส 1/55 เป็น 4,318 เหรียญสหรัฐในไตรมาส 1/56 3) ไตรมาส 1/56 บริษัทได้บันทึกกำไรเป็นเงิน 412.52 ล้านบาท จากการแปลงหนี้ใหม่ของสัญญาสั่งต่อเรือเดินทะเล จำนวน 3 ฉบับ ในระหว่างไตรมาส 1/56 และการยกเลิกสัญญาสั่งต่อเรือเดินทะเล จำนวน 1 ฉบับซึ่งลงนามและบันทึกกำไรในระหว่างไตรมาสนี้เช่นกัน
ข่าวล่าสุด

US ซิลลิ่ง 29.53% หลังข่าวสะพัด UOBKH ใกล้ปิดดีลขายไลเซนส์เร็ว ๆ นี้


 หุ้น US , ข่าว



US ซิลลิ่ง 29.53% หลังข่าวสะพัด UOBKH ใกล้ปิดดีลขายไลเซนส์เร็ว ๆ นี้
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 29 เมษายน 2556 16:24:39 น.

หุ้น US ราคาซิลลิ่ง 29.53% มาอยู่ที่ 19.30 บาท เพิ่มขึ้น 4.40 บาท มูลค่าซื้อขาย 53.38 ล้านบาท เมื่อเวลา 15.56 น. โดยเปิดตลาดที่ 19.30 บาท ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 19.30 บาท และราคาปรับตัวลงต่ำสุดที่ 16.40 บาท

แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการโบรกเกอร์ เปิดเผยว่า ราคาหุ้น บล.ยูไนเต็ด(US)เช้านี้ปรับตัวขึ้นสูง ด้วยวอลุ่มเทรดที่เข้ามาอย่างคึกคัก คาดว่าจะเป็นผลจากกระแสข่าวที่ออกมาในห้องค้าหลักทรัพย์ว่า บล.ยูโอบี เคย์เฮียน(ประเทศไทย)หรือ UOBKH เตรียมจะขายไลเซนส์ของ US ให้กับกลุ่มทุนที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมือง และมีอดีตผู้บริหารโบรกเกอร์แห่งหนึ่งร่วมอยู่ด้วย

"การขาย US ของ UOBKH ในครั้งนี้ คงจะขายแต่เฉพาะไลเซนต์เท่านั้น และราคาเสนอขายคงจะไม่ต่ำกว่าที่ UOBKH ซื้อ US ไปเมื่อก่อนที่ประมาณ 5 บาทกว่าต่อหุ้น ซึ่งก็คิดว่าดีลใกล้จะจบเร็ว ๆ นี้"แหล่งข่าวระดับสูง กล่าว

อนึ่ง เมื่อวันที่ 22 ก.ค.54 UOBKH ยื่นทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ บล.ยูไนเต็ด(US)ในช่วง 22 ก.ค.-26 ส.ค.54 ราคาหุ้นละ 5.58 บาท

อินโฟเควสท์

"หุ้นที่(จะ)ใหญ่ที่สุดในตลาด" โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร


"หุ้นที่(จะ)ใหญ่ที่สุดในตลาด" โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ชื่อ:  news_img_ceo_26.jpg
ครั้ง: 1954
ขนาด:  3.2 กิโลไบต์

งานอดิเรกอย่างหนึ่งของผมก็คือ ดูว่าบริษัทไหนในตลาดหุ้นของแต่ละประเทศมี Market Cap. หรือมีมูลค่าตลาดของหุ้นใหญ่ที่สุด และหลาย ๆ ครั้งก็ดูบริษัทที่ใหญ่รอง ๆ ลงมา นอกจากนั้น ผมก็ชอบที่จะดูว่าในอดีตนั้น บริษัทไหนเคยเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดหรือใหญ่มาก ๆ และเดี๋ยวนี้พวกเขายังใหญ่อยู่ไหม เพราะข้อมูลนี้จะช่วยบอกถึง “วิวัฒนาการ” ทางเศรษฐกิจและบริษัทจดทะเบียนหรือหุ้นว่าจะไปทางไหน ถ้าจะพูดให้ตรงประเด็นก็คือ ในอนาคตบริษัทไหนจะมีโอกาสเติบโตจนกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดหรือใหญ่มากในตลาดหลักทรัพย์ และถ้าเรารู้ เราก็สามารถลงทุนซื้อและถือหุ้นตัวนั้นในระยะยาวได้ ลองเริ่มต้นจากตลาดสหรัฐซึ่งมีข้อมูลยาวนานและหาได้ง่ายดู

ในปัจจุบันหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในตลาดสหรัฐนั้นก็คือ หุ้นของแอปเปิลคอมพิวเตอร์และหุ้นของบริษัทเอ็กซอนที่ผลิตน้ำมันที่สลับกันเป็นหมายเลขหนึ่ง เอ็กซอนนั้นจริง ๆ แล้วก็เคยเป็นหมายเลขหนึ่งมานานแล้ว น่าจะหลายสิบปีมาแล้วและก็คงจะเป็นบริษัทหมายเลขหนึ่งในหลาย ๆ ครั้งที่ราคาน้ำมันวิ่งขึ้นไปสูงหรือมีวิกฤติน้ำมันที่ทำให้บริษัทมีกำไรสูงมากและทำให้มูลค่าหุ้นสูงลิ่ว ประเด็นก็คือ พลังงานนั้นเป็นสิ่งที่คนทุกคนต้องบริโภคและมีการใช้จ่ายค่อนข้างมากมาตลอดน่าจะตั้งแต่เกือบร้อยปีก่อนที่เริ่มมีการใช้รถยนต์ ดังนั้น ยอดขายของบริษัทน้ำมันจึงมีมูลค่าสูงมากตลอดมา นอกจากนั้น บริษัทที่จะผลิตน้ำมันเองก็ต้องมีขนาดใหญ่มากส่งผลให้มูลค่าหุ้นของบริษัทน้ำมันมีขนาดสูงลิ่วมาตลอด ผลก็คือ บริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอย่างเอ็กซอนจึงติดอันดับหนึ่งมาบ่อยครั้งและผมเชื่อว่ามากกว่าทุกบริษัท


เมื่อโลกเปลี่ยนไป คนอเมริกันร่ำรวยขึ้นมาก พวกเขาเริ่มใช้จ่ายกับสินค้าไฮเท็คมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะที่เป็นผลิตภัณฑ์เคลื่อนที่ได้อย่างไอโฟนและไอแพด หุ้นของแอปเปิลที่เป็นหมายเลขหนึ่งของอุตสาหกรรมจึงกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกันและโลกได้ในช่วงเร็ว ๆ นี้แม้ว่าเมื่อประมาณซักสิบกว่าปีที่ผ่านมามันยังเป็นเพียงบริษัทเล็ก ๆ บริษัทหนึ่งในตลาดหุ้น

ถ้าเรามองประวัติศาสตร์ของหุ้นหมายเลขหนึ่งย้อนหลังไปไกล ๆ เราก็จะพบว่าหุ้นที่เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของตลาดหุ้นอเมริกานั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตามยุคสมัยของเศรษฐกิจ เมื่อสมัยที่คนอเมริกันเริ่ม “ขับรถยนต์” กันทั้งประเทศ หุ้นของเจนเนอรัลมอเตอร์หรือ GM ที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์หมายเลขหนึ่งของอเมริกาน่าจะเคยเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุด แต่หลังจาก “ยุคทอง” ของรถยนต์ผ่านไปเนื่องจากการแข่งขันจากรถยนต์ต่างประเทศ หุ้น GM ก็ไม่เคยกลับมายิ่งใหญ่อีกเลย
ยุคที่คนอเมริกันหันมาใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่ออำนวยความสะดวกในบ้านกันทุกบ้าน หุ้นเจนเนอรัลอีเล็กทริกหรือ GE ก็น่าที่จะเคยเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในตลาด การใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นอิ่มตัวไปนานแล้ว GE เองก็ตกอันดับไปนานแล้วแต่ปัจจุบันก็ยังคงใหญ่มาก แต่นี่เป็นเพราะ GE ได้หันไปทำกิจการอย่างอื่นที่ยังทำรายได้มากและยังมีคนจ่ายเงินซื้อบริการมากพอสมควรเช่น การทำเครื่องยนต์ของเครื่องบินและการทำธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่ทีเดียว อย่างไรก็ตาม โอกาสกลับมาเป็นที่หนึ่งนั้นน่าจะหมดไปแล้ว

เมื่อเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์ แน่นอน IBM ซึ่งเป็นหมายเลขหนึ่งนั้นก็น่าจะเคยเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุด เพราะแทบทุกธุรกิจก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์ แต่ต่อมาเมื่อคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่คนธรรมดาทุกคนต้องใช้ และการใช้นั้นต้องอาศัยซอฟท์แวร์ หุ้นของไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นหมายเลขหนึ่งที่โดดเด่นครอบงำธุรกิจนี้จึงกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าที่มากที่สุดในตลาดและในโลกทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่ปีบริษัทยังทำงานกันใน “โรงรถ” 


ย้อนหลังไปซัก 15-20 ปีที่ผ่านมา วอลมาร์ทซึ่งสามารถเอาชนะคู่แข่งที่เหนือกว่าในด้านของการค้าปลีกสมัยใหม่และเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ โดยอาศัยกลยุทธการ “ขายถูกทุกวัน” จนสามารถสร้างเครือข่ายที่มียอดขายมโหฬารสูงที่สุดในโลกและมากกว่าบริษัทน้ำมันที่มียอดขายสูงมากตลอดมา ก็กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุด แม้ว่าปัจจุบันมันตกอันดับไปแล้ว แต่มูลค่าตลาดของวอลมาร์ทก็น่าจะยังสูงต่อไปเนื่องจากมูลค่าธุรกิจของโมเดิร์นเทรดเองนั้นก็จะยังสูงต่อไปตราบที่เศรษฐกิจยังขยายตัวเพราะทุกคนยังต้องกินต้องใช้ทุกวันและรูปแบบธุรกิจอื่นก็ยังไม่สามารถมาทดแทนได้

สถาบันการเงินโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์นั้น ถ้ามองย้อนหลังไปในประวัติศาสตร์ก็จะพบว่ามันเป็นกิจการที่มีขนาดใหญ่มากและมีมูลค่าตลาดสูงมากและเป็นอันดับหนึ่งมาเป็นครั้งเป็นคราวแม้ว่าในระยะหลังโอกาสที่จะเป็นอันดับหนึ่งอีกคงจะน้อยลงไปมากแล้ว เหตุผลก็ชัดเจนว่าคนมีเงินและต้องฝากธนาคารรวมถึงต้องมาใช้บริการของธนาคารพาณิชย์นั้นมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามความเจริญทางเศรษฐกิจที่ยังเพิ่มขึ้นอยู่ อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินนั้นเป็นกิจการที่อันดับหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งไม่ได้หมายความว่ามันจะรักษาอันดับของตนเองไว้ได้โดยเฉพาะเวลาที่เกิดวิกฤติขึ้น ดังนั้น เราก็จะเห็นว่าช่วงเวลาหนึ่งซิตี้แบงค์อาจจะเป็น “ราชันย์” ต่อมาเราอาจจะเห็นแบงค์ออฟอเมริกาที่ยิ่งใหญ่

กลับมาที่ตลาดหุ้นไทย ผมลองนึกดูอย่างคร่าว ๆ แล้วก็คิดว่าในช่วงแรก ๆ ของการเปิดตลาดหลักทรัพย์ กิจการที่น่าจะมีมูลค่าตลาดสูงสุดน่าจะเป็นแบงค์อันดับหนึ่งของประเทศซึ่งก็คือธนาคารกรุงเทพในยุคนั้น หุ้นแบงค์ยังน่าจะเคยใหญ่ที่สุดในตลาดมาเป็นครั้งเป็นคราวจนมาถึงยุคหลังที่ประเทศเจริญขึ้นและคนหันมาบริโภคสิ่งอื่น ๆ โดยเฉพาะพลังงานมากขึ้นทำให้หุ้นของแบงค์ตกอันดับไปและอาจจะไม่มีโอกาสกลับมาใหญ่ที่สุดอีก อย่างไรก็ตาม กลุ่มแบงค์ก็น่าจะเป็นกิจการที่ใหญ่มากไปอีกนานเหมือนอย่างในตลาดหุ้นสหรัฐ

เมื่อประเทศเข้าสูโหมดการพัฒนาเศรษฐกิจ มีการสร้างสาธารณูปโภคและการสร้างที่อยู่อาศัยมากมาย หุ้นที่เกี่ยวกับการก่อสร้างก็ย่อมมีโอกาสที่จะกลายเป็นหุ้นอันดับหนึ่ง ดังนั้น หุ้นของปูนใหญ่ซึ่งมีขนาดใหญ่ครอบงำอุตสาหกรรม จึงน่าจะเคยเป็นหุ้นที่มีมูลค่าอันดับหนึ่งของประเทศในช่วงหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจไทยก้าวมาสู่ระดับที่ใกล้จะเป็นเศรษฐกิจที่ “พัฒนาแล้ว” การใช้จ่ายทางด้านของการก่อสร้างก็น่าจะลดลงเมื่อเทียบกับการใช้จ่ายอย่างอื่น ดังนั้น โอกาสที่ธุรกิจในกลุ่มก่อสร้างจะกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในตลาดอีกก็น่าจะยาก
ธุรกิจพลังงานของไทยนั้น เริ่มกลายเป็นบริษัทอันดับหนึ่งมาหลายปีแล้วโดยบริษัทปตท. ซึ่งครอบงำธุรกิจนี้สามารถรักษามูลค่าหุ้นเป็นอันดับหนึ่งอย่างที่ไม่มีใครแซงได้มานานหลายปี อย่างไรก็ตาม พลังของ “เศรษฐกิจใหม่” กำลังเข้ามาแทนที่ หุ้นที่อาจจะมีโอกาสกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศในเวลาไม่นานก็คือธุรกิจสื่อสารที่เป็นโมไบล์หรือมือถือและแน่นอนหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมก็คือหุ้นของ ADVANC ที่มีมูลค่าหุ้นใกล้เข้ามาทุกที

มองไกลออกไปในอนาคต การหาหุ้นที่จะมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศหรือหุ้นที่จะมีขนาดใหญ่มาก ๆ นั้นคือ “รางวัลอันสูงสุด” สำหรับนักลงทุนระยะยาว เพราะถ้าเรารู้หรือคาดการณ์ถูก การลงทุนถือหุ้นตัวนั้นไว้จะให้ผลตอบแทนที่ดีมากโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย เพียงแต่ซื้อแล้วถือเก็บไว้ รอเวลาให้มันเติบโตไปเรื่อย ๆ

เปิดปูม SHV ก่อนถอนสมอ Makro จากไทย


 เปิดปูม SHV ก่อนถอนสมอ Makro จากไทย

ชื่อ:  001.PNG
ครั้ง: 2281
ขนาด:  481.6 กิโลไบต์



ย้อนกลับในปี 2531 หรือกว่า 25 ปีที่แล้ว การเกิดขึ้นของศูนย์จำหน่ายสินค้าในรูปแบบ Cash and Carry ในนาม สยามแมคโคร คงสร้างความสั่นสะเทือนให้กับวงการค้าปลีกไทยไม่น้อย แต่บริบทที่เกิดขึ้นกับ สยามแมคโคร ในวันนี้กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ธุรกิจค้าปลีกไทย ไปไกลเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการถึง

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเอง ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร” ด้วยการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2531 หลังจากที่ SHV Holding บรรษัทที่มีโครงข่ายธุรกิจหลากหลายสัญชาติจากเนเธอร์แลนด์ รุกเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกในเอเชีย ซึ่งควบคู่กับการรุกเข้าไปทั้งใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์


การเข้ามาในเมืองไทยของบรรษัทต่างชาติอย่าง SHV ในครั้งนั้น ย่อมต้องดำเนินไปโดยมีพันธมิตรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทย เป็นส่วนหนึ่งของย่างก้าวก่อนที่จะลงหลักปักฐาน ซึ่งไม่แปลกที่ในครั้งนั้นชื่อของเครือเจริญโภคภัณฑ์จะปรากฏเป็นพันธมิตรสำคัญตั้งแต่เริ่ม


“25 ปีที่แล้ว กลุ่มซีพีได้ชักชวน ให้ SHV Holding เปิดแม็คโครในเมืองไทย ในขณะที่ซีพี ก็เปิด 7-11 ซึ่งถือได้ว่า เราได้เป็นพี่น้องตระกูลเดียวกัน มาปีนี้เราได้มาผนวกกำลังกัน เพื่อพร้อมรับ AEC”

นั่นเป็นคำกล่าวของก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่ปรากฏอยู่ในช่วงหนึ่งของการแถลงข่าวการซื้อสยามแม็คโคร จากกลุ่ม SHV เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556 ซึ่งสะท้อนวิธีคิดและรากฐานความสัมพันธ์ของทั้งสองกลุ่มธุรกิจนี้ได้เป็นอย่างดี

และบ่งบอกนัยความหมายในเชิงยุทธศาสตร์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในการขยายธุรกิจค้าปลีกไทยไปสู่ตลาดสากลในอนาคตได้อย่างชัดเจน

ประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายให้ความสนใจเกี่ยวกับดีลครั้งใหญ่ นี้อยู่ที่ อะไรเป็นเหตุให้ SHV Holding หนึ่งในบริษัทเก่าแก่เนเธอร์แลนด์ และมีโครงข่ายธุรกิจครอบคลุมทั้งกิจการขนส่ง อุตสาหกรรมน้ำมัน รวมถึงธุรกิจบริการด้านการเงิน และถือเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทเทรดดิ้งและค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถอนตัวออกจากประเทศไทย


SHV Holdings ถือกำเนิดขึ้นในปี 1896 ในฐานะ Steenkolen Handels-Vereeniging จากการควบรวมกันของผู้ค้าส่งถ่านหิน 8 รายในเนเธอร์แลนด์ เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นจาก Rheinisch-Westfälischem Kohlen-Syndikat วิสาหกิจด้านถ่านหินของเยอรมนี


นอกจาก SHV จะผูกขาดการค้าและการขนส่งถ่านหินในเนเธอร์แลนด์ที่ทำให้ SHV เติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ก่อนที่ยุโรปจะเข้าสู่ภาวะสงครามโลกครั้งที่ 1 และ2 แล้ว SHV ยังขยายบริบททางธุรกิจด้านพลังงานไปสู่อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ซึ่งหนุนส่งให้ SHV มีสรรพกำลังทางการเงินในการรุกเข้าสู่ธุรกิจอื่นๆ ในเวลาต่อมา

ความชำนาญการอย่างหนึ่งที่สะท้อนออกมาในรูปแบบการดำเนินธุรกิจหลากหลายของ SHV Holdings อยู่ที่ความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจที่พร้อมจะสร้างหลักประกันในการผูกขาดและลดความเสี่ยงด้วยการหลีกเลี่ยงการแข่งขันซึ่งถือเป็นมรดก ตั้งแต่ยุคของ Frits Fentener van Vlissingen ซึ่งนำพา SHV ให้ก้าวขึ้นมาเป็นบรรษัทข้ามชาติได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงของสงครามอีกด้วย

SHV เริ่มเข้าสู่ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก ด้วยการจัดตั้งและเปิดMakro ในฐานะร้านจำหน่ายสินค้าระบบสมาชิก แบบชำระเงินสดและบริการตนเองแห่งแรก ที่เมืองอัมสเตอร์ดัมในปี 1968 ก่อนที่จะขยายสาขาไปเกือบทั่วโลก ทั้ง ยุโรป, อเมริกา และเอเชีย


ข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในด้านหนึ่งอยู่ที่ยุโรป กำลังเกิดปัญหาวิกฤตขนานใหญ่ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่ากระบวนการถอนสมอออกจากไทยเป็นส่วนหนึ่งใน “จังหวะถอย” เพื่อดึงทรัพยากรไปทุ่มเทและใช้พยุงธุรกิจอื่นๆ ที่ยังสามารถเป็นหลักให้กับ SHV ได้ โดยเฉพาะในธุรกิจพลังงานซึ่งดูเหมือนจะเป็นคำตอบสำหรับอนาคตของ SHV

และนี่อาจเป็นการยุติให้ Makro ของ SHV กลายเป็นชื่อในตำนานของธุรกิจค้าปลีก เพราะก่อนหน้านี้ SHV ได้ถอยออกจากการค้าปลีกทีละน้อยด้วยการขายกิจการ Makro ในยุโรปให้กับ Metro ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจค้าส่งค้าปลีกจากเยอรมนี ในปี 1998

ขณะที่ในเอเชีย SHV ขายกิจการของ Makro มาเลเซียให้กับ Tesco จากอังกฤษในปี 2007 และทำให้สาขาของ Makro ถูกแทนที่ด้วยชื่อ Tesco Extra ในปีถัดมา SHV ก็ขาย Makro ในอินโดนีเซียให้กับกลุ่ม Lotte จากเกาหลี พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น Lotte Mart Wholesale


แม้ว่า SHV จะมีท่วงทำนองไปทางทยอยถอย Makro ออกจากเอเชีย แต่โครงข่ายของ Makro ในภูมิภาค อื่นๆ โดยเฉพาะในละตินอเมริกา ยังมีความแข็งแรงและครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ โคลัมเบีย เปรู เวเนซุเอลา อาร์เจนตินา และบราซิล ซึ่งเฉพาะในบราซิล มีสาขาของMakro อยู่มากถึงกว่า 76 แห่งทีเดียว


การเข้าซื้อกิจการ Makro ในประเทศไทยของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในสายตาของผู้ประกอบการหรือนักลงทุนจำนวนไม่น้อยอาจประเมินว่าเป็นดีลที่ over price แต่สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์แล้ว พวกเขาเชื่อว่า การได้สยามแม็คโครเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโครงข่ายธุรกิจ จะสามารถเสริมจุดแข็งและสร้างความมหัศจรรย์ของการลงทุนให้เกิดขึ้นได้


แต่การลงทุนที่ถือว่าเป็นดีลที่ยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ของสังคมธุรกิจไทย ด้วยมูลค่ารวมเป็น “เลขมงคล” 188,880 ล้านบาท ในครั้งนี้จะหนุนนำให้ CP All ก้าวไปสู่จุดที่มุ่งหวังหรือไม่ ยังต้องพิสูจน์


ชื่อ:  002.PNG
ครั้ง: 2266
ขนาด:  12.6 กิโลไบต์

N-PARK จ่ายหนี้งวด​แรกธ.​ไอซีบีซี 50 ลบ.จาก 250 ลบ.หลังปรับ​โครงสร้างหนี้


 N-PARK จ่ายหนี้งวด​แรกธ.​ไอซีบีซี 50 ลบ.จาก 250 ลบ.หลังปรับ​โครงสร้างหนี้

N-PARK จ่ายหนี้งวด​แรกธ.​ไอซีบีซี 50 ลบ.จาก 250 ลบ.หลังปรับ​โครงสร้างหนี้

ชื่อ:  Untitled.png
ครั้ง: 1014
ขนาด:  47.8 กิโลไบต์

นายนคร ลักษณกาญจน์ กรรม​การ​ผู้จัด​การ บมจ.​แน​เชอรัล พาร์ค (N-PARK) กล่าวว่า ตามที่ที่ประชุมคณะกรรม​การบริษัทครั้งที่ 3/2556 ​เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556 มีมติ​ให้บริษัท​ทำข้อตกลง ปรับปรุง​โครงสร้างหนี้ กับธนาคาร​ไอซีบีซี (​ไทย) ​โดยบริษัทจะชำระ​เงินจำนวน 250,000,000 บาท ​เพื่อประนีประนอมยอม​ความ​ในคดีดังกล่าว ​โดยชำระครั้ง​แรกจำนวน 50 ล้านบาทภาย​ในวันที่ 30 ​เมษายน 2556 ​และชำระ​ทั้งหมดจำนวน 200 ล้านบาท ภาย​ในวันที่ 15 ตุลาคม 2556

วันนี้บริษัท​ได้ชำระ​เงินงวด​แรกจำนวน 50 ล้านบาท ​ให้กับธนาคาร​ไอซีบีซี (​ไทย) จำกัด (มหาชน) ​เรียบร้อย​แล้ว

สืบ​เนื่องจาก ตามที่ธนาคารสิน​เอ​เซีย (ปัจจุบัน คือ ธ.​ไอซีบีซี (​ไทย)) ​ซึ่ง​เป็นอดีต​เจ้าหนี้อีกรายหนึ่ง​ใน​แผนฟื้นฟูกิจ​การ ยื่นฟ้องบริษัทต่อศาล​แพ่งกรุง​เทพ​ใต้ ​ในมูลหนี้ค้ำประกัน​เป็น​เงินต้น​และดอก​เบี้ยรวมจำนวน 769.72 ล้านบาท ต่อมาศาล​แพ่งกรุง​เทพ​ใต้​ได้พิพากษา​ให้บริษัทชำระ​เงินต้นจำนวน 247.50 ล้านบาท พร้อมดอก​เบี้ย​ในอัตราร้อยละ 21 ต่อปีนับจากวันที่ 1 กันยายน 2539 ​เป็นต้น​ไปจนกว่าจะชำระหนี้​ให้​แก่​โจทก์​เสร็จสิ้น ​แต่​ทั้งนี้ดอก​เบี้ย​ทั้งหมด ​เมื่อคำนวณ​ถึงวันฟ้อง​แล้วต้อง​ไม่​เกิน 522.22 ล้านบาท ​แต่หาก​โจทก์​ได้รับชำระหนี้จาก​การบังคับคดีกับลูกหนี้รายอื่นๆ ​ในมูลหนี้ราย​เดียวกันนี้​ไป​แล้ว​เพียง​ใด​ให้สิทธิ​ใน​การบังคับชำระหนี้ของ​โจทก์​ในคดีนี้ลดลง​เพียงนี้ ​โดยบริษัท​ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล​แพ่ง

กรุง​เทพ​ใต้ดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์​เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2550 ​และ​เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 ศาลอุทธรณ์พิพากษา​แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น​เป็นว่า​ให้จำ​เลยชำระดอก​เบี้ยอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี นบ​แต่วันฟ้อง (17 สิงหาคม 2549) ย้อนหลัง​ไป 5 ปี ​โดย​ให้หักดอก​เบี้ยที่จำ​เลยชำระ​แก่​โจทก์​แล้วจำนวน 651,821.92 บาท ออกด้วย ​และดอก​เบี้ยอัตราดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้อง​เป็นต้น​ไปจนกว่าจะชำระ​เสร็จ​แก่​โจทก์ นอกจากที่​แก้​ให้​เป็น​ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรม​เนียมชั้นอุทธรณ์​ให้​เป็นพับ

อย่าง​ไร​ก็ตาม จากผลของคำพิพากษาดังกล่าว ​ทำ​ให้บริษัทมีภาระดอก​เบี้ยน้อยลงมากจาก​เดิมดอก​เบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี นับจากวันที่ 1 กันยายน 2539 ​เปลี่ยน​เป็นอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี นับจากวันที่ 17 สิงหาคม 2544 (นับ​แต่วันฟ้องย้อนหลัง​ไป 5 ปี) ​ความละ​เอียดตามหนังสือที่อ้าง​ถึง ​โดยคดีดังกล่าวอยู่ระหว่าง​การพิจารณาของศาลฎีกา

ผลของคำพิพากษาดังกล่าว​ทำ​ให้บริษัทต้องตั้งสำรองหนี้สิน​เงินต้น​และดอก​เบี้ยรวม 483,975,061 บาท ​ในงบ​การ​เงินรวม​และงบ​การ​เงิน​เฉพาะกิจ​การสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ​ซึ่งส่งผลกระทบ​โดยตรงต่อฐานะทาง​การ​เงินของบริษัท​และ​การดำ​เนินกิจ​การ​ในอนาคต ​ถึง​แม้หนี้สินดังกล่าว​ได้​เกิดขึ้นก่อนที่บริษัทจะ​เข้าสู่กระบวน​การฟื้นฟูกิจ​การ ​แต่​ในสถาน​การณ์ปัจจุบันบริษัทมี​ความจำ​เป็นต้อง​เร่งประนอมหนี้​โดย​เร็ว ​เพื่อลดภาระ​การตั้งสำรองหนี้สิน ​ซึ่งจะส่งผล​ทำ​ให้ฐานะ​การ​เงินของบริษัทดีขึ้น

อิน​โฟ​เควส

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติ elon musk แห่งอมาซอน


ประวัติ elon musk

วันนี้นำประวัติของชายคนนึงที่น่าสนใจไม่น้อยใาฝากคะ

ชื่อ:  Unknown.jpg
ครั้ง: 988
ขนาด:  6.3 กิโลไบต์


elon musk (เกิด 28,1971) ประธานและผู้ก่อตั้ง paypal ,
tesla motors และ space exploration technologies
elon musk เป็นที่รุจักดีในฐานะผู้ก่อตั้ง paypal เวบไซต์บริการโอนเงินชื่อดัง
และผู้ก่อตั้งบริษัท Space Exploration Technologies หรือ SpaceX
บริษัทเอกชนบริษัทแรกที่ปล่อยจรวดสู่อวกาศ นอกจากนี้เป็นผู้ก่อตั้ง Tesla Motors
ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย
มัสเกิดและโตในประเทศแอฟริกาใต้ พ่อเค้าเป็นวิศวกร ส่วนแม่เป็นนักโภชนาการ
พ่อของเขาเปนคนสร้างแรงบันดาลใจให้มัสหลงรักเทคโนโลยี
มัสซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องแรกตอนอายุ 10 ขวบ และเมื่ออายุ 12
เขาได้เขียนโค้ดวิดีโอเกมอวกาศชื่อว่า Blastar มัสขายซอฟแวร์ได้เงิน 500$
มัสเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัย Queen ใน Kingston, Ontario, Canada มัสมีแผนการทีจะทำธุรกิจ
เขาเคยทำงานที่ Canadian bank หนึ่งซัมเมอร์ในฐานะเป็นนักศึกษาฝึกงาน
นี่เป็นงานที่มัสทำจริงๆก่อนที่จะกลายเป็นนักธุรกิจ ในระหว่างการเรียนปริญญาตรี
มัสได้ย้ายไปมหาวิทยาลัย Pennsylvania ที่นี่มัสได้รับปริญญาตรีสองใบคือด้านเศรษฐศาสตร์
และฟิสิกส์ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขา High Energy Physics
จากมหาวิทยาลัย Stanford มัสย้ายไป California ในช่วงที่อินเตอร์เนตเริ่มรุ่งเรือง
อย่างไรก็ตาม ชีวิตมัสได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เมื่อปี 1995 เมื่อมัสได้อายุ 24 ปี
เขาได้หยุดพักการเรียนจาก Stanford หลังจากลงเรียนได้เพียงสองวัน
เพื่อเริ่มธุรกิจ โดยบริษัทแรกของมัสมีชื่อว่า Zip2 Corporation บริษัท Zip2
เป็นเหมือนแหล่งจัดหาข้อมูลออนไลน์เวอชั่นใหม่ให้กับ New York Times และหนังสือพิมพ์ Chicago Tribune.
มัสได้อุทิศแรงกายทั้งหมดที่มีให้กับ zip2 เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ
ดังที่มัสกล่าวไว้ "ความล้มเหลวเป็นเหมือนตัวเลือก ถ้ายังไม่มีสิ่งใดผิดพลาด
แสดงว่าคุณยังไม่ได้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเพียงพอ"
มัสใช้ชีวิตอยู่ที่เดียวกับบริษัทที่เช่าไว้เป็นส่วนบริหารงาน
หลับบนโซฟา และอาบน้ำที่สโมสรท้องถิ่นซึ่งถูกกว่าการเช่าอพาทเม้น
มัสได้พยายามรักษาบริษัทของให้อยู่รอด และในที่สุดก็ขายหุ้นส่วนใหญ่ของ zip2
ให้แก่นักลงทุนเป็นเงิน 3.6$ ล้านเหรียญ
ในปี 1999 บริษัท Compaq Computer ได้ซื้อ Zip2 เป็นเงิน $307 ล้านเหรียญ.
โดยมัสมีส่วนแบ่ง 22 ล้านเหรียญ มัสกลายเป็นมหาเศรษฐีด้วยวัยเพียง 28
และในปีเดียวกันก็ได้เริ่มก่อตั้งบริษัทที่สอง
ในปี 1999 มัสเริ่มบริษัทชื่อว่า X.com ด้วยเงิน $10 ล้านเหรียญจากการขาย Zip2. X.com
เป็นธนาคารออนไลน์ และมัสได้สร้างความน่าเชื่อถือ
โดยการสร้างวิธีการรักษาความปลอดภัยในการ
โอนเงินผ่านที่อยู่อีเมลล์ของผู้รับ ในปี 2000, X.com ได้ซื้อบริษัทชื่อ Confinity
ซึ่งได้เริ่มสร้างวีธีการโอนเงินผ่าน Internet หรือที่เรียกว่า PayPal.
มัสได้เปลี่ยนชื่อ X.com/Confinity เป็น Paypal และทิ้งธนาคารออนไลน์แบบเดิมของบริษัท
และมุ่งความสนใจกับการเป็นผู้ให้บริการการจ่ายโอนเงินทั่วโลก
ในปี 2002 อีเบย์ได้ซื้อ Paypal เป็นเงิน $1.5 พันล้านเหรียญ
และมัสได้ทำเงินเป็นจำนวน $165 ล้านเหรียญ จากการปันผลหุ้นอีเบย์

ในปี 2002 มัสได้เริ่มบริษัท SpaceX หรือเป็นที่รู้จักในนาม the Space Exploration Technologies.
มัสเป็นสมาชิกที่ยาวนานของ Mars Society องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ให้การสนับสนุน
เรื่องการสำรวจดาวอังคาร และมัสยังสนใจก่อตั้งโครงการ greenhouse บนดาวอังคารอีกด้วย.
SpaceX ได้พัฒนาเทคโนโลยีจรวดเพื่อ ให้โครงการของมัสเป็นไปได้ Space X
เป็นบริษัทเอกชนรายแรกที่สามารถจัดเที่ยวบินไป-กลับไประหว่างโลก
และสถานีบนอวกาศได้
มัสมีความฝันว่าวันหนึ่งเขาจะมีธุรกิจ ท่องเที่ยวระหว่างดวงดาวที่เปิดให้บริการสำหรับคนทั่วไป
นอกจากนี้ในปี 2004 มัสร่วมก่อตั้งบริษัท Tesla Motors ได้สร้างรถยนต์ไฟฟ้าแบบสปอร์ต
เรียกว่า the Tesla Roadster, the Model S เป็นโมเดลต้นแบบทางเศรษฐศาสตร์
เป็นรถซีดานไฟฟ้าสี่ประตู และวางแผนที่จะผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนพลังงานแสงอาทิตย์ต่อไปในอนาคต
และในปี 2006 มัสร่วมก่อตั้งบริษัท SolarCity, เป็นบริษัทพลังงานแสงอาทิตย์ชั้นนำ
อุปกรณ์ผลิตไฟฟ้า และบริษัทที่ให้การบริการ โดยร่วมกับหลานชื่อ Lyndon Rive.
มัสในฐานะผู้นำบริษัทเทคโนโลยี SpaceX. . .
ณ วันนี้ เขาไม่ได้นอนในบริษัทอีกแล้ว เขามีบ้าน มีภรรยา และในโรงเก็บรถยังมี McLaren F1,
ราคา $1.2 ล้านเหรียญ มัสยังเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรมัส
ซึ่งทำการสำรวจอวกาศและค้นหาแหล่งพลังงานสะอาด องค์กรได้ดำเนินงาน
โดยมีฐานสำรวจดาวอังคารอยู่ที่ southern Utah,
โดยออกแบบจำลองสภาวะบรรยากาศคล้ายดาวอังคาร
ซึ่งผู้เยี่ยมชมสามารถพบกับประสบการณ์การใช้ชีวิตเหมือนอยู่บนดาวอังคาร
รวมถึงการขับของเสียในห้องน้ำอีกด้วย

"ผมคิดว่าการสำรวจอวกาศของมนุษย์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แน่นอนว่า โอกาสที่จะมีชีวิตรอดมากขึ้นถ้าเราสามารถอยู่บนดาวมากกว่าหนึ่งดวง " มัสกล่าว

คลังงดขายบอนด์ฝรั่ง


คลังงดขายบอนด์ฝรั่ง

การเงินการคลัง วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2556 
ผู้เข้าชม : 11 คน 

กระทรวงการคลังสั่งงดขายพันธบัตรเงินเฟ้อให้นักลงทุนต่างชาติภายในปีนี้ หวังลดปริมาณเงินไหลเข้าประเทศ หลังจากพบว่าต่างชาติขนเงิน 2.4 หมื่นล้านมาซื้อบอนด์รัฐบาล ส่วนปีหน้าหากขายต้องลดส่วนลงไม่ให้มากถึง 60% อย่างที่ผ่านมา
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เผยว่ามาตรการที่จะลดสัดส่วนการเสนอขายพันธบัตรรัฐบาล ที่มีอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการ เปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อให้กับนักลงทุนต่างชาตินั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนเสนอขายบอนด์ในปีหน้า แต่สำหรับปีนี้จะไม่มีการขายออกมาอีกแล้ว
ดังนั้นการออกมาตรการในครั้งนี้ จึงเป็นเพียงการส่งสัญญาณเตือนนักลงทุนต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งการขายพันธบัตรระยะยาว หากไม่มีนักลงทุนต่างประเทศซื้อก็ขายภายในประเทศค่อนข้างยาก ซึ่งนักลงทุนต่างชาติมองว่าพันธบัตรในประเทศไทยไม่มีความเสี่ยงจึงสนใจมาลง ทุน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยก็ค่อนข้างดี
โดยความต้องการลงทุนของนักลงทุนที่ต้องการซื้อพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ(Inflation-Linked Bond:ILB) รุ่นอายุ 15 ปี วงเงิน 4 หมื่นล้านบาทมีค่อนข้างมาก โดยคลังเสนออัตรา ดอกเบี้ยหน้าตั๋วที่ 1.25% ถึง 1.40% ซึ่งมีความต้องการมากกว่าเงินที่ต้องการออกจำหน่วย โดยมีนักลงทุนแสดงความสนใจลงทุนใน ILB วงเงิน 1.21 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 3 เท่าของวงเงินจำหน่ายพันธบัตร
โดยจัดสรรให้นักลงทุนต่างชาติ 60% ของวงเงินจำหน่ายพันธบัตร หรือประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท โดยจัดสรรพันธบัตรให้แก่นักลงทุนต่างชาติทั้งหมด 35 ราย จาก 11 ประเทศทั่วโลก ซึ่งล้วนเป็นนักลงทุนระยะยาวประเภทกองทุนบริหารสินทรัพย์ระดับโลก ขนาดใหญ่ทั้งสิ้น
ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เผยว่า คลังจะปรับลดสัดส่วนการเสนอขายพันธบัตรรัฐบาล ที่มีอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการ เปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อให้กับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งใน การแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่า
"สาเหตุที่ทำให้เงินบาทแข็งในช่วงที่ผ่านมา คือมีการออกกองอสังหาฯ ขนาดใหญ่กองหนึ่ง และทางสบน.มีการออก ILB ซึ่งสองตัวนี้ ทำให้มีเงินเข้ามาก้อนใหญ่ ดังนั้น การขายบอนด์ของกระทรวงการคลัง ต่อไปก็จะขายให้ต่างประเทศ น้อยลง"
ทั้งนี้จากการที่เงินบาทในช่วงนี้อ่อนค่าลงแล้ว จึงหวังว่าทางการจะไม่ต้องออกมาตรการที่ผิดธรรมชาติมาดูแลเงินบาท

วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556


3หุ้นอสังหารุ่งรับดอกเบี้ยลด
งานในมือพร้อมโอนปี56สูง

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2556 เวลา 09:35:55 น. 
ผู้เข้าชม : 1715 คน 

บล.เอเซีย พลัส เลือก SIRI, RML และ AP เป็น Top Pick มองหากปรับลดอัตราดอกเบี้ยแก้เงินบาทแข็งจะหนุนให้SIRI, RML, AP โดดเด่น

การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ปัญหาบาทแข็ง เป็นบวกต่อหุ้นอสังหาฯ 
เงินบาทที่แข็งค่ามาอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2552 และมีการแข็งอย่างรวดเร็วในช่วงต้นเดือนเมษายน 2556 เป็นต้นมา ได้สร้างความกังวลให้กับหลายฝ่าย เฉพาะอย่างยิ่งภาคการส่งออกทำให้กระทรวงการคลังพยายามเข้ามาแก้ไข ขณะที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมายอมรับว่าเงินบาทในปัจจุบันแข็งค่าเกินปัจจัยพื้นฐาน และพร้อมที่จะออกมาตรการในการแก้ไข ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ 2 แนวทางคือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ย และการออกมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินเฉพาะส่วน ซึ่งจากการประเมินสถานการณ์ที่นำเสนอผ่านสื่อต่างๆ พบว่าแรงกดดันที่ต้องการจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างจะมีน้ำหนักมากกว่าการให้ออกมาตรการอื่นๆ ซึ่งหากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาจริง ก็น่าจะถือเป็นสัญญารบวกต่อหุ้นในกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย เพราะแม้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะไม่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อบ้านเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็จะส่งผลดีต่อการโอนกรรมสิทธิ์ โดยทำให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อของสถาบันการเงินในการขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยลดลง หรืออีกทางหนึ่งกล่าวได้ว่าทำให้ขีดความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อบ้านมีมากขึ้น ดังนั้นหุ้นที่น่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดก็คือหุ้นของบริษัทที่มี Backlog พร้อมโอนฯ ในงวดปี 2556 อยู่ที่ระดับสูง นอกจากนี้โดยภาพรวมของกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยก็เป็นไปได้ที่อาจจะเห็นแรงเก็งกำไรเข้ามา
Backlog  สิ้นปี 2555 ของผู้ประกอบการ 15 รายอยู่ที่ 2.21 แสนล้านบาท
สถานะเมื่อสิ้นปี 2555 ผู้ประกอบการ 15 รายใน Coverage ของฝ่ายวิจัย มีระดับ Backlog รวมอยู่ที่ 2.21 แสนล้าบาท แยกเป็นส่วนของโครงการคอนโดฯ 1.89 แสนล้านบาท และโครงการแนวราบ 3.2 หมื่นล้านบาท หากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะทำให้กระบวนการโอนฯทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับบริษัทที่มี Backlog สูง 5 อันดับแรก ประกอบด้วย SIRI, PS, SPALI, AP และ LPN ส่วน RML อยู่ลำดับที่ 6 มี Backlog 1.63 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตามการที่จะเลือกหุ้นเพื่อการลงทุน อาจต้องพิจารณาองค์ประกอบด้านอื่น ๆ ประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเสียงในการก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด ตลอดจน Upside ของราคาหุ้นเมื่อเทียบกับFair Value ประกอบด้วย ซึ่งจากการพิจารณาดังกล่าวฝ่ายวิจัยเห็นว่ามี 3 ตัวเลือกการลงทุนที่มีความน่าสนใจ ได้แก่ SIRI, RML และ AP
ลงทุนน้ำหนักเท่าตลาด เลือก SIRI, RML และ AP เป็น Top Pick
SIRI (FV@B 5.30) นอกจาก Backlog ปลายปี 2555 จะสูงถึง 3.97 หมื่นล้านบาทแล้ว 1Q56 ยังสามารถสร้าง Presale ได้สูงถึง 2.1 หมื่นล้านบาท ทำให้ Backlog ก่อนโอนฯ งวด 1Q56 เข้าใกล้ 6 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 2556 คาดว่าจะโอนฯ 3.4 หมืนล้านบาท หนุนกำไรโตกว่า 30%
RML (FV@ 3) สิ้นปี 2555 มี Backlog 1.63 หมื่นล้านบาท โดยเป็นส่วนของ The River ที่สร้างเสร็จแล้วกว่า 6.6 พันล้านบาท ทำให้ความเสี่ยงในการโอนฯอยู่ที่ระดับต่ำ อีกทั้งราคาปัจจุบันมีค่า PER ต่ำเพียง 5.6 เท่า กำหนด Fair Value ที่ PER 8 เท่า หรือ 3 บาท
AP (FV@B 10.81) Backlog สิ้นปี 2556 อยู่ที่ 2.72 หมื่นล้านบาท ขณะที่งวด 1Q56 มียอดจองใหม่ 3.8 พันล้านบาท ในส่วนของกำไรคาดว่า AP จะโดดเด่นอย่างมากในช่วง 2H56 เนื่องจากมีการโอนฯ คอนโดมิเนียมใหม่ ส่วน 1Q56 ยังไม่โดดเด่น กำหนด Fair Value ที่ PER 11 เท่า
ข่าวล่าสุด

HMPROเด่นสุดกลุ่มค้าปลีก CPALLโดนภาระดอกเบี้ยฉุด


HMPROเด่นสุดกลุ่มค้าปลีก
CPALLโดนภาระดอกเบี้ยฉุด

วันพุธที่ 24 เมษายน 2556 เวลา 09:56:44 น. 
ผู้เข้าชม : 1462 คน 

บล.ฟินันเซีย ไซรัสระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ (24 เม.ย.) ว่า CPALL เรามีมุมองเป็นกลางค่อนไปทางลบต่อการซื้อ MAKRO ด้วยราคาที่แพง 787 บาท/หุ้น ( PE 41 เท่า) และยังไม่เห็นผลบวกต่อกำไรภายใน 1 – 3 ปีนี้ ขณะที่อัตรากำไร ROA และ ROE ของ CPALL จะถูกฉุดลงเพราะ MAKRO มีอัตรากำไรต่ำกว่า แม้ว่าประมาณการกำไรในปีนี้ไม่กระทบเพราะดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นจะถูกกลบด้วยกำไรของ MAKRO ทำให้ระดับ PE ของ CPALL ยังคงเดิม แต่กระแสเงินสดของ CPALL จะลดลงด้วยภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มอีก 5 พันล้านบาท/ปี การประเมินมูลค่าของเราอิงกระแสเงินสดของบริษัทจึงลดลงเหลือ 52 บาท จาก 58 บาท แนะนำซื้อถือยาวเท่านั้น แต่ระยะสั้น-กลางเราเชื่อว่าราคามีโอกาสอ่อนตัว เราคิดว่า HMPRO เป็นหุ้นที่น่าสนใจที่สุดในกลุ่ม
ข่าวล่าสุด

หุ้น DELTA , ข่าว 26 April 2013


 หุ้น DELTA , ข่าว



DELTA ฟื้นตัว 5.7% ราคาเกินพื้นฐาน ฉวยจังหวะบาทแข็งซื้อเครื่องจักรใหม่
วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556 เวลา 15:15:11 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาหุ้นบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ล่าสุด ณ เวลา 14.54 น. อยู่ที่ 37.00 บาท บวก 2 บาท หรือ 5.71% มูลค่าการซื้อขาย 80.40 ล้านบาท ทั้งนี้ ราคาหุ้น DELTA อ่อนตัวลงต่อเนื่องจากระดับราคา 40.25 บาท มาแตะที่ระดับ 34 บาท และเริ่มดีดตัวขึ้นเป็นวันที่ 2 โดยล่าสุด DELTA ซื้อขายที่ระดับ P/E ที่ 10.04 เท่าและ P/BV ที่ 1.94 เท่า ขณะที่ข้อมูลจาก www.settrade.com ระบุว่า บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) จำนวน 1 แห่ง แนะนำ “ขาย” DELTA อีก 1 แห่ง แนะนำ “ถือ” โดยให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยที่ 28.45 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาในกระดานในขณะนี้

นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการ บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA เปิดเผยเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ภายใต้สถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าได้ถือเป็นปัจจัยบวกต่อบริษัท เนื่องจากในปีนี้ได้กำหนดงบลงทุนไว้ที่ประมาณ 40-50 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้สั่งซื้อเครื่องจักรรองรับแผนการขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม ดังนั้น เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาจะส่งผลให้ DELTA มีต้นทุนการสั่งซื้อเครื่องจักรลดลงไปตามกลไกของค่าเงิน พร้อมกับถือเป็นโอกาสดีในการเข้าสั่งซื้อเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น และยังสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานหรือลดต้นทุนจากการจ้างแรงงานที่มีค่าแรงขั้นต่ำต่อวันสูงกว่าในอดีต

บริษัทตั้งเป้าหมายอัตรากำไรจากการดำเนินงานปี 56 มีแนวโน้มเติบโตสองหลัก โดยมีปัจจัยผลักดันมาจากจำนวนออเดอร์งานของลูกค้าที่ได้รับคำสั่งซื้อเข้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากภาวะเศรษฐกิจในโซนยุโรปเริ่มเข้าสู่ภาวะทรงตัวและกำลังเริ่มทยอยฟื้นขึ้น ส่วนกลุ่มสินค้าของ DELTA ที่มีความต้องการสูง ได้แก่กลุ่มData center power supply ที่จะเติบโตไปตามอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และกลุ่มพลังงานทดแทนที่บริษัทขายสินค้าอย่าง Solar inverter

บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์เมื่อวันที่ 12 เม.ย. ว่า ในกรณีทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่ามีผลต่อกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ 1) บริษัทที่คาดว่าจะมีผลกำไรปรับลดลงมากที่สุด คือ HANA เพราะรายได้อยู่ในรูปสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้ง 100% แต่ต้นทุนเป็นสกุลต่างประเทศราว 80% โดยไม่มีภาระหนี้สิน (ทั้งบาทและดอลลาร์สหรัฐฯ) จึงทำให้ผลกระทบต่อกำไรสุทธิจะลดลงราว 3.4% จากเดิม 2) บริษัทที่ได้รับผลกระทบรองลงมา เรียงจากมากไปหาน้อย คือ DELTA, CCET, KCE และ SMT โดยฐานรายได้อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศทั้งหมด (ส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ) ยกเว้น CCET ที่มีรายได้จากสกุลเงินบาท 35% ของรายได้รวม ขณะที่ต้นทุนเป็นสกุลต่างประเทศราว 80%-90% และยังมีภาระหนี้สินต่างประเทศบางส่วน เมื่อเทียบกับหนี้สินรวม จึงช่วยหักล้างผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าได้บ้าง โดยผลกระทบต่อกำไรสุทธิจะลดลงเท่ากับ 3.3%, 3%, 2.9%, 2.8% จากเดิม ตามลำดับ และ 3) บริษัทที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดในกลุ่มฯ คือ SVI แม้ว่าฐานรายได้อยู่ในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศทั้งหมด (90% เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนที่เหลือเป็นสกุลเงินยูโร) แต่ต้นทุนเป็นสกุลต่างประเทศในสัดส่วนใกล้เคียง 90% และยังมีหนี้สินต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงถึง 100% ของหนี้สินรวม จึงช่วยลดผลกระทบจากเงินบาทไปได้ค่อนข้างมาก โดยผลกระทบต่อกำไรสุทธิจะลดลงเพียง 2.6% ซึ่งน้อยที่สุดในกลุ่มฯ (ดังแสดงในตารางหน้าถัดไป)

ฝ่ายวิจัยยังคงน้ำหนักการลงทุน เท่ากับตลาดในกลุ่มชิ้นส่วนฯ ด้วยปัจจัยบวกของการฟื้นตัวของธุรกิจชิ้นส่วนฯ ในประเทศไทย โดยเลือก SVI เป็น Top pick ของกลุ่มฯ เนื่องจากบริษัทฯ ได้ฟื้นฟูกำลังการผลิตทั้งหมดจนใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติน้ำท่วมแล้ว บวกกับการขยายตลาดใหม่ๆ โดยเน้นต่อยอดฐานรายได้เฉพาะกลุ่มสินค้า Margin สูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำกำไรขั้นต้นสูงขึ้น และหนุนให้การเติบโตเฉลี่ยของผลการดำเนินงานในปี 2556-57 เป็นไปในเชิงรุก 37% p.a. ซึ่งหักล้างจากผลกระทบเชิงลบจากเงินแข็งค่าไปได้ทั้งหมด

ที่มา ข่าวหุ้น

จับเข่าคุยนักธุรกิจหนุ่มพันล้าน แม่สาย ประภาสะวัต


จับเข่าคุยนักธุรกิจหนุ่มพันล้าน แม่สาย ประภาสะวัต

ชื่อ:  joe_0.jpg
ครั้ง: 2820
ขนาด:  36.9 กิโลไบต์


หลายคนอาจจะไม่เชื่อ หากเราจะบอกว่า โจ แม่สาย ประภาสะวัต นักธุรกิจหนุ่มสุดฮอตที่มีทรัพย์ สมบัติราวพันล้านภายใน 5 ปีคนนี้ มีอายุเพียงแค่ 26 ปีเท่านั้น!!! สงสัยกันไหมว่า ทำไมชายหนุ่มวัย 26 ปี จึงมีความสามารถในการบริหารธุรกิจจนประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็วขนาดนี้ ทั้งที่เขาเริ่มก่อร่างสร้างตัวเองด้วยเงินเพียงแค่ 70,000 บาท ว่าแล้ว...รายการวีไอพี ก็ขอไปจับเข่าคุยกับหนุ่มสุดฮอตคนนี้ให้หายข้องใจกันเสียหน่อย

คุณโจ แม่สาย ประภาสะวัต ปัจจุบันเป็นเจ้าของธุรกิจติดตั้งแก๊สรถยนต์รายใหญ่ และมีอีกบทบาทหนึ่งคือการเป็นนายกสมาคมผู้ติดตั้งอุปกรณ์ใช้แก๊สสำหรับยานยนต์ นอกจากนี้ คุณโจ แม่สาย ยังทำธุรกิจเกี่ยวกับจอแอลอีดีขนาดใหญ่ตามอาคารต่าง ๆ ซึ่งกิจการเหล่านี้ทำให้ปีหนึ่ง ๆ มีเงินที่ผ่านมือนักธุรกิจหนุ่มคนนี้นับพันล้านบาท

แต่ก่อนที่จะไปดูกันว่า เหตุไฉนหนุ่มคนนี้จึงประสบความสำเร็จได้มาก มายขนาดนี้ ก็ขอย้อนไปถามถึงชื่อจริงว่า "แม่สาย" ที่ใครได้ยินเป็นต้องแปลกใจ ซึ่งคุณโจ ก็เล่าให้ฟังว่า ชื่อของเขามาจากการที่คุณพ่อไปเที่ยวที่อำเภอแม่สาย และเกิดชอบป้ายที่เขียนว่า "อำเภอแม่สาย เหนือสุดแดนสยาม" จึงนำมาตั้งชื่อให้ตัวเขา ด้วยเจตนาที่อยากให้เขาเป็น "สุดยอด" เหมือนในป้ายที่พบนั่นเอง

เมื่อถามถึงฐานะทางบ้านสมัยก่อน คุณโจ บอกว่า ฐานะที่บ้านธรรมดา ค่อนข้างจะจนด้วยซ้ำ โดยคุณพ่อรับราชการเป็นทหารที่ลพบุรี และก็ได้แยกทางกับคุณแม่ตั้งแต่ที่เขายังจำความไม่ได้ ตัวเขาเองอยู่กับคุณพ่อก่อนจะย้ายเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ และเริ่มทำงานควบคู่กับการเล่าเรียนไปด้วย สมัยที่ยังเรียนอยู่นั้น คุณโจได้ไปช่วยหาลูกค้าให้เพื่อนที่เปิดโรงงานรับพิมพ์อิงค์เจท ทำให้เขาพอมีรายได้เดือนละ 7-8 พันบาท ซึ่งก็ทำให้เขามีเงินเก็บอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นคนมีหลักการ และวินัยการใช้เงินเป็นอย่างดี

"ผมมีหลักการการใช้เงินของผม สมมติว่า ทำงานได้เงินมา 100 บาท ผมจะใช้ 30 เอาไปลงทุนอีก 30 และเก็บไว้อีก 40 ถ้าเราอยากจะใช้มาก ก็ต้องหาให้ได้มากขึ้น ยิ่งหาได้มากขึ้น ใช้มากขึ้น เราก็จะมีเหลือเก็บมากขึ้นเหมือนกัน เพราะต้องเก็บส่วนหนึ่งไว้ตลอด หากหาได้น้อยก็ต้องยอมรับว่าเราต้องใช้ให้น้อย" คุณโจ บอก

ชื่อ:  joe_vip_01.jpg
ครั้ง: 2845
ขนาด:  22.6 กิโลไบต์


หลังจากเรียนจบปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์ คุณโจ แม่สาย ประภาสะวัต ก็มีเงินเก็บส่วนตัวประมาณ 7-8 หมื่นบาท ในช่วงนั้น คุณโจตั้งใจจะนำเงินมาลงทุนทำธุรกิจอะไรสักอย่าง ซึ่งนั่นเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่ต้องมานั่งคิดว่า "การทำธุรกิจต้องทำอย่างไร" และ "อะไรคือความแตกต่างระหว่างที่คน รวยกับคนจนอย่างเขา" ซึ่งในที่สุด คุณโจก็ได้คำตอบว่า สิ่งที่ต่างกันไม่ใช่มือ ไม่ใช่แขน ไม่ใช่ขา แต่คือ "สมอง" ที่ทำให้เกิดความแตกต่าง ดังนั้น หากเขาจะมีอย่างเขาได้ เขาต้องเพิ่มพูนความรู้ให้กับตัวเอง

"ผมเริ่มอ่านหนังสือทุกวันตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 5 ทุ่ม โดยเริ่มอ่านหนังสือเกี่ยวกับการ วางแผนธุรกิจ การบัญชี การตลาด ภาษีเป็นอย่างไร จัดตั้งบริษัทอย่างไร ขายอย่างไร อ่านทุกอย่าง ทำแบบนี้ประมาณ 6 เดือน จนได้มาเจอคุณลุงคนหนึ่งที่ทำธุรกิจติดตั้งแก๊สรถยนต์ ซึ่งกำลังรุ่ง เพราะช่วงนั้นคนเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันมาเป็นแก๊สมากขึ้น ผมก็เลยขอไปดูที่อู่ และก็ดูว่าไม่น่าจะทำยาก กำไรค่อนข้างดีคันละ 5,000 บาท คู่แข่งก็น้อย ผมก็ว่าธุรกิจนี้มันน่าสนใจนะ"

ด้วยความที่คุณโจ แม่สาย สนใจเรื่องเครื่องยนต์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เขาจึงได้เริ่มหาลู่ทางทำธุรกิจติดแก๊สรถยนต์ โดยทำฟอร์มเป็นเจ้าของรถ เดินเข้าไปแกล้งถามช่างในร้านติดแก๊สรายใหญ่ ๆ บางครั้งก็ถ่ายรูปกลับมา จนร้านติดแก๊สแห่งหนึ่งถึงกับติดป้าย "คำถามละห้าสิบบาท" คุณโจเห็นดังนั้นจึงตัดสินใจเปิดเผยตัว โทรศัพท์ไปคุยกับเจ้าของร้านติดแก๊สรายอื่นตรง ๆ เลยว่า อยากจะทำธุรกิจนี้จะขอเข้ามาดูได้หรือไม่ ซึ่งก็โชคดีที่คุณโจเจอร้านใจดียินยอมให้เขาเข้าไปสอบถาม และดูงาน

หลังจากได้ความรู้เรื่องการทำธุรกิจติดแก๊สรถยนต์แล้ว คุณโจก็เริ่มหาทำเล แต่เห็นว่าค่าเช่าที่ในกรุงเทพฯ แพงเกินไป ประกอบกับมีคู่แข่งรายใหญ่อยู่แล้ว คุณโจจึงหันไปเลือกเปิดร้านที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีรถยนต์ที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้ามาก แต่มีร้านติดแก๊สเพียงร้านเดียว เขาทุ่มเงินเก็บทั้งหมด 70,000 บาท เปิดร้านติดแก๊สรถยนต์ที่อยุธยา สุดท้ายร้านติดแก๊สรถยนต์ของคุณโจก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าดีทีเดียว โดยเพียงแค่เดือนแรก เขามีลูกค้าถึง 17 คัน และทำกำไรได้ถึง 40,000 บาท จากนั้นอีก 3 เดือน เขาต้องขยับขยายร้านเพิ่ม เพื่อให้เพียงพอต่อการบริการลูกค้าที่มีเข้ามาเป็นจำนวนมาก

ชื่อ:  joe_vip_02.jpg
ครั้ง: 2822
ขนาด:  23.2 กิโลไบต์

เมื่อเห็นว่าคนต้องการติดแก๊สรถยนต์มากขึ้น ผู้ประกอบการรายอื่นจึงเริ่มเปิดร้านติดแก๊สรถยนต์ตามมา พร้อมกับการตัดราคา คุณโจเห็นดังนั้นจึงหาช่องทางทำเงินเพิ่มขึ้น โดยตัดสินใจนำเข้าอุปกรณ์ติดตั้งแก๊สรถยนต์มาขายให้ร้านรับติดแก๊สทั่วประเทศ เพราะเห็นว่าตลาดกำลังเจริญเติบโตเป็นอย่างดี แต่ด้วยอุปกรณ์นำเข้าของคุณโจเป็นอุปกรณ์รุ่นใหม่ เขาจึงจำเป็นต้องจัดสัมมนาอยู่บ่อยครั้ง เพื่อให้ช่างทั่วประเทศที่จะมาซื้อสินค้าของเขาใช้งานเป็น นอกจากนี้ คุณโจยังต้องบินไปดูถึงโรงงานในหลาย ๆ ประเทศ เพื่อตรวจสอบคุณภาพสินค้า

หลังจากเปิดเป็นธุรกิจนำเข้าอุปกรณ์ติดตั้งแก๊สรถยนต์แล้ว คุณโจก็ยังเดินหน้าหาช่องทางธุรกิจต่อ ด้วยการทำโรงงานผลิตถังติดตั้งแก๊ส แต่กลับเจออุปสรรคเรื่องลูกค้าไม่แฮปปี้กับราคาที่เขาเสนอ และลูกค้าบางรายก็คิดจะหันไปทำธุรกิจแบบเดียวกับเขาบ้าง คุณโจจึงตัดสินใจทำเป็นธุรกิจค้าปลีกแทนจากเดิมที่ขายส่ง โดยจ้างพนักงาน และเซลล์ไปเสนอขายลูกค้า ซึ่งช่วงนั้นเอง ทำให้โรงงานของเขากำลังประสบปัญหาขาดทุนเดือนละล้าน คุณโจจึงเดินหน้าหาธุรกิจเสริมอีกต่อ
และธุรกิจที่คุณโจเลือกก็คือ ธุรกิจนำเข้าจอแอลอีดี ซึ่งเขาต้องเริ่มศึกษาใหม่จากศูนย์ จนเมื่อศึกษาข้อมูลก็ทราบว่า ในประเทศไทยมีผู้ขายจอแอลอีดีอยู่ แค่ 5 ราย แต่ราคาที่บริษัทต่าง ๆ จำหน่ายนั้นทำกำไรได้สูงมาก ส่วนตัวคุณโจเองบอกว่า เขาไม่คิดจะเอากำไรมาก แค่ต้องการให้อยู่ได้ มีเงินเดือนจ่ายพนักงาน เขาจึงตัดสินใจนำเอาจอแอลอีดีมาขายในประเทศไทย และกำหนดราคาขายที่ไม่สูงมากนัก

ชื่อ:  joe_vip_03.jpg
ครั้ง: 2815
ขนาด:  21.3 กิโลไบต์

เมื่อธุรกิจจอแอลอีดีเฟื่องฟูไปอย่างดี คุณโจ ยังเกิดไอเดียสร้างโรงงานผลิตจอแอลอีดีเองอีกต่อ และในตอนนั้น โรงงานแก๊สรถยนต์ของคุณโจก็กระเตื้องกลับขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นอีก ทำให้คนหันกลับมาใช้แก๊สมากขึ้น เรียกได้ว่า ทั้งสองธุรกิจประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

"การจะขายสินค้าให้ได้ดีต้องรู้จักสินค้าของตัวเอง ต้องเชี่ยวชาญกับสินค้าของตัวเอง ไม่ต้องพูดถึงกลยุทธ์การขาย เทคนิคการขาย เพราะหากรู้จักสินค้าตัวเองดี ก็สามารถตอบข้อสงสัยทุกอย่างของลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้าเชื่อใจเรา มั่นใจเรา" นักธุรกิจหนุ่มเผยเทคนิค

หลายคนอาจจะสงสัยว่า คุณโจถือเป็นผู้บริหารที่มีอายุน้อยมาก ๆ แล้วเขามีวิธีการจัดการบริหารลูกน้องอย่างไร เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณโจบอกว่า ในสายตาของเขาไม่มีลูกน้อง แต่ทุกคนคือผู้ร่วมทีมที่จะนำพาทีมไปสู่จุดหมายที่วางไว้ร่วมกัน ส่วนเขาเองมีหน้าที่บอกว่า ใครจะต้องทำงานส่วนไหนแค่นั้น และหากมีปัญหาก็ต้องช่วยเข้าไปแก้ไข ไม่ปล่อยให้พนักงานทำงานอย่างเดียวดาย

สำหรับเคล็ดลับความสำเร็จในการประกอบธุรกิจนั้น คุณโจ บอกว่า หากจะทำธุรกิจให้โตเร็ว ก็ต้องทำเงินให้ได้มาเร็ว ไม่จำเป็นต้องตั้งราคาต่อชิ้นให้แพง แต่ต้องมามองภาพรวมว่าเงินที่ได้ รับกลับมานั้นเร็วแค่ไหน อย่างเช่น หากซื้อปากกามาแท่งละ 20 บาท อยากได้กำไรแท่งละ 10 บาท ก็ขายไป 30 บาท แต่เดือนนั้นกลับขายได้แท่งเดียว แต่หากซื้อปากกามาแท่งละ 20 บาท ขายไปแท่งละ 23 บาท กำไรแท่งละ 3 บาท แต่ขายได้ 10 แท่ง เท่ากับว่าเดือนนั้นทำเงินได้ถึง 30 บาท

ชื่อ:  joe_vip_04.jpg
ครั้ง: 2814
ขนาด:  24.0 กิโลไบต์

"หลักการทำธุรกิจของผม ผมมองว่าธุรกิจมันเริ่มต้นจาก "สินค้า" มันต้องดี และนอกจากนั้น ผมให้ความสำคัญกับการรักษาลูกค้าเก่าให้มากที่สุด หากผมมีลูกค้าใหม่ 10 ราย แต่เสียลูกค้าเก่าไป 10 ราย ก็เท่ากับว่าลูกค้ามีจำนวนเท่าเดิม สู้ผมมีลูกค้าใหม่แค่ 5 ราย แต่ลูกค้าเก่ายังอยู่ครบ สรุปแล้วผมก็ยังมีลูกค้าเพิ่มขึ้น ทำให้ธุรกิจเราค่อย ๆ โตขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การรักษาลูกค้าเก่าไว้ นอกจากสินค้าเราดีแล้ว การบริการก็เป็นสิ่งสำคัญ"

การที่จะก้าวขึ้นมาสู่นักธุรกิจพันล้านนั้น คุณโจ แนะนำเคล็ดลับง่าย ๆ ว่า ต้องก้าวพ้นจากคำว่า "นักธุรกิจ" สู่คำว่า "ผู้บริหาร" ให้ได้ เพราะ "นักธุรกิจ" คือคนที่ทำได้ทุกอย่าง ขายเก่ง วางแผนเก่ง แก้ปัญหาได้หมด แต่สำหรับคนที่เป็น "ผู้บริหาร" จะเป็นคนที่สามารถสร้างนักขายที่เก่ง สร้างนักวางแผนที่เก่ง และสร้างคนมาแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ รวมทั้งใช้คนให้เป็น ใช้คนให้ถูกที่ ซึ่งจริง ๆ แล้วการจัดวางคนให้ถูกกับงานเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก แต่ต้องลองเปิดใจ และเชื่อว่าพนักงานสามารถทำได้นั่นเอง


"ถ้าคนธรรมดาอย่างผมทำได้ ใครก็ทำได้..." หนุ่มนักธุรกิจพันล้านกล่าวทิ้งท้าย เพื่อให้กำลังใจผู้ที่มีความฝันจะประกอบธุรกิจทุกคน


ขอบคุณข้อมมูลจาก : Kapook.co